สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของระยะปลูกพืชอาหารสัตว์บางชนิดต่อการเจริญเติบโตของยางพารา
สมยศ ชูกำเนิด - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของระยะปลูกพืชอาหารสัตว์บางชนิดต่อการเจริญเติบโตของยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Planting Distance of some Forage Crops on Growth of Rubber
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมยศ ชูกำเนิด
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาอิทธิพลของระยะปลูกพืชอาหารสัตว์บางชนิดต่อการเจริญเติบโตของยางพารา ดำเนินการที่สถานีทดลองยางปัตตานี อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2535 ถึงเดือนกันยายน 2541 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete block มีจำนวน 3 ซ้ำ แต่ละซ้ำประกอบไปด้วย 10 วิธีการ คือ ปลูกหญ้าโคไร หญ้ากินนีและหญ้ารูซี่ ห่างจากแถวยางพารา 1.0, 1.5 และ 2.0 เมตร ตามลำดับ ส่วนพืชคลุมดินปลูกห่างจากแถวยางพารา 1.0 เมตร เป็นวิธีการเปรียบเทียบ ผลจากการศึกษาพบว่า หญ้ากินนีที่ปลูกห่างจากแถวยางพารา 1.0 เมตร ให้ผลผลิตคิดเป็นน้ำหนักแห้งที่สูงที่สุด รองลงมาคือการปลูกหญ้ากินนีที่ระระห่าง 1.5 เมตร หญ้ารูซี่และหญ้าโคไรที่ระยะห่างจากแถวยางพารา 1.0 เมตร และ 1.5 เมตรตามลำดับ ส่วนที่ระยะห่าง 2.0 เมตร หญ้ากินนีให้ผลผลิตสูงกว่าหญ้ารูซี่และหญ้าโคไร เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตโปรตีนหยาบที่ได้จากหญ้าแต่ละชนิด พบว่าหญ้ารูซี่ให้โปรตีนหยาบสูงที่สุดคือเฉลี่ย 7.6 - 7.7 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือหญ้ากินนี่เฉลี่ย 6.8 - 7.2 เปอร์เซ็นต์ และหญ้าโคไรเฉลี่ย 0.63 - 0.72 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง ในขณะเดียวกันก็พบว่าปริมาณแร่ธาตุคือ แคลเซียม และฟอสฟอรัสที่ได้จากหญ้าทั้ง 3 ชนิดก็ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ คือเฉลี่ย 0.33 - 0.54เปอร์เซ็นต์ และ 0.14 - 0.25 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของระยะปลูกพืชอาหารสัตว์บางชนิดต่อการเจริญเติบโตของยางพารา
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ผลการปลูกพืชอาหารสัตว์บางชนิดแซมยางพารา กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation อิทธิพลของการให้น้ำชลประทานและระยะปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตมันเทศ การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน อิทธิพลของการปลูกหวายตะค้าทองและพืชร่วมบางชนิดที่ใช้เป็นค้างต่อการเจริญเติบโต ของยางพาราในเขตภาคใต้ตอนบน แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช: ทางเลือกใหม่เพื่อช่วยงานวิจัย แบบดั้งเดิม การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับผลของการใช้พืชอาหารสัตว์บางชนิดต่ออัตราการเจริญเติบโตของกระต่ายเล็กและกระต่ายรุ่น อิทธิพลของสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ปลูกต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของยางพารา (ปีที่ 3)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก