สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร
เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร
ชื่อเรื่อง (EN): Hybrid catfish and Climbing perch culture in an integrated cage-cum-pond system: economic performance and food safety
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Theprarath Ungsethaphand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองแบ่งออกเป็น 2 การทดลอง เพื่อศึกษาผลของสูตรอาหารที่ต่างกัน และ ความหนาแน่น ในการอนุบาลลูกปลาหมอ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) อัตรารอด และ ต้นทุนค่าอาหาร โดยใช้ลูกปลาขนาดเฉลี่ย 0.95 ? 0.01 ก. อนุบาลในกระชังขนาด 1?3 ตร.ม. แขวนในบ่อดินขนาด 1,000 ตร.ม. ที่มีการใส่ปุ๋ยให้เกิดน้ำเขียว ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ในอัตรา 5% (น้ำหนักตัว/วัน) วัดการเจริญเติบโตของลูกปลาและคุณภาพน้ำทุก 2 สัปดาห์ ตลอดระยะเวลาของการทดลอง 90 วัน ของแต่ละการทดลอง ในการทดลองที่ 1 ปล่อยลูกปลาด้วยความหนาแน่น 100 ตัว/ตร.ม. เลี้ยงด้วยอาหารที่แตกต่างกัน 3 สูตร ได้แก่ ปลาป่น ผสม รำละเอียด (FM) อัตราส่วน 2:1 (38.2% CP), อาหารอนุบาลลูกปลาสำเร็จรูปไฮเกรด (40.4% CP) และ หัวอาหารหมูรวมผง ผสม รำละเอียด (SW) อัตราส่วน 2:1 (32.4% CP) การทดลองที่ 2 อนุบาลลูกปลาด้วยความหนาแน่น 100, 150 และ 200 ตัว/ตร.ม. ใช้อาหารสูตร SW (32.4% CP) เมื่อสิ้นสุดการทดลองที่ 1 น้ำหนักเพิ่ม (MWG), อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (SGR), อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) และอัตรารอด ของลูกปลาไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่ ต้นทุนค่าอาหาร ของอาหารสูตร SW มีค่าต่ำกว่าอาหารสูตรอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การทดลองที่ 2 พบว่าการอนุบาลลูกปลาที่ความหนาแน่น 200 ตัว/ตร.ม. มี MWG และ SGR ต่ำกว่าที่ 100 และ 200 ตัว/ตร.ม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วน FCR และอัตรารอด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในทุกความหนาแน่น อย่างไรก็ตามต้นทุนค่าอาหารมีค่าต่ำสุดเมื่ออนุบาลลูกปลาที่ความหนาแน่นสูงสุด 200 ตัว/ตร.ม. (p<0.05)
บทคัดย่อ (EN): Two experiments were set up to evaluate the effects of diets and stocking density (StD) on growth performance, feed conversion ratio (FCR), survival rate and feed cost per fish of Climbing perch (Anabas testudineus ) fingerlings. All were conducted in Hapa (1.0?3.0 m2) suspended within a fertilized earthen pond (1,000 m2). Fish stocked (individual size of 0.95?0.01 g) were fed twice daily at 5% (bw/day). In the first experiment, fish were stocked at 100 fish/m2, and fed with diets with combinations of fish meal : fine rice bran (FM) at 2:1 (38.2% CP), Hi-grade? commercial nursery feed (HG, 40.4% CP) and commercial finishing swine feed : fine rice bran (SW) at 2:1 (32.4% CP). Water quality and fish growth were monitored biweekly for the period of 90 days. The fish were randomly divided into treatments of 100, 150 and 200 fish/m2, and fed with SW (32.4% CP) for the second experiment. At the end of the first experiment, mean weight gain (MWG), specific growth rate (SGR), FCR and survival were unaffected by treatments (p>0.05). However, feed cost per fish fed SW diet was significantly (p<0.05) lower than other groups. In the second experiment, fish in StD of 200 fish/m2 had significantly (p<0.05) lower MWG and SGR than those at 100 fish/m2 and 150 fish/m2. No differences (p>0.05) in FCR and survival were found among treatments. However, the lowest feed cost per fish was obtained with the highest stocking density of 200 fish/m2.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-54-068.2
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 170,600
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2556/thepparath_ungsethaphand_2555/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิลในบ่อพลาสติกแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลของระดับความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาหมอด้วยชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน การเจริญเติบโตและพันธุกรรมปลาหนังลูกผสมสายพันธุ์ใหม่เพื่อการเพิ่มมูลค่าและสนับสนุนการส่งออก เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย(Clariasmacrocephalus X Clariasgariepinus )ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้และไม่ใช้ปลานิล( Oreochromisniloticus )เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัย การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus) ผลของน้ำมันรำข้าวและใยอาหารจากเปลือกถั่วเหลืองต่อคุณภาพของไส้กรอกปลาดุกบิ๊กอุย ผลของเกลือ (NaCl) ในสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของปลาหมอ (Anabas testudineus Bloch, 1792) ผลของมื้ออาหารที่ให้อาหารด้วยเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ ต่อการอนุบาลปลาดุกอุยในบ่อคอนกรีต การเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงปลาหมอไทยด้วยการเสริมกวาวเครือขาวในสูตรอาหารเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก