สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเครื่องหมายในระดับโมเลกุลของลักษณะความต้านทานโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อ Phytophthora เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พริก
วิลาวรรณ ศิริพูนวิวัฒน์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเครื่องหมายในระดับโมเลกุลของลักษณะความต้านทานโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อ Phytophthora เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พริก
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Molecular Marker Associated with Resistance to Phytophthora for Pepper Breeding
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิลาวรรณ ศิริพูนวิวัฒน์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โรคเหี่ยวในพริกจากเชื้อ Phytophthora เป็นโรคที่สำคัญซึ่งเข้าทำลายและทำให้ สูญเสียผลผลิตพริกเป็นจำนวนมากในแต่ละปี การพัฒนาพันธุ์พริกที่ต้านทานต่อโรคนี้ส่วน ใหญ่ได้พันธุกรรมความต้านทานจากพันธุ์ CM334 (Criollo de Morelos 334) ซึ่งในชุด โครงการนี้ได้รับความอนุเคราะห์มล็ดพันธุ์จาก AVRDC ประเทศไต้หวั่น และ TVRDC เพื่อ การพัฒนพันธุ์พริกของประเทศไทยให้มีความต้านทานต่อเชื้อตังกล่าว การศึกษาลักษณะ ทางสัณฐานวิทยาของเชื้อรา Phytophthora capsici ที่รวบรวมจากแหล่งปลูกพริกใน ประเทศไทย 8 ไอโซเลท พบว่า มีลักษณะแตกต่างกัน และเชื้อสาเหตุจำนวน 5 ไอโซเลท ค่อนข้างต้านทานต่อสารเคมีสาร metalaxy ที่ความเข้มข้น 100 ppm กลุ่มเชื้อราที่มีความ รุนแรงในการเข้าทำลายสูง ได้แก่ ไอโซเลทขุนวาง เชียงราย ตาก และแม่สอด ซึ่งสามารถใช้ ยืนยันความต้านทานของพริกพันธุ์ CM334 และ Tit Pais (ต้านทานและค่อนข้างต้านทาน ตามลำดับ) โดยที่พริกพันธุ์อื่นๆ แสดงอาการไม่ต้านทานต่อเชื้อ เมื่อสำรวจความแตกต่าง ทางพันธุกรรมโดยใช้ RAPD primers จำนวน 80 หมายเลข สามารถจำแนกกลุ่มพันธุ์พริกที่ ทดสอบได้เป็น 6 clusters โดยพันธุ์ CM334 มีความแตกต่างทางพันธุกรรมจากกลุ่มพริก พันธุ์ไทย และไพรเมอร์ หมายเลข 1475.3 เพียงหมายเลขเดียวที่ปรากฏแถบดีเอ็นเอ สำหรับพันธุ์ CM334 แต่ไม่ปรากฏแถบดีเอ็นเอนพันธุ์ที่ไม่ต้านทานอื่นๆ นอกจากนี้ ไพรเมอร์หมายเลข 1459.. ให้แถบดีเอ็นเอที่ใช้จำแนกพันธุ์ในกลุ่มต้านทาน 2 พันธุ์ ได้ และสามารถนำข้อมูลความแตกต่างทางพันธุกรรมเหล่านี้มาประกอบการพิจารณาเพื่อ ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์พริกที่ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อ Phytophthora สำหรับปลูกในประเทศไทยอย่างเป็นระบบต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประซากร ลูกผสมระหว่างพันธุ์ CM334 และพันธุ์ไม่ต้านทาน DK และ พจ 5-3-1-1 เมื่อนำผลการศึกษาข้างต้นมาพิจารณาประกอบกับผลการศึกษาการเพาะเลี้ยงอับ ละอองเกสรของพริกที่พบว่า ระยะขนาดดอกระหว่าง 2.6 - 3.0 มม. เป็นระยะที่สามารถซัก นำให้อับละอองเกสรของพริกพันธุ์ CA 365 เกิดเป็นแคลลัสสูงสุด (10 %) บนอาหารสูตร CP ที่เติม Kinetin 0.5 มก.ลิตร แต่ขนาดดอก 3.1- 4.0 มม. เป็นระยะที่ชักนำให้เกิดต้นได้ เฉลี่ย 3% บนอาหารสูตร CP ที่เติม Kinein 0.5 มก./ลิตร และ 2,4-D 0.5 มก./ลิตร ในขณะ ที่อาหารสูตร regeneration medium ที่ประกอบด้วย Kinetin 0.1 มก./ลิตร ช่วยให้พัฒนา เป็นต้นได้ และผลการศึกษาต้นทุนและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุน ปริมาณ และกำไร ที่พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกพริกที่สำรวจ 10 ราย มีอัตราผลตอบแทนที่แตกต่างกันตามต้นทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนในการจัดการโรค ที่คิดเป็นสัดส่วนตั้งแต่ 8.63 - 30.98 % ของ ต้นทุนโดยรวม และ 4.11 ถึง 33.16 % ของกำไรสุทธิ การบูรณการผลการทดลองข้างต้นขี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาพันธุ์พริกที่มี ความต้านทานโรคจากเชื้อ Phytophthora เพื่อส่งเสริมการผลิตพืชผลทางการเกษตรที่มี ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สิ่งแวดล้อมและให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นสำหรับเกษตรกรอย่าง ยั่งยืน
บทคัดย่อ (EN): Phytophthora capsici is considered one of the damaging fungal diseases that causes major losses in pepper yield annually worldwide. Breeding programs for resistance to this disease usually based on resistance genes from a Mexican variety CM334 (Criollo de Morelos 334). Seeds of such a resistant variety were obtained from AVRDC-GRSU, Taiwan for the purpose of developing resistance genotype in pepper breeding lines in Thailand. The total of 11 Phytophthora capsici isolates were obtained from various sites in Thailand. Five isolates (Khunwung, Tak, Pongyaeng, MaeSod and Inthanon) were found to be moderately resistant to metalaxyl fungicide at the concentration of 100 ppm. Pathogenicity tests identified a group of fungal isolates (Chiangrai, Khun Wang, Mae Sod, and Tak) that severely caused Phytophthora wilt symtoms on pepper seedlings. These isolates were then used to confirm resistant phenotype of CM334 and Tit Paris, as highly and moderately resistance, respectively. Other varieties in this study were classified as susceptible. DNA polymorphism survey was carried out to gain information on genetic differences among pepper lines, with 80 RAPD primers. The dendrogram of the tested sample group classified 6 clusters which separated CM334 from susceptible Thai varieties. However, there was one RAPD primer, The dendrogram of the tested sample group classified 6 clusters which separated CM334 from susceptible Thai varieties. However, there was one RAPD primer, s14751238 that differentiated CM334 from other 12 varieties investigated. In addition, s1459,256 showed a polymorphic band between groups of resistant and susceptible varieties. DNA patterns of all varieties identified could be useful in pepper breeding program, especially in developing improved cultivars from DK and PJ 5-3-1-1 for the purpose of systematic approach to manage Phytophthora resistant breeding lines in Thailand. In addition, study on anther culture protocol indicated that anthers of 2.6-3.0 mm CA 365 flowers cultured on CP medium with 0.1 mg/ Kinetin and 0.5 mg/ 2,4- D initiated highest amount of calli at 10%. However, those of 3.1-4.0 mm. flowers produced highest embryos (3%) when cultured on CP medium containing 0.5 mg/I Kinetin and 0.5 mg/ 2,4 -D. To further the practicality of this project, study on cost and analyses of Cost - Volume - Profit relationships was conducted on 10 pepper farmers. The results revealed that pepper farmers currently gained positive return on investment which varied mainly to their variable cost. Of note was the cost on disease management that contributed to 8.63 - 30.98 % of total cost and affected 4.11 - 33.16 % of net profit. Integrated results projected the possibility of developing Phytophthora resistant breeding lines that would promote sustainable pepper production that is safe for consumer environmental friendly with better return on investment for farmers.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเครื่องหมายในระดับโมเลกุลของลักษณะความต้านทานโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อ Phytophthora เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พริก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2553
การปรับปรุงพันธุ์พริกเพื่อต้านทานต่อโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อ Phytophthora การคัดต้นตอต้านทานโรคเหี่ยวจากแบคทีเรียในการผลิตพริกหวาน โครงการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับความต้านทานเชื้อ Phytophthora ในยางพารา การพัฒนาพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์อะโวคาโดเพื่อบริโภคผลสด การประเมินความต้านทานของโรคใบไหม้ของข้าวเหนียวดำในระยะแตกกอหลังการปลูกเชื้อ 7 และ 14 วัน ปรับปรุงพันธุ์แก่นตะวันเพื่อความต้านทานต่อโรคโคนเน่า การตอบสนองต่อการคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่ประยุกต์จำนวน 3 รอบ เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลืองในประชากรแตงกวา การพัฒนาข้าวพันธุ์บางแตนให้ต้านทานโรคไหม้แบบผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินร่วนเหนียว ในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา โครงการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับความต้านทานเชื้อ Corynespora ในยางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก