สืบค้นงานวิจัย
ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง
สุชาติ ผึ่งฉิมพลี - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่อง (EN): Abundance and Diversity of Benthic Fauna in the Prasae Reservoir, Rayong Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุชาติ ผึ่งฉิมพลี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): suchat pungchimplee
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง ได้ทำการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2553 ถึงสิงหาคม 2554 โดยใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินชนิด Ekman dredge ขนาด 15x15 เซนติเมตร ทำการเก็บตัวอย่าง 11 จุดสำรวจ ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์โครงสร้างประชาคมสัตว์หน้าดิน ค่าดัชนีทางนิเวศน์วิทยา และการวิเคราะห์ทางสถิติแบบหลายตัวแปร ผลการศึกษาพบสัตว์หน้าดิน 3 ไฟลั่ม ได้แก่ Annelida, Mollusca และ Arthropoda จำแนกได้ 20 สกุล จุดสำรวจที่ 1 มีความหลากหลายของสกุลสัตว์หน้าดินมากที่สุด เท่ากับ 14 สกุล และมีความหลากหลายของสกุลสัตว์หน้าดินมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2554 เท่ากับ 16 สกุล ปริมาณสัตว์หน้าดินเฉลี่ย เท่ากับ 1,428±730.4 ตัวต่อตารางเมตร โครงสร้างโดยชนิดและปริมาณพบสัตว์หน้าดินกลุ่ม Mollusca,Arthropoda และ Annelida จำนวน 11, 5 และ 4 สกุล มีปริมาณเฉลี่ย 80±103.3, 1,086±606.9 และ263±190.9 ตัวต่อตารางเมตร สกุลสัตว์หน้าดินที่มีความถี่ในการพบและปริมาณสูงสุดคือ Chironomus sp.รองลงมาคือ Chaoborus sp. ค่าดัชนีบ่งชี สภาพนิเวศน์พบค่าดัชนีความมากชนิด ดัชนีความหลากหลาย และดัชนีความเท่าเทียมมีค่าเฉลี่ย 0.84±0.42, 1.18±0.52 และ 0.60±0.19 ตามลำดับ ระดับการกระจายของประชาคมสัตว์หน้าดินตามความหลากหลายและความชุกชุมจากมากไปน้อยตามลำดับดังนี จุดสำรวจที่ 1, 5, 3, 11, 9, 10, 7, 8, 2, 6 และ 4 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 8.15±2.67 บริเวณที่มีลักษณะดินร่วนปนทรายแป้งพบจำนวนสกุลมากที่สุด 16 สกุล บริเวณที่มีลักษณะดินร่วนเหนียวพบปริมาณสัตว์หน้าดิน มากที่สุด 3,931 ตัวต่อตารางเมตร ค่าเฉลี่ยของออกซิเจนละลายน้ำเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ส่วนค่าเฉลี่ยของบีโอดีอยู่ในเกณฑ์น้ำที่มีคุณภาพดี ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Canonical Correspondence Analysis พบว่าค่าอินทรียวัตถุในดิน ความลึก ออกซิเจนละลายน้ำและบีโอดี มีความสัมพันธ์ต่อปริมาณของสัตว์หน้าดิน
บทคัดย่อ (EN): Study on abundance and diversity of benthic fauna in Prasae Reservoir, Rayong Province were conducted during November 2010 to August 2011. Samples were collected by 15x15 cm Ekman dredge in 11 stations. All data were analyzed to determine benthic community structure, ecological indices, and multivariate method. There were 3 phyla including Annelida, Mollusca and Arthropoda with 20 genera. There was the most diverse genus at the station 1 with 14 genera. Most diverse genus found in March 2011 comprised of 16 genera. The average population number of benthic fauna was 1,428±730.4 ind/m2. Species composition and abundance of Mollusca, Arthropoda and Annelida were 11, 5 and 4 genera, average amount were 80±103.3, 1,086±606.9 and 263±190.9 ind/m2. Chironomus sp. was the most frequency of occurrence and dominant followed by Chaoborus sp. The average ecological indices of richness index, diversity index and evenness index were 0.84±0.42, 1.18±0.52 and 0.60±0.19, respectively. Distribution level of benthic cummunity from high to low were the station 1, 5, 3, 11, 9, 10, 7, 8, 2, 6 and 4,respectively. The average of soil organic matter was 8.15±2.67. The most diverse genus found in silt loam soil with 16 genera while the most population number found in clay loam soil was 3,931 ind/m2 . Average value of dissolved oxygen was suitable for aquatic lives. Average value of BOD on good quality water. The Canonical Correspondence Analysis, the composition of benthic fauna were correlated with soil organic matter, depth, dissolved oxygen and BOD
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง
กรมประมง
30 กันยายน 2555
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดิน ในคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำจันทบุรี ความชุกชุม ความหลากหลาย และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักจังหวัดสระบุรี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา ความหลากหลาย ความชุกชุม การแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก