สืบค้นงานวิจัย
การประเมินความเสียหายที่เกิดจากหนอนเจาะผลลิ้นจี่ Conopomropha sinensis (Lepidoptera: Gracillariidae) และบทบาทของแตนเบียนหนอนเจาะผล
สุพัตรา ดลโสภณ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การประเมินความเสียหายที่เกิดจากหนอนเจาะผลลิ้นจี่ Conopomropha sinensis (Lepidoptera: Gracillariidae) และบทบาทของแตนเบียนหนอนเจาะผล
ชื่อเรื่อง (EN): Conopomorpha sinensis(Lepidoptera: Gracillariidae) and Its Larval Parasitoids
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุพัตรา ดลโสภณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Supatra Dolsopon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: หนอนเจาะผลลิ้นจี่หรือหนอนเจาะขั้วผล Conopomorpha sinensis (Lepidoptera : Gracillariidae) (Lepidoptera : Gracillaridae) เป็นแมลงศัตรูที่ทำความเสียหายให้แก่ลิ้นจี่และลำไยที่ปลูกมากในเขตจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งได้ทำการประเมินความเสียหายที่เกิดจากหนอนเจาะผลและบทบาทของแมลงศัตรูธรรมชาติคือแตนเบียนหนอนของแมลงชนิดนี้ในช่วงการระบาดเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2538 และ 2539 ในลิ้นจี่และลำไยที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ผลปรากฎว่าการร่วงของผลลิ้นจี่และลำไยเกิดจากสภาพธรรมชาติประมาณ 40-90% ทั้งสภาพห่อช่อผลและไม่ห่อช่อผล การห่อช่อผลไม่มีผลกระทบต่อการร่วงของผลลิ้นจี่แต่มีแนวโน้มทำให้การร่วงของผลลำไยลดลงและยังมีส่วนช่วยป้องกันการเข้าทำลายของหนอนเจาะผลในพืชทั้งสองชนิด แต่การไม่ห่อช่อผลมีจำนวนผลร่วงเพิ่มขึ้นเนื่องจากหนอนเจาะผล ผลแตก โรคเปลือกผลสีน้ำตาล ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียผลผลิต ในปี 2538 และ 2539 ผลลำไยที่เก็บเกี่ยวได้เมื่อห่อช่อผลมีผลดี 61.82% และ 56.28% ซึ่งสูงกว่าที่พบในผลลิ้นจี่ที่เก็บเกี่ยวได้ 22.55% และ 23.06% ตามลำดับ ในสภาพไม่ห่อช่อผลลิ้นจี่ที่ติดผลจนกระทั่งเก็บเกี่ยวถูกหนอนเจาะผลทำลายสูงกว่าลำไยในปี 2538 คือ ลิ้นจี่ 8.86 % และลำไย 1.03% ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับปี 2539 ที่พบในลิ้นจี่ 8.52% และลำไย 1.58% ไม่พบการเข้าทำลายจากหนอนเจาะผลเมื่อทำการห่อช่อผล แต่การห่อช่อไม้ไม่สามารถลดอาการของโรคเปลือกผลสีน้ำตาลที่มีส่วนทำให้ผลร่วงในลิ้นจี่เพิ่มขึ้น 6.25% ซึ่งอาการดังกล่าวไม่พบบนลำไย เมื่อสุ่มตรวจนับผลลิ้นจี่และลำไยที่สุกพร้อมจะเก็บเกี่ยวพบว่าลิ้นจี่มีเปอร์เซ็นต์ผลดี 19.34% ถูกหนอนเจาะผลทำลาย 65.41% ผลที่เป็นแผลสีน้ำตาล 8.4% และความเสียหายที่เกิดร่วมกันระหว่างหนอนเจาะผลและเปลือกผลสีน้ำตาล 6.74% ส่วนในลำไยมีผลดี 89.89% ผลถูกหนอนเจาะ 9.93% หนอนเจาะผล C. sinensis มีแมลงศัตรูธรรมชาติเป็นแตนเบียนหนอน (larval parasitoid) พวก Soiltary ectoparasitoids พบจำนวน 5 ชนิด (species) จัดอยู่ในอันดับ Hymenoptera ยังไม่สามารถวิเคราะห์ชื่อวิทยาศาสตร์ได้ เมื่อสุ่มตรวจนับบนผลลิ้นจี่ร่วงใต้ต้น หนอนเจาะผลถูกแตนเบียนหนอนทำลาย 49.07% สูงกว่าพบบนใบลิ้นจี่ ๖4.18%) และใบลิ้นจี่ (7.28%)
บทคัดย่อ (EN): Litchi fruit borrer, Concopomopha sinensis (Lepidoptera : Gracillaridae) is the most important insect pest of lychee and longan. Most lychee and longan growing areas in Northern Thailand have been seriously attacked by C. sinensis. Crop loss assessment and their insect parasitioids were investigated at Chiaangrai Horticultural Reserch Center during outbreak season from April to August, 1995-1996. It revealed that fruit shedding of lychee wee usually occurred 40-90% after fruit set throughout the season under fruit bagging and no bagging conditions. Fruit drop in lychee and decreased in longan, and also provided protection from the infestation of C. sinensi. Fruit drop of lychee was increased with no bagging due to litchi fruit borer, fruit crack and fruit browning disease which re the main effects of yield reduction. Harvested fruit of longn were 61.82% in 1995 and 56.28% in 1996 under bagging conditions. But there wee only 22.55% and 23.06% of lychee fruit that had been haarvested. It was found that under no bgging conditions, 8.86% of lychee and 1.03% of longan were infested by C. sinensis in 1995. Similarly, in 1996 there were 8.52% and 1.58% in lychee and longan respectively. It is clear that bagging can be used to protect fruit damaged by C. sinensis. However, 6.25% of fruit browning were obviously seen in lychee under bagging conditions. This never happens in longan. Mature fruit of longqan and lychee were randomly harvested. Apparently 19.4% of lychee were not infested by fruit borer whereas 65.41% wee destroyed. 8.4% of fruit had brownskin. Moreover 6.74% of lychee were simultaneously damaged by fruit browning disease and fruit borer. 89.89% of harvested fruit of longan were not attaqcked but 9.93% were contaminated by fruit borer. Insect parasitoids of C. sinensis wee observed. Five species of larval pqarasitoids have been found, all of them are solitary ectoparasitoids. Three species of braconic were Phanerotoma sp., Colastes sp. and Pholestesor sp. Another two icheumonids were identified as Goryphus sp. and Paraphylax sp. Infested fruit fal lby C. sinensis were parsitised 49.07%. There were only 4.18% of parasitism on lychee and 7.28% on longan leaves.๔
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2541
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2541
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินความเสียหายที่เกิดจากหนอนเจาะผลลิ้นจี่ Conopomropha sinensis (Lepidoptera: Gracillariidae) และบทบาทของแตนเบียนหนอนเจาะผล
กรมวิชาการเกษตร
2541
เอกสารแนบ 1
การจัดการระบบการผลิตแตนเบียนเพื่อการควบคุมหนอนเจาะลำต้นอ้อยอย่างยั่งยืน โครงการย่อย 6:การวิจัยและพัฒนาสารอนุพันธ์จากน้ำส้มควันไม้ในการควบคุมหนอนแมลงวันเจาะลำตันถั่วและหนอนเจาะลำต้นกาแฟบนพื้นที่สูง การพัฒนาผลิตภัณฑ์แตนเบียนของหนอนกออ้อยและการยอมรับของเกษตรกร ระดับการต้านทานต่อสารฆ่าแมลงของหนอนเจาะสมอฝ้าย การถ่ายทอดลักษณะความต้านทานต่อหนอนเจาะฝัก (Heliothis armigera) ในถั่วเหลือง การสกัดและจำแนกสารเพศล่อของผีเสื้อหนอนเจาะสมอฝ้าย การศึกษานิเวศวิทยาของหนอนเจาะต้นกาแฟ XYLOTRECHUS QUADRIPES CHEVROLAT (COLEOPTERA : CERAMBYCIDAE) ในภาคเหนือของประเทศไทย III. การสำรวจรอยเจาะออกของตัวเต็มวัย การศึกษาแมลงเบียนของ หนอนผีเสื้อหนอนใบรักและหนอนผีเสื้อ หางตุ้มจุดชมพู กรณีศึกษา :บริเวณคลองครอบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก รูปแบบการกระจายและจำนวนตัวอย่างที่เหมาะสมในการสุ่มตัวอย่างหนอนเจาะสมอฝ้าย การควบคุมหนอนเจาะลำต้นกาแฟ Xylotrechus quadripes Chevrolat (Coleoptera: Cerambycidae) ในสภาพแปลงปลูก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก