สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Testing Technology on Off-season Longan Production in the Upper Northern Region
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ดำเนินการระหว่างปี 2555 – 2558 ประกอบด้วย 2 การทดลอง คือ ทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตลำไยนอกฤดูเพื่อชักนำการออกดอกและติดผลช่วงฤดูฝน (อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน) และ เทคโนโลยีการจัดการศัตรูลำไยเพื่อแก้ปัญหาสารพิษตกค้างในผลผลิตลำไยนอกฤดู จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่) มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการชักนำการออกดอกและติดผลช่วงฤดูฝน และเพื่อลดสารพิษตกค้างในผลผลิตลำไยและลดต้นทุนการผลิตด้านการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการชักนำการออกดอกและติดผลช่วงฤดูฝน พบว่าการระบาดของศัตรูลำไย ในแปลงที่ใช้วิธีการแนะนำและแมลงที่ใช้วิธีการของเกษตรกรมีความคล้ายคลึงกัน ได้แก่ เพลี้ยไก่แจ้หนอนม้วนใบ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง และไร (พุ่มไม้กวาด) พบการระบาดเพียงเล็กน้อย โดยที่ปริมาณแมลงศัตรูลำไยทุกชนิดที่ตรวจนับได้ในแปลงที่ใช้วิธีการแนะนำและแปลงที่ใช้วิธีการเกษตรกรไม่มีความแตกต่างทางสถิติ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อชักนำการออกดอกและติดผลช่วงฤดูฝนการเตรียมความพร้อมของต้นลำไยก่อนใส่สาร โดยพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 120-150 กรัม/น้ำ20 ลิตร 3 ครั้ง ห่างกัน 7 วันในระยะพักต้นก่อนการใส่สาร KClO3และสูตร10-52-17 อัตรา 30 กรัม/น้ำ20 ลิตร 3 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน ในช่วงเริ่มแทงช่อดอกการจัดการเพื่อกระตุ้นการออกดอก โดยหว่านสารโพแทสเซียมคลอเรต (KClO3)เป็นวงบริเวณรอบทรงพุ่ม ในอัตรา 150 กรัมต่อเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร การเพิ่มขนาดผลผลิต พ่นสารเอ็นเอเอ ความเข้มข้น 200 ppm หลังจากดอกบาน 15 วัน ลำไยมีการติดผลประมาณ 70% พบว่าแปลงทดสอบได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกรในด้านความกว้างผล ความยาวผล ความหนาผล ความหนาเนื้อ น้ำหนักเนื้อ/ผลและความหวาน (TSS) ผลผลิตเฉลี่ยแปลงทดสอบ 1,434กิโลกรัม/ไร่ มีรายได้สุทธิ 64,063บาท/ ไร่ ในแปลงเกษตรกร 1,226กิโลกรัม/ไร่ มีรายได้สุทธิ 48,183บาท/ไร่ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ 3,280 บาท/ ไร่ (20%) โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนในแปลงทดสอบ(5) สูงกว่าแปลงเกษตรกร(3) จึงคุ้มค่ากับการลงทุนมากกว่า การทดสอบเทคโนโลยีที่การจัดการศัตรูลำไยเพื่อแก้ปัญหาสารพิษตกค้างในผลผลิตลำไยนอกฤดู จังหวัดเชียงใหม่เปรียบเทียบวิธีการที่แนะนำด้านการดูแลรักษาต้นลำไยการตัดแต่งกิ่งการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูลำไยการจัดการเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของศัตรูลำไยและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการแมลงศัตรูลำไยกับวิธีปฏิบัติของเกษตรกร พบการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้สูงสุดร้อยละ 52.5 และ 29.6 ในแปลงที่ใช้วิธีการเกษตรกร และในแปลงที่ใช้วิธีการแนะนำตามลำดับ ในระยะใบอ่อนที่อากาศแห้งแล้ง รองลงมาคือไรซึ่งเป็นระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ จึงแนะนำให้ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด ส่วนศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ เช่น หนอนม้วนใบ เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย พบในปริมาณน้อย โดยที่ปริมาณแมลงศัตรูลำไยทุกชนิดที่ตรวจนับได้ในแปลงที่ใช้วิธีการแนะนำและแปลงที่ใช้วิธีการเกษตรกรไม่มีความแตกต่างทางสถิติจากผลการวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในแปลงทดสอบอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยแต่ในแปลงเกษตรกรยังมีความเสี่ยงจากการพบสารเคมีคาร์บาริลตกค้างในผลผลิตซึ่งยังไม่มีค่ามาตรฐานMRL(Thai)เห็นได้ว่าผลผลิตในแปลงทดสอบมีความเสี่ยงในการปนเปื้อนสารพิษตกค้างน้อยกว่าแปลงเกษตรกร เนื่องจากมีการใช้สารเคมีตามคำแนะนำ เทคโนโลยีการจัดการศัตรูลำไยสามารถลดต้นทุนการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูลำไยได้ร้อยละ 40 แปลงทดสอบได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกรค่าเฉลี่ยในด้านความกว้างผล ความยาวผล ความหนาผล ความหนาเนื้อ น้ำหนักเนื้อ/ผลและความหวาน (TSS) มากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ผลผลิตเฉลี่ยแปลงทดสอบ 1,460กิโลกรัม/ไร่ มีรายได้สุทธิ 51,100 บาท/ไร่ ในแปลงเกษตรกร 1,370 กิโลกรัม/ไร่ มีรายได้สุทธิ 35,970บาท/ไร่ สามารถลดต้นทุนการผลิตด้านการผลิตลำไยนอกฤดูลงได้18% โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนในแปลงทดสอบ(3.72) สูงกว่าแปลงเกษตรกร(2.57) จึงคุ้มค่ากับการลงทุนมากกว่าคุณภาพผลด้านการวิเคราะห์สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูลำไยตกค้างในผลผลิตลำไยนอกฤดู ปี 2557/2558โดยสุ่มเก็บผลผลิตลำไยวิเคราะห์สารพิษตกค้างในเกษตรกรทั้ง 5 ราย พบว่า ในกรรมวิธีทดสอบพบสารเคมีตกค้าง 2ชนิดคือ คลอร์ไพริฟอสใน 3ราย(เฉลี่ย 0.09) และสารเคมีไซเปอร์เมทรินใน 3 ราย (เฉลี่ย 0.12) ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรพบสารเคมีตกค้าง 4 ชนิด คือ คลอร์ไพริฟอส 4 ราย (เฉลี่ย 0.02) ไซเปอร์เมทริน 4 ราย(เฉลี่ย 0.31) แอล-ไซฮาโลทริน 1 ราย(เฉลี่ย 0.05) และคาร์บาริล 1 ราย(เฉลี่ย 1.31) ค่าที่พบทุกรายยังต่ำกว่าค่ามาตรฐานMRL(Thai)ยกเว้นคาร์บาริลที่ไม่ระบุค่ามาตรฐานจากผลการวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในแปลงทดสอบอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยแต่ในแปลงเกษตรกรยังมีความเสี่ยงจากการพบสารเคมีคาร์บาริลตกค้างในผลผลิตซึ่งยังไม่มีค่ามาตรฐานMRL(Thai)เห็นได้ว่าผลผลิตในแปลงทดสอบมีความเสี่ยงในการปนเปื้อนสารพิษตกค้างน้อยกว่าแปลงเกษตรกร เนื่องจากมีการใช้สารเคมีตามคำแนะนำ
บทคัดย่อ (EN): Technology testing on off-season longan production in the upper north was carried out from 2012-2015. This project was consisted of 2 experiments: 1) suitable technology on off-season longan to induce flowering and fruiting in raining season (Ban Hong District, Lamphun Province)and 2) technology on pest management to resolve pesticide residue problem in off-season longan produce, Chiang Mai (Chomthong District, Chiang Mai Province). The projects objectives were 1) the trial on appropriate technology in flowering and fruiting on off-season longan in rainy season and 2) reduction of chemical residues in longan produce and reduction in cost of production. In the first experiment, it was found that the longan pest outbreak in the recommended plots were similar to those in conventional plots e.g. longan psyllid, leaf rolling, scale insects, mealybugs and longan miteswhich were found in the lower level.The counted numbers of longan pests in recommended plots and conventional plots were non-significantly different. The appropriate technology on flowering and fruiting induction in rainy season for off-season longan were theapplication of foliar fertilizer0-52-34 (120-150g/20 L of waterfor 3 times with 7days interval) before the application of KClO3, as well as the application of 10-52-17 fertilizer (30 g/20 L of water for 3 times with 10 days interval) during the early blooming stage in order to activate longan flowering.KClO3 application to stimulate the flowering was done by scattering KClO3(150 g/1 m bush diameter)along the bushcircumference on the ground. Application of NAA 200 ppm, 15 days after flowering could increase the fruit size. In recommended plots, the higher quality of longan were found in terms of fruit width, fruit length, fruit thickness, flesh thickness, flesh/fruit weight and TSS. The recommended plots had the average yield 1,434 kg/rai and net income 64,063 baht/rai, while the conventional plots had average yield 1,226 kg/rai and net income 48,183 baht/rai. This technology could reduce cost of production 3,280 baht/rai(20%) with the B/C in recommended plots (5) and (3) in conventional plots, so it was better to break even by using the recommended technology.The second experiment was carried out by the comparison on the management e.g. pruning, pesticide application, pest management, and the understanding in pest control with the conventional practices. It was found that longan psyllid outbreak was 52.5% and 29.6% in conventional plots and recommended plots respectively in dry weather of young leaf period. The followings was longan mites which reached the economic threshold, so the chemical control was recommended for the control. The other pests were found in the small numbers e.g. leaf rolling, mealybugs and scale insects. The counted numbers of pests in recommended and conventional plots were non-significantly different. From the chemical residue analysis, the detection was in the safe level in recommended plots, while the chemical risk was found in conventional plots from carbaryl residue in longan produce. However, the MRL (Thai) of carbaryl was not yet prescribed. As the results shown, longan produce in recommended plots exposed to lower risk than those of conventional plots because the application of chemical substances was followed the recommendation. Pest management technology could reduce 40% cost of production. In recommended plots showed higher quality of produce than those of the conventional plots in terms of fruit width, fruit length, fruit thickness, flesh thickness, flesh/fruit weight and TSS. In recommended plots had average yield 1,460 kg/rai and net income 51,100 baht/rai while the conventional plots had average yield 1,370 kg/rai and net income 35,970baht/rai. This technology could reduce 18% production cost in off-season longan production. The B/C ration in recommended was (3.72) higher than those of conventional plots (2.57), so it was better to break even by using the recommended technology.In the chemical residue analysis of fruit quality in off-season longan produce in 2014/2015 by sampling the longan produce from 5 trial plots, it was found that, in recommended plots, two kinds of chemical residues i.e. chlorpyrifos was found in 3 trial plots (average 0.09) and cypermethrin was found in 3 trial plots (average 0.12), while in conventional plots, four kinds of chemical residues i.e. chlorpyrifos was found in 4 trial plots (average 0.02), cypermethrin was found in 4 trial plots (average 0.31), l-cyhalothrin was found in 1 trial plot (average 0.05) and carbaryl was found in 1 trial plot (average 1.31). However, the amount of chemical residue found in this research were lower than MRL (Thai) except carbaryl, which was not prescribed. From the chemical residue analysis in recommended plots showed the safe level but in the conventional plots, there was still the risk in carbaryl residue in longan produce, this because of the application of chemical substances followed the recommendation.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 การใช้เทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรจังหวัดตาก รายงานผลการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดูของฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การถ่ายทอดเทคโนโลยีเหมาะสมสำหรับการผลิตลำไยในเชิงพาณิชย์ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตลำไยนอกฤดู

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก