สืบค้นงานวิจัย
การผลิตและการตลาดส้มเขียวหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
จีระศักดิ์ สุรเชาว์ตระกูล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การผลิตและการตลาดส้มเขียวหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จีระศักดิ์ สุรเชาว์ตระกูล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการณ์การผลิต และการตลาดส้มเขียวหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกรชาวสวนส้ม เขียวหวานในเขตตำบลแม่สิน แม่สำ และบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สภาพการผลิต และการตลาดส้มเขียวหวาน ตลอดจนปัญหาการผลิตและการตลาดของเกษตรกรชาวสวนส้ม ผลการศึกษาเกษตรกรชาวสวนส้มส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสถานภาพสมรส มีสมาชิกในครัวเรือนและใช้แรงงานในครัวเรือน 3 - 4 คน มากที่สุด แรงงานจ้างในช่วงปลูกอัตราวันละ 100 บาทต่อคน มีพื้นที่ถือครองเป็นของตนเอง เกษตรกรตัดสินใจปลูกส้มเนื่องจากมีความชำนาญ มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี สำหรับเงินทุนในการทำสวนส้มมีเงินทุนไม่เพียงพอ แหล่งเงินทุนได้จากการกู้ยืมจาก ธ.ก.ส. ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และค่าแรง เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกส้ม 11 - 15 ไร่มากที่สุด โดยใช้อัตราปลูก 60 ต้นต่อไร่ ปลูกในสภาพดินร่วนปนทราย พื้นที่ปลูกมีความลาดชันปานกลาง การปลูกส้มโดยอาศัยน้ำจากแม่น้ำยม และจะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง การให้น้ำจะใช้สายยางฉีด ส่วนใหญ่ไม่เคยเก็บตัวอย่างดินและใบส้มไปวิเคราะห์ การปรับปรุงดินจะใช้ปุ๋ยหมักใส่ในอัตราต้นละ 2 กิโลกรัม ใส่ปีละ 1 - 2 ครั้ง และมีการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16 - 16 - 16 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่เกษตรกรมีการให้อาหารเสริมทางใบแก่ต้นส้ม เกษตรกรทุกรายใช้กิ่งพันธุ์ที่ได้จากการตอน มีการขยายพันธุ์ด้วยตนเอง และไม่มีการกระตุ้นให้ต้นส้มออกดอก เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้จดทะเบียน ผู้ปลูกส้ม มีความต้องการความรู้ในการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิต มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ให้คำแนะนำความรู้ และความรู้ได้จากสื่อวิทยุ ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่เคยได้รับการอบรมเรื่องเกษตรกรดีที่เหมาะสมสำหรับส้มเขียวหวาน โรคและแมลงศัตรูส้มที่สำคัญ คือ โรครากเน่า โคนเน่า และเพลี้ยหอย การพ่นสารเคมีจะใช้เครื่องยนต์กำลังอัดสูงชนิด 2 คนหาม กำจัดวัชพืชโดยใช้เครื่องตัดหญ้า การตัดสินใจพ่นสารเคมีพิจารณาจากผลการสำรวจเมื่อพบศัตรูพืชแล้วจึงพ่นสารเคมี เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บผลผลิตส้มโดยใช้วิธีปลิดผล แล้วเก็บผลผลิตใส่ลงในถุงย่ามที่ทำมาจากกระสอบปุ๋ย มีการจำหน่ายผลผลิตโดยที่ไม่มีการทำความสะอาด โดยเจ้าของสวนจะนำผลผลิตไปขายให้พ่อค้าในท้องถิ่นและกำหนดราคาตามการคัดขนาด เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ รองลงมาเป็นปัญหาเกี่ยวกับปุ๋ยเคมีและสารเคมีมีราคาแพง สำหรับข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ส่วนใหญ่เสนอแนะให้ภาครัฐถ่ายทอดความรู้ในการป้องกันกำจัดโรคและแมลง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาด รองลงมาเสนอแนะให้ภาครัฐให้การสนับสนุนในการสร้างแหล่งเก็บกักน้ำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตและการตลาดส้มเขียวหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดไม้ผลกึ่งเมืองร้อน (ส้มโอ ส้มเขียวหวาน และองุ่น) ของประเทศไทย ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก สภาพการผลิตและการตลาดขมิ้นชัน การศึกษาสถานการณ์การผลิตการตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหม่อนไหม การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดของกะหล่ำปลี สถานการณ์การผลิตและการตลาดข้าวต่างประเทศ การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน ศักยภาพการผลิตการตลาดกระบือนม การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสุโขทัย ศักยภาพการผลิต การตลาดส้มโอขาวแตงกวาชัยนาทตลอดห่วงโซ่อุปทาน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก