สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเพื่อผลิตสาหร่ายเป็นพลังงานทดแทน
ชลินดา อริยเดช, ชลินดา อริยเดช - มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเพื่อผลิตสาหร่ายเป็นพลังงานทดแทน
ชื่อเรื่อง (EN): The Study of Algae for Alternative Energy
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) การผลิตสารพลังงานทดแทนจากสาหร่าย (ภาษาอังกฤษ) The Study of Algae for Alternative Energy ประจำปี 2553 หน่วยงาน สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้วิจัย ดร.ชลินดา อริยเดช โทรศัพท์ : 081 - 4733748 บทคัดย่อ การศึกษาการผลิตพลังงานทดแทนจากสาหร่ายในรูปของไบโอดีเซล ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยคัดเลือกจากการศึกษาความหลากหลายในพื้นที่ เลือกชนิดที่พบปริมาณมากและเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติเพื่อเพิ่มจำนวนได้ง่าย จำนวน 10 ชนิด คือ 1. Chlorella sp. 2. Acetabularia sp. 3. Padina sp. 4. Sargassum sp. 5. Licmophora falbellata 6. Ulva sp. 7. Microcystis sp 8. Botryococcus sp. 9. Spirulina sp. 10. Spirogyra sp. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์กับปัจจัยภายในกับปริมาณการผลิตไบโอดีเซล จึงวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของสาหร่ายด้วย คือ ความชื้น โปรตีน และไขมัน วิเคราะห์หาปริมาณไบโอดีเซลด้วยวิธี ทรานสเอสเทอร์ฟิเคชัน (เมทิลเอสเทอร์) จากตัวอย่างสาหร่ายแห้ง 100 กรัม มีค่าองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ สาหร่าย Botryococcus เป็นชนิดที่มีไบโอดีเซลสูงสุด คือ ร้อยละ 67.74 ของน้ำหนักแห้ง รองลงมา คือ Padina (66.67), Spirogyra (65.52), Sargassum (61.24), Acetabularia (60.90), Spirulina (58.97), Chorella (50), Microcystis (47.37), Ulva (40) และ Licmophora (20) ตามลำดับ สาหร่ายที่พบปริมาณไขมันสูงที่สุด คือ สาหร่าย Chlorella sp. มีปริมาณไขมันสูงถึงร้อยละ 24.61 และ Spirulina น้อยที่สุด คือ ร้อยละ 0.23 พบว่าสาหร่าย Chlorella sp. มีปริมาณโปรตีนสูงถึงร้อยละ 49.13 และต่ำสุดใน Spirulina (ร้อยละ 6.13) ความชื้นของสาหร่าย Sargassum มีค่าสูงสุดร้อยละ 25.63 มีค่าต่ำสุดในสาหร่าย Padina (ร้อยละ 2.58) จากผลการวิเคราะห์ปริมาณไบโอดีเซลล์ในตัวอย่างที่เลือก พบว่า ปริมาณของไบโอดีเซลไม่ได้สัมพันธ์กับค่าองค์ประกอบทางเคมีอื่น ๆ อย่างชัดเจน และไม่ได้ขึ้นกับขนาดของสาหร่าย โดยสาหร่ายขนาดเล็กสามารถนำมาเพาะได้ง่ายกว่าสาหร่ายขนาดใหญ่ แต่จะมีปัญหาด้านการกรอง เนื่องจากขนาดเล็กมาก ต้องใช้การตกตะกอนด้วยเครื่องหมุนเหวี่ยง ด้านสาหร่ายขนาดใหญ่บางชนิดพบมีปริมาณมากในพื้นที่สุราษฎร์ธานี เช่น สาหร่ายไส้ไก่ (Ulva intestinalis) ในบ่อกุ้ง สาหร่ายร่ม (Acetabularia sp.) และสาหร่ายพัด (Padina sp.) บริเวณชายหาดนางกรำ อำเภอดอนสัก ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการผลิตไบโอดีเซลได้มากไม่ต้องเพาะเลี้ยง บางชนิดพบสีที่ยังคงปรากฏในไบโอดีเซล เช่น Botryococcus และ Spirulina คำสำคัญ สาหร่าย ไบโอดีเซล จังหวัดสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ (EN): The aim of this study was to investigate the variety biodiesel fuel production from algae as renewable energy at Surat Thani Province, between November (2008) to October (2009) from 6 different ecosystem categories of sea shore, peat swamp forest, Island, pond, swamp, reservoir, aquaculture pond and river. Various algae which were found in 19 areas consisted of 7 divisions of 109 species. Only 10 algal of high abundance and easy cultivation were selected to find a synthesis of biodiesel. By the sample as follow; 1. Chlorella sp., 2. Acetabularia sp. 3. Padina sp. 4. Sargassum sp., 5. Licmophora falbellata 6. Ulva sp. 7. Microcystis sp 8. Botryococcus sp. 9. Spirulina sp. and 10. Spirogyra sp. Chemical content eg.moisture, protein, lipid were also analyze for comparison to the biodiesel production. The 100 gram of dry weight was taken to analysis the biodiesel content by Transesterification: method (Methyl ester). Biodiesel proportion was found maximum in Botryococcus, which represent 67.74 % dry weight follow as Padina (66.67), Spirogyra (65.52), Sargassum (61.24), Acetabularia (60.90), Spirulina (58.97), Chorella (50), Microcystis (47.37), Ulva (40) and Licmophora (20) respectively. The highest lipid content was present at Chlorella sp. ( 24.61%) and the fewest in Spirulina ( 0.23%). The protein content was most dominant at Chlorella sp. (49.13%) and the lowest was Spirulina (6.13%). The moisture was representing maximum in Sargassum (25.63%) and minimum in Padina (2.58%). The analysis of biodiesel in the selected samples showed that the amount of biodiesel in each sample was not related to the chemical composition of clearly and not by the size of algae. The microalgae can be cultured more easily than the macroalgae, but it difficult to yield with filtering grew from a small size. Macroalgae were high abundance in this area, such as Ulva intestinalis in shrimp farm, Acetabularia sp. and Padina sp. at Don Sak area, which have numerous for directly to produce biodiesel without cultivation. The biodiesel from Botryococcus and Spirulina have color in the product. Key words: Biodiesel Algae Surat Thani Province
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเพื่อผลิตสาหร่ายเป็นพลังงานทดแทน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
30 กันยายน 2553
การผลิตไบโอไฮโดรเจนพลังงานทดแทนแหล่งใหม่จากจุลสาหร่าย การศึกษาการผลิตพลังงานทดแทนจากการหมักข้าวเปลือก การใช้ประโยชน์จากวัสดุลิกโนเซลลูโลสเพื่อการผลิตพลังงานทดแทน การผลิตไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทน : กระบวนการผลิตทางเคมีและชีวภาพ : การควบคุมคุณภาพ : การใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ การผลิตไบโอดีเซลจากเมล็ดยางพาราเป็นพลังงานทดแทน และการทดสอบสมรรถนะกับเครื่องยนต์ โครงการวิจัยและพัฒนาเตาเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อผลิตพลังงานทดแทน การใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนสำหรับการผลิตไฟฟ้าบนพื้นที่สูง การผลิตเอทธานอลจากเงาะคุณภาพต่ำเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน (แก๊สโซฮอล์) โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศษวัสดุเหลือใช้จากสวนปาล์มน้ำมันในการผลิตพลาสติกและพลังงานทดแทนทางชีวภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก