สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวลักษณะเมล็ดสีม่วงจากพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
สุธัญญา พรหมสมบูรณ์, ประพฤติ พรหมสมบูรณ์, ธีรวัฒน์ ศรุตโยภาส, สุธัญญา พรหมสมบูรณ์, ประพฤติ พรหมสมบูรณ์, ธีรวัฒน์ ศรุตโยภาส - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวลักษณะเมล็ดสีม่วงจากพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
ชื่อเรื่อง (EN): Selection for Purple Grain Rice from Segregating Local Varieties
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ การคัดเลือกพันธุ์ข้าวลักษณะเมล็ดสีม่วงจากพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ศึกษาที่แปลงวิจัยพืชศาสตร์สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก อาเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม 2558 ถึงวันที่ 13 มีนาคม 2559 วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design, RCBD) จานวน 2 ซ้า ซึ่งประกอบด้วยสายพันธุ์ข้าว 15 สายพันธุ์ เป็นสิ่งทดลองได้แก่ สายพันธุ์ BP2012-08 BP2012-10 BP2012-189 BP2012-258 BP2012-279 BP2012-350 BP2012-375 BP2012-412 BP2012-430 BP2012-445 BP2012-489 BP2014-2 BP2014-1 ไรซ์เบอรี่ และข้าวลืมผัว ผลการศึกษาพบว่า สายพันธุ์ BP2012-189 และBP2014-2 ให้ผลผลิตสูงสุดคือ 470.40 และ 464.03 กิโลกรัมต่อไร่ตามลาดับ รองลงมาได้แก่สายพันธุ์BP2014-1 ไรซ์เบอรี่ BP2012-10 BP2012-08 และ BP2012-279 ให้ผลผลิตต่อไร่ เท่ากับ 452.00 448.00 440.00 438.00 และ432.00 กิโลกรัมต่อไร่ตามลาดับ ในขณะที่ BP2012-412 BP2012-430 BP2012-445 และ BP2012-489 ให้ผลผลิตน้อยกว่าพันธุ์ไรซ์เบอรี่ แต่ยังให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวลืมผัว ส่วนพันธุ์ข้าวลืมผัวซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบให้ผลผลิตต่าสุด คือ 134.40 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้นการทดลองครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ามี 2 สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบพันธุ์ไรซ์เบอรี่ คือ BP2012-189 และ BP2014-2 อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ยังพบว่ามีข้าว 4 สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิตกับพันธุ์ไรซ์เบอรี่ คือ BP2014-1 BP2012-08 BP2012-10 และ BP2012-279 ซึ่งควรได้รับการคัดเลือกเพื่อนาไปวิจัยพัฒนาพันธุ์ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The selection of rice varieties with purple seed trait from local varieties was undertaken at the research fields of the Department of Plant Production Technology, Faculty of Agriculture and Natural Resources, Rajamangala University of Technology Tawan-Ok, Sriracha, Chonburi province, during 24 October 2015 to 13 March 2016. The Randomized Complete Block Design (RCBD) with 2 replications was used. The experiment included 15 varieties, namely: BP2012-08, BP2012-10, BP2012-189, BP2012-258, BP2012-279, BP2012-350, BP2012-375, BP2012-412, BP2012-430, BP2012-445, BP2012-489, BP2014-2, BP2014-1, with Riceberry and Kao Luempua as 2 comparative varieties. The results showed that BP2012-189 and BP2014-2 provides greatest yields of 470.40 and 464.03 kg/rai, followed by BP2014-1, Riceberry, BP2012-10, BP2012-08, and BP2012-279 with the yields of 452.00, 448.00, 440.00, 438.00, and 432.00 kg/rai, respectively. The BP2012-412, BP2012-430, BP2012-445, and BP2012-489 yielded lower than Riceberry but higher than Kao Luempua, as comparative varieties, with the lowest yield of 134.40 kg/rai. The finding suggested that the 2 varieties of BP2012-189 and BP2014-2 offered greater yields than that of Riceberry as comparative varieties. However, the yields of 4 varieties, i.e. BP2014-1, BP2012-08, BP2012-10, and BP2012-279 were not found statistically different from that of Riceberry, and should be selected for further research to develop the varieties.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-01
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวลักษณะเมล็ดสีม่วงจากพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
1 กันยายน 2559
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การประเมินความทนร้อนของข้าวพันธุ์รับรองและข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองในระยะกล้าและช่วงเจริญพันธุ์ การประเมินความทนร้อนของข้าวพันธุ์รับรองและข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองในระยะกล้าและช่วงเจริญพันธุ์ คุณภาพเมล็ดและโภชนาการของข้าวพันธุ์ดีและพันธุ์พื้นเมืองภาคใต้ การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการคัดเลือกพันธุ์ข้าว ธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวพันธุ์พื้นเมืองภาคใต้ ปฏิกริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมของลักษณะผลผลิตเมล็ดในข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองสีดำของไทย ความหลากหลายของธาตุเหล็กในข้าวพันธุ์พื้นเมือง ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย ข้าวเหนียวมีสีพันธุ์พื้นเมืองสายพันธุ์ดีเด่นภาคใต้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก