สืบค้นงานวิจัย
การเปรียบเทียบระบบซื้อขายไม้ยางพาราระหว่างตลาดกลางไม้ยางพาราสุราษฎร์ธานีกับตลาดไม้ยางพาราแบบดั้งเดิม
มาตุวรรณ บุณยัษเฐียร - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบระบบซื้อขายไม้ยางพาราระหว่างตลาดกลางไม้ยางพาราสุราษฎร์ธานีกับตลาดไม้ยางพาราแบบดั้งเดิม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มาตุวรรณ บุณยัษเฐียร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ตลาดกลางไม้ยางพาราที่สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรได้จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างทางเลือกให้กับเกษตรกรผู้ขายไม้ยาง แตกต่างจากการซื้อขายโดยทั่วไปของตลาดท้องถิ่น การซื้อขายของตลาดกลางไม้ยางพาราเป็นซื้อขายแบบเหมาสวน โดยมีการจัดทำมาตรฐานการประเมินไม้ยางระดับแปลงเกษตรกร การซื้อขายเสนอหรือตกลงราคาผ่านเว็บไซด์ไม่มีการซื้อขายผ่านนายหน้า ทำให้เกษตรกรได้ราคาที่พอใจและยุติธรรมทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ในส่วนของการซื้อขายของตลาดท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายผ่านนายหน้า การกำหนดหรือประเมินราคาไม้ยางอยู่ที่ผู้ประกอบการหรือนายหน้า ทำให้เกษตรกรต้องยอมรับราคาที่ประเมินได้ซึ่งอาจจะเป็นราคาที่เกษตรไม่พอใจ ผลการศึกษาการซื้อขายไม้ยางพาราในท้องถิ่น พบว่าอาชีพส่วนใหญ่ของผู้ขายไม้ยางคือเกษตรกรและการขายไม้ยางพาราของเกษตรกรเป็นเพราะว่าต้นยางหมดหน้ากรีดซึ่งมีอายุอยู่ระหว่าง 20 - 29 ปี โดยส่วนใหญ่เกษตรกรแจ้งความจำนงขายไปยังผู้ซื้อเอง สำหรับช่องทางการขายไม้ยางจะขายให้ลานไม้ยางพาราเป็นส่วนมากและมักจะกำหนดราคาเองโดยดูจากคุณภาพไม้ ส่วนของลานรับซื้อไม้ยางพารามีการเปิดรับซื้อเป็นลานไม้ยางพาราอย่างเดียว ลานไม้ยางพาราและปาล์มน้ำมัน และลานไม้ยางพาราและไม้เบญจพรรณ มีกำลังการรับซื้อไม้ยางพาราใน 2555 ตั้งแต่ 96,415 - 105,200 ตัน/ปี โดยรับซื้อจากเกษตรกรในอำเภอที่ลานไม้นั้นๆตั้งอยู่ ซึ่งมีนายหน้าเป็นคนติดต่อเช่าซื้อเป็นส่วนใหญ่มีการกำหนดราคาโดยดูจากลานไม้ยางพาราอื่นๆและมีการต่อรองราคากัน ราคาที่รับซื้อในปี 2555 ในช่วงที่มีไม้ยางปริมาณมากอยู่ระหว่าง 2.16 - 2.32 บาท/กิโลกรัม ในช่วงปริมาณไม้ยางน้อยอยู่ระหว่าง 1.93 - 2.65 บาท/กิโลกรัม ใช้เวลาในการรวมไม้ยางพาราอยู่ระหว่าง 1 - 3 วัน และส่งไปยังปลายทางในจังหวัดต่างๆซึ่งค่าขนส่งก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัดปลายทาง ผลการศึกษาประเภทของโรงงานไม้ยางโดยส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานแปรรูปและอบแห้งโดยมีปริมาณการรับซื้อในปี 2555 อยู่ระหว่าง 822,192 - 4,844,033 ตัน/ปี โดยรับซื้อไม้ยางพารามาจากเกษตรกรในอำเภอที่โรงงานตั้งอยู่ มีการกำหนดราคาโดยการต่อรองราคากันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และกำหนดราคาจากลานรับซื้อไม้ยางพารา ราคาที่รับซื้อไม้ยางพาราในปี 2555 ช่วงที่มีปริมาณไม้มากอยู่ระหว่าง 2.30 -2.62 บาท/กิโลกรัม ในช่วงปริมาณไม้น้อยอยู่ระหว่าง 2.30 - 2.41 บาท/กิโลกรัม ผู้ซื้อรายหลักเป็นโรงงานในต่างประเทศและโรงงานในประเทศ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปรียบเทียบระบบซื้อขายไม้ยางพาราระหว่างตลาดกลางไม้ยางพาราสุราษฎร์ธานีกับตลาดไม้ยางพาราแบบดั้งเดิม
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การวิจัยและพัฒนาระบบตลาดกลางไม้ยางพาราอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การศึกษาการสัมผัสฝุ่นไม้ยางพาราที่เกิดจากการทำงานในโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราและอาการระบบทางเดินหายใจของผู้สัมผัสฝุ่นไม้ยางพารา ระยะที่ 2 การวิจัยและพัฒนาไม้ยางพารา ศึกษาปริมาณการผลิตไม้ยางพารา ไม้ฝาจากกะลาปาล์มและขี้เลื่อยไม้ยางพารา องค์ประกอบหลักทางเคมีของน้ำส้มควันไม้จากไม้ยางพารา การศึกษาลักษณะทางกายภาพของสมบัติไม้ยางพารา การกำจัดสีย้อมในน้ำเสียจากโรงงานย้อมผ้า โครงการพัฒนาดอยตุงด้วยไม้ยางพาราและถ่านไม้ยางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก