สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดู
พิจิตร ศรีปินตา - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดู
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Off-season Longan Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิจิตร ศรีปินตา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พิจิตร ศรีปินตา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดูได้ศึกษาการกระจายการผลิตลำไยในช่วงเวลาต่างๆ การปรับปรุงคุณภาพผล และการใช้โพแทสเซียมคลอเรตในการควบคุมการออกดอก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดูในช่วงเวลาต่างๆ ดำเนินการในปี 2549 – 2553 พบว่าการบังคับต้นลำไยไม่ให้ออกดอกและติดผลในฤดูด้วยการเขตกรรม ด้วยการตัดปลายกิ่งยาว 10 – 15 นิ้วในเดือนพฤศจิกายนทำให้ลำไยไม่มีการออกดอกติดผล การบังคับลำไยไม่ให้แตกใบอ่อนในช่วงฤดูฝนพบว่า 1) การควั่นกิ่งหลักกว้าง 0.2 - 0.3 เซนติเมตร จำนวน 2 วง ห่างกัน 10 เซนติเมตร หรือการควั่นกิ่งหลักกว้าง 0.2- 0.3 เซนติเมตร แบบ spiral cincturing 2) การใส่ปุ๋ย 0-46-0 อัตรา 150 กรัมต่อเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร จำนวน 1 ครั้ง และ 3) การพ่นปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 120 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 3 สัปดาห์/ครั้ง สามารถบังคับลำไยไม่ให้แตกใบอ่อนในช่วงฤดูฝนได้นานที่สุด การชักนำต้นลำไยออกดอกและติดผลในฤดูร้อน พบว่าการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต อัตรา 50 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ร่วมกับการพ่นแคลเซียมโบรอน จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน/ครั้ง ในช่วงดอกบาน มีเปอร์เซ็นต์การติดผล จำนวนผลเฉลี่ยต่อช่อ ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น มากที่สุด สำหรับการศึกษาการชักนำต้นลำไยออกดอกและติดผลในฤดูฝน พบว่า ในสภาพฝนตกหนัก การให้สารโพแทสเซียมคลอเรตโดยวิธีการหว่านบริเวณทรงพุ่ม และการฝังกลบบริเวณชายพุ่มจะมีเปอร์เซ็นต์การออกดอก และผลผลิตต่อต้นมากที่สุด และความเข้มข้นของสารโพแทสเซียมคลอเรตความเข้มข้นสูง ได้แก่ อัตรา 100 และ 150กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร มีเปอร์เซ็นต์การออกดอก และผลผลิตต่อต้นมากกว่าความเข้มข้นต่ำ (50 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร) ส่วนในสภาพฝนตกน้อยถึงปานกลางพบว่าการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตแบบผสมน้ำราดบริเวณทรงพุ่ม และการหว่านบริเวณทรงพุ่ม มีเปอร์เซ็นต์การออกดอก เปอร์เซ็นต์การติดผลดีกว่าการฝังกลบบริเวณชายพุ่ม และการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตความเข้มข้นสูง (อัตรา 100-150 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร) มีเปอร์เซ็นต์การออกดอก และการติดผลดีกว่าการให้สารฯ ความเข้มข้นต่ำ ในการศึกษาการตัดแต่งช่อผลและใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชเพื่อเพิ่มขนาดผลลำไยนอกฤดู พบว่าการตัดแต่งช่อผลให้เหลือจำนวนผลไม่เกิน 80 ผล/ช่อและการพ่นสารเอ็นเอเอ ความเข้มข้น 200 ppm ทำให้ผลผลิตลำไยในขณะเก็บเกี่ยวมีคุณภาพดีขึ้น โดยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและผลมีขนาดใหญ่ขึ้น และศึกษาการใช้สารเคมีและขมิ้นชันปรับปรุงสีผิวลำไยนอกฤดู พบว่าในสภาพที่ลุ่มพบว่าสีผลของลำไยที่ผ่านการรม SO2มีค่าความสว่างหรือค่า L* สูงและสีผลลำไยที่พ่นสารAzoxystrobin (AMISTAR 25 SC) อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรจำนวน 3 ครั้งในช่วงผลอายุ 4-5 เดือนและสารBenzimidazole (Carbendazim) อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 5 ครั้งในช่วงอายุผล 4-5 เดือนมีสีเหลืองหรือค่า b*สูงกว่ากรรมวิธีอื่นแต่ในสภาพที่ดอนพบว่าสีผลของลำไยที่ผ่านการรม SO2มีค่าความสว่างหรือค่า L* สูงและสีผลของลำไยที่ผ่านการรม SO2และการพ่นสาร Benzimidazole (Carbendazim) อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 5 ครั้งในช่วงอายุผล 4-5 เดือนมีสีเหลืองหรือค่า b*สูงที่สุด ส่วนการวัดค่าสีผิว (%) จากการใช้แผ่นเทียบสี Colour chart ในสภาพที่ลุ่มและที่ดอนพบว่า ค่าสีผิวผลที่วัดได้มีด้วยกันทั้งสองสี คือ สีส้มอมเทา และสีเหลืองอมเทา การปรับปรุงสีผลลำไยโดยการพ่นสารป้องกันและกำจัดเชื้อราสามารถปรับปรุงสีผิวผลลำไยได้ดีที่สุด นอกจากนี้ได้ศึกษาการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต สารออกฤทธิ์ 15 เปอร์เซ็นต์ เพื่อชักนำให้ลำไยออกดอกติดผลนอกฤดู พบว่าลำไยที่ราดสารโพแทสเซียมคลอเรตสารออกฤทธิ์ 15 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 600 และ 900 กรัม มีเปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอก ความยาวช่อดอก จำนวนผลเฉลี่ยต่อช่อ และขนาดผล ไม่แตกต่างกับการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต สารออกฤทธิ์ 90 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 100 กรัม
บทคัดย่อ (EN): A five year study on “Off-season production of longan” was carried out from 2006-2011. The objective of the study was to produce longan year round and to improve fruit quality. The study consisted of seven (7) trials which examined various aspects of longan production to develop new techniques for production.The first trial’s objective was to inhibit regular season flowering through shoot pruning of longan in November. Shoot pruning at a length of 25-40 cm in November produced the best results to inihibit flowering.The second trial examined the inhibition of new shoot development during the rainy season. Three techniques were used; girdling or spiral cincturing (0.2-0.3cm width), one broadcast application of 0-46-0 fertilizer at 150g/m canopy, and three spray applications of 0-52-34 at 120g/20l water at 3 week intervals. Girdling and the broadcast application of 0-46-0 inhibited new shoot development for a longer period than the other treatments.The third trial ’s objective was to produce off-season production of longan during the summer season (March-April). The treatment of potassium chlorate (KClO3) at 50g/m canopy diameter and after flowering spray with calcium/boron for 3 times at 7 day intervals resulted in increased % fruit set, number of fruit/raceme and yield/tree.The fourth trial examined off-season production of longan during the rainy season using different application rates of KClO3 during the period of heavy rains. Three different application rates (50, 100 and 150g/m canopy diameter) and two different application were techniques (broadcast application and digging a trench around the canopy of the tree, applying KClO3 and covering the trench again) were studied. Application rates of 100 and 150g/m canopy diameter were most effective. Both application techniques increased % flowering and yield/tree. Application of KClO3 during periods of moderate and low rainfall were also examined. Liquid application of KClO3 on the soil and broadcast application were both effective. Application rates of 100 and 150g/m canopy diameter produced the best results. The fifth trial was a study on fruit thinning and the use of different growth regulators to increase fruit size of off-season longan. The use of NAA at 200ppm resulted in the largest increase in fruit size. The sixth trial was a study on the use of different chemicals and curcumin to improve fruit colour for off-season fruit production was carried out. The fungicides Azoxystrobin (AMISTAR 25SC) and Benzimidazole (Carbendazim) were the most effective treatments for producing yellow skin fruit.The seventh and final trial examined the use of KClO3 (15% concentration) at different application rates to produce off-season longan production. Application rates of 600 and 900g/m canopy diameter produced results of flowering %, length of raceme, number of fruit/raceme and fruit size similar to 100% concentration of KClO3 .
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดู
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 รายงานผลการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดูของฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี การศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตลำไยนอกฤดู การใช้เทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรจังหวัดตาก การผลิตมะม่วงนอกฤดูอย่างยั่งยืน โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน แนวทางการผลิตและการตลาดลำไยในจังหวัดเชียงราย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก