สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตหญ้าเนเปียร์ลูกผสมหมัก สำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สมพล ไวปัญญา - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตหญ้าเนเปียร์ลูกผสมหมัก สำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่อง (EN): Verification of technology on commercial silage making of hybrid napier grass by small farmers in Suratthani province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมพล ไวปัญญา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตหญ้าเนเปียร์ลูกผสมหมักสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยวิธีการหมักในถังพลาสติก (ชนิดฝาเกลียว) ขนาดบรรจุ 30 ลิตร ดำเนินการทดสอบกับเกษตรกร จำนวน 6 ราย ที่คัดเลือกจากกลุ่มเกษตรกรในหมู่บ้านถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ โดยใช้หญ้าเนเปียร์ลูกผสม (โคลนหมาย เลข 032 ซึ่งเป็นหญ้าเนเปียร์รุ่นลูกชั่วที่ 1 (F. ที่ได้จากการผสมเปิดระหว่างหญ้าเนเปียร์แคระสายพันธุ์มวกเหล็กกับหญ้าเนเปียร์แคระของกรมปศุสัตว์ ปลูกรายละอย่างน้อย 1 ไร่ ตัดที่อายุประมาณ 60 วัน มาทำพืชหมัก โดยตัดชิดผิวดิน นำมาหั่นให้มีขนาด 1 - 2 นี้ แล้วอัดให้แน่นในถังพลาสติกได้หญ้าเนเปียร์ลูกผสมหมัก เฉลี่ยถังละ 22 กิโลกรัม ผลการทดลอง พบว่า เกษตรกรร้อยละ 83.3 มีความพึงพอใจในการทำหญ้าเนเปียร์ลูกผสม หมัก มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 1.05 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 23.10 บาทต่อถัง สำหรับคุณภาพทั้งทางกายภาพและทางเคมีของหญ้าเนเปียร์ลูกผสมหมัก ของเกษตรกรทุกรายอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตลอดอายุการเก็บรักษาทั้งที่ 21 60 และ 90 วัน ตามลำดับ เมื่อนำไปเลี้ยงโค พบว่า โคชอบกิน ส่วนทัศนคติและการยอมรับของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรทุกรายยอมรับเทคโนโลยีดังกล่าว เนื่องจากหญ้าเนเปียร์ลูกผสมมีความเหมาะสมในการปลูกเพื่อทำพืชหมัก ประกอบกับชั้นตอนการทำพืชหมักก็ไม่ยุ่งยาก แต่ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความชื้นของหญ้าที่นำมาหมัก กระบวนการไล่อากาศออกจากถังและเทคนิคการปิดฝาถังพืชหมัก นอกจากนี้เกษตรกร ยังเห็นว่า การผลิตพืชหมักเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ของตนเอง น่าจะมีความเหมาะสมมากกว่ากรผลิตพืชหมักเพื่อการจำหน่าย เนื่องจาก ลาดยังไม่แน่นอน และการผลิตพืชหมักเพื่อใช้ในฟาร์มของตนเองน่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
บทคัดย่อ (EN): The trial was aimed to verify of technology on commercial silage making of hybrid napier grass by small farmers in Suratthani province. The silage was prepared by chopping green forage and compressed in 30-liter plastic tank with a screw cap. Six volunteer farmers from animal nutrition technological transfer village were selected to attend this project. hybrid napier grass (clone No.032) (F.) - open - pollinate between Pennisetum purpureum cv. Mueglek x Pennisetum purpureum cv. Mott were used in this experiment. Each farmer grew at least 1 rai, cutting age at 60 days by cut at soil surface, chopped at length of 1-2 inches, compressed in plastic tank in closed condition. The average weight of hybrid napier grass after ensiling was 22 kilogram per tank. The resulted showed that 83.3 percent of farmers were satisfied and accepted this technology. The cost of production was 1.05 baht per kg or 23.10 baht per tank. Both physical and chemical properties of the silage were excellent conditions during all the storage days at 21, 60 and 90 days respectively. It was palatability for beef cattle. The investigation of attitude of the farmers indicated that they accepted on the technology of hybrid napier silage due to the process was easy. Nevertheless, the farmers should be considerable about moisture content of hybrid napier grass, process to exclude air tank and technique to close a tank lid. Besides this, the farmers realized that producing the silage for feeding their beef cattle was greater improve profitability than making the silage for sale, due to market uncertainty.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: http://nutrition.dld.go.th/research/report%202553.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตหญ้าเนเปียร์ลูกผสมหมัก สำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กองอาหารสัตว์
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
หญ้าเนเปียร์ ผลของการจัดการท่อนพันธุ์เนเปียร์ต่อการงอกของท่อนพันธุ์และผลผลิตของหญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1 เพื่อลดต้นทุนการผลิตหญ้าเลี้ยงสัตว์ การศึกษาวิธีการปรับปรุงพันธุ์ปลานิลของเกษตรกรรายย่อยใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตข้าวฟ่างหมักสำหรับเกษตรกรรายย่อย เพื่อการจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตหญ้าแพงโกล่าหมักสำหรับ เกษตรกรรายย่อยเพื่อจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดสระบุรี การผลิตหญ้าเนเปียร์หมักสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี การทดสอบการใช้หญ้าเนเปียร์หมักเลี้ยงแม่โครีดนมในฟาร์มโคนมของเกษตรกรรายย่อย การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตหญ้ากินนีสีม่วงหมักในถุงพลาสติกสำหรับเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก