สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมของเกษตรตำบลในภาคกลาง
ธนากร กลั่นขจร - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมของเกษตรตำบลในภาคกลาง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธนากร กลั่นขจร
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาเปรียบเทียบวิธีการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมของเกษตรตำบลโดยการทดสอบความรู้เกษตรตำบล การใช้แบบสอบถามให้เกษตรตำบลกรอกและการสัมภาษณ์เกษตรอำเภอ ว่าผลที่ได้รับจะมีความแตกต่างกันหรือไม่ รวมทั้งศึกษาถึงความจำเป็นในการฝึกอบรมของเกษตรตำบล และทัศนคติของเกษตรตำบลที่มีต่อวิธีการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมทั้ง 3 วิธีดังกล่าว ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรตำบลในภาคกลาง จำนวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 85.6 ของประชากรทั้งหมด และเกษตรอำเภอ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 91.7 ของประชากรทั้งหมด สำหรับการรวบรวมข้อมูลได้ใช้ (1)การทดสอบความรู้เกษตรตำบลโดยทำการทดสอบความรู้เกษตรตำบลในหมวดวิชาด้านส่งเสริมการเกษตร จำนวน 5 วิชา และหมวดวิชาพืชศาสตร์ จำนวน 3 วิชา รวมทั้งสิ้น 8 วิชา (2)การใช้แบบสอบถามให้เกษตรตำบลกรอก และ (3)การสัมภาษณ์เกษตรอำเภอ และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเป็นร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการให้คะแนน ค่า Spearman rank correlation coefficient และค่า Cochran Q test ผลการวิจัยสรุปได้ว่าเกษตรตำบลส่วนใหญ่เห็นด้วยกับวิธีการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมโดยการใช้แบบสอบถามให้เกษตรตำบลกรอกเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือการทดสอบความรู้เกษตรตำบล และการสัมภาษณ์เกษตรอำเภอ ตามลำดับ จากการทดสอบความรู้เกษตรตำบลพบว่า จำนวนเกษตรตำบลที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความจำเป็นในการฝึกอบรมด้านหลักและวิธีการจัดทำแปลงส่งเสริม(แปลงสาธิต) ร้อยละ 95.2 หลักและวิธีการส่งเสริมการเกษตรร้อยละ 84.6 หลักและวิธีการคัดเลือกและการใช้ประโยชน์จากเกษตรกรผู้นำ ร้อยละ 67.3 และพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจภายในอำเภออันดับ 3 ร้อยละ 61.1 ของจำนวนเกษตรกรตำบลทั้งหมด สำหรับการเปรียบเทียบวิธีการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมของเกษตรกรตำบลทั้ง 3 วิธีได้แก่ การทดสอบความรู้เกษตรตำบล การใช้แบบสอบถามให้เกษตรตำบลกรอก และการสัมภาษณ์เกษตรอำเภอ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง อย่างไรก็ตาม ในการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมของเกษตรตำบลในบางวิชา เช่น หลักและวิธีการคัดเลือกและใช้ประโยชน์จากเกษตรกรผู้นำ หลักและวิธีการฝึกอบรมรายปักษ์ หลักและวิธีการส่งเสริมการเกษตรนั้นสามารถที่จะใช้แบบสอบถามให้เกษตรกรตำบลกรอกแทนการทดสอบความรู้เกษตรตำบลได้ ส่วนวิชาหลักและวิธีการเยี่ยมเกษตรกร พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจภายในอำเภอ อันดับ 2 และพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจภายในอำเภออันดับ 3 ก็สามารถที่จะใช้วิธีการสัมภาษณ์เกษตรอำเภอแทนการทดสอบความรู้เกษตรตำบลได้เช่นกัน ส่วนวิธีการใช้แบบสอบถามให้เกษตรตำบลกรอกกับการสัมภาษณ์เกษตรอำเภอนั้นไม่สามารถที่จะใช้ทดแทนกันได้เลยในการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมของเกษตรตำบล
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2526
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2526
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคกลาง
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมของเกษตรตำบลในภาคกลาง
กรมส่งเสริมการเกษตร
2526
ความต้องการการฝึกอบรมของเกษตรตำบล จังหวัดสุรินทร์ ทัศนคติของเกษตรตำบลที่มีต่อบทบาทของนักวิชาการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคกลาง ความต้องการฝึกอบรมด้านการประชาสัมพันธ์ในงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลใน 4 จังหวัดภาคใต้ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล (เกษตรตำบล) ในจังหวัดภาคกลางที่อยู่ในโครงการปรับปรุงระบบการส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย ความจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อปฏิบัติงานตามระบบพัฒนาชนบทแห่งชาติของเกษตรตำบลในภาคตะวันตกของประเทศไทย ความจำเป็นในการฝึกอบรมด้านการบริหารของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บทบาทของเกษตรอำเภอและเกษตรตำบลภาคตะวันตก ตามระบบการฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน ภายใต้โครงการปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย ความต้องการฝึกอบรมในเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรตำบลในเขตภาคเหนือตอนล่าง การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทที่กรมส่งเสริมการเกษตรมอบหมายกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเกษตรตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเยี่ยมของเกษตรตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณีในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก