สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายและชีววิทยาบางประการของกุ้งตะกาด Metapenaeus spp. ในฝั่งอันดามัน จังหวัดตรัง
โกสินทร์ พัฒนมณี - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายและชีววิทยาบางประการของกุ้งตะกาด Metapenaeus spp. ในฝั่งอันดามัน จังหวัดตรัง
ชื่อเรื่อง (EN): Diversity and biology of Metapenaeus spp. in Andaman bay, Trang Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: โกสินทร์ พัฒนมณี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความหลากหลายและชีววิทยาบางประการของกุ้งตะกาดสกุล Metapenaues ริมฝั่งอันดามัน จังหวัดตรัง เก็บข้อมูลจากพื้นที่เก็บตัวอย่าง 6 พื้นที่ ดังนี้ บ้านแหลมไทร หาดปากเมง หาดฉางหลาง หาดยาว หาดสำราญ และแหลมหยงสตาร์ เก็บตัวอย่างทุกเดือนเป็นเวลา 24 เดือน พบว่า พบกุ้งในสกุลนี้จำนวนทั้งสิ้น 7 ชนิด คือ Metapenaeus moyebi Kishinouye, 1896, M. tenuipes Kubo, 1949 M. brevicornis H. Milne Edwards, 1837 M. affinis (H. M. Edwards, 1837) M. lysianassa (De Man, 1888) M. intermedius (Kishinouye, 1900) และ M. ensis (De Haan, 1844) ปริมาณของกุ้งในกลุ่มนี้ที่พบในแหล่งเก็บตัวอย่างทั้ง 6 แหล่งและในช่วงเวลาการเก็บตัวอย่าง 24 เดือน ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่แนวโน้มปริมาณของกุ้งพบมากที่สุดในเดือนกันยายน ตุลาคม และ พฤศจิกายน จากการศึกษาชีววิทยาของกุ้ง M. affinis ซึ่งเป็นกุ้งชนิดที่พบมากที่สุด และมีขนาดโตที่สุด พบว่า การแพร่กระจายของกุ้ง M. affinis ที่พบในแหล่งเก็บตัวอย่างทั้ง 6 แหล่งและในช่วงเวลาการ เก็บตัวอย่าง 24 เดือนไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่แนวโน้มปริมาณของกุ้งพบมากที่สุดในเดือนกันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน เหมือนกับกุ้งสกุล Metapenaeus สัดส่วนเพศของกุ้ง M. affinis เป็น 1:1 และ แนวโน้มของเพศเมียจะมากกว่าเพศผู้เมื่อมีขนาดความยาวมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างความยาว ทั้งหมด (total length) กับน้ำหนักของกุ้ง M. affinis ในเพศผู้มีค่า W = 0.007L3.014 และเพศเมีย มีค่า W = 0.007L3.015 และ เป็นการเติบโตเป็นแบบไอโซเมตริก ค่าพารามิเตอร์ของการเติบโต ได้ค่าความยาว สูงสุด (L∞) เท่ากับ 17.64 เซนติเมตร ค่าสัมประสิทธิ์การเติบโต (K) เท่ากับ 0.140 ต่อป
บทคัดย่อ (EN): This research is to study some diversity and biological aspects of shrimp genus Metapenaeus along the Andaman coast, Trang province. Thailand. Samples were collected from the 6 area were as follows: Laem Sai Pak Meng Beach, Chang Lang Beach, Yao Beach Samran and Lam Yong star. Samples were collected every month for 24 months showed that the shrimp in this genus were found seven species i.e. Metapenaeus moyebi Kishinouye, 1896, M. tenuipes Kubo, 1949 M. brevicornis H. Milne Edwards, 1837 M. affinis (HM Edwards, 1837). M. lysianassa (De Man, 1888) M. intermedius (Kishinouye, 1900) and M. ensis (De Haan, 1844). The diversity of shrimp in the area and among the month did not differ statistically. But the most likely found in September, October and November. The biology of the shrimp M. affinis, which was the most common species of shrimp. Its size distribution did not differ statistically among the sample areas and sampling times of 12 months. But the most likely found in September, October and November similar to the shrimp in genus Metapenaeus. The sex ratio of M. affinis was 1: 1 and the tendency of females was longer than male. Length – weight relationship of the shrimp M. affinis of the male and female was W = 0.007L3.014 W = 0.007L3.015 and the growth was isometric. Parameters of growth, maximum length (L∞) was 17.64 cm, the growth coefficient (K) was equal to 0.140 per year.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
เอกสารแนบ: https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/1250?show=full
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายและชีววิทยาบางประการของกุ้งตะกาด Metapenaeus spp. ในฝั่งอันดามัน จังหวัดตรัง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ชีววิทยาบางประการของปลาชะโด ชีววิทยาบางประการของปลาดุกด้านในจังหวัดพิจิตร ชีววิทยาบางประการของปลาค้อลายถี่ ชีววิทยาบางประการของกบอ๋องข้างลายในจังหวัดเชียงใหม่ ชีววิทยาบางประการของหมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana Lesson) ทางฝั่งทะเลอันดามัน ชีววิทยากุ้งกุลาลาย (Penaeus semisulcatus De Haan, 1844) ทางฝั่งทะเลอันดามัน ชีววิทยาเพื่อการเพาะพันธุ์ของปลารากกล้วยในแม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง(ชีววิทยาบางประการของปลารากกล้วยในแม่น้ำวังจังหวัดลำปาง) ชีววิทยาบางประการของเต่ากระอาน ชีววิทยาบางประการและการเพาะพันธุ์เต่าหับ ชีววิทยาบางประการและการเพาะพันธุ์เต่าเหลือง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก