สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลาย และการใช้ประโยชน์จากพันธ์ข้าวไร่ของเกษตรกรบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
นริศ ยิ้มแย้ม, สิทธิชัย ลอดแก้ว - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลาย และการใช้ประโยชน์จากพันธ์ข้าวไร่ของเกษตรกรบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Diversity and Utilization of Upland Rice of Highland Farmers in Northern Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนถือได้ว่าเป็นแหล่งความหลากหลายพันธุกรรมของข้าวที่สำคัญของโลก ในขณะเดียวกันข้าวยังถือได้ว่าเป็นพืชหลักที่ใช้เป็นอาหาร เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย และยังเป็นพืชรายได้ที่สำคัญที่ใช้ในการส่งออกอีกด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากสภาพบนพื้นที่สูงมีความความหลากหลายทั้งสภาพของภูมิประเทศและภูมิอากาศ รวมทั้งมีชนเผ่าที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีการปลูกและผลิตข้าวที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวไร่ ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาวิจัยถึงความหลากหลาย และการใช้ประโยชน์จากพันธุ์ข้าวไร่ของเกษตรกรบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยนี้ โดยทำการสำรวจ จากพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวไร่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน และน่าน โดยมีเกษตรกรที่เป็นชนเผ่าจำนวนทั้งสิ้น 13 ชนเผ่า มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความหลากหลาย ของข้าวไร่ของเกษตรกรที่ปลูกในเขตพื้นที่สูง ในภาคเหนือของประเทศไทย รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลทางพันธุกรรมของพืช เพื่อส่งเสริมเป็นเชื้อพันธุ์ที่ปลูกบนพื้นที่สูง สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์ระหว่างชุมชน และการใช้ประโยชน์ของข้าวไร่ สำหรับขอบเขตของวิธีการศึกษาวิจัยโดยการเก็บข้อมูลจากการสำรวจ การสัมภาษณ์เกษตรกรทั้งแบบรายครัวเรือนและแบบกลุ่ม รวมถึงการเก็บตัวอย่างจากในพื้นที่แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ในห้องปฎิบัติการ ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ระบบการปลูกข้าวไร่ของเกษตรกรบนที่สูง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระบบ ตามรอบระยะการหมุนเวียนพื้นที่ ได้แก่ 1) ระบบการปลูกข้าวไร่ที่มีรอบหมุนเวียน 7 ปีขึ้นไป 2) ระบบการปลูกข้าวไร่ที่มีรอบการหมุนเวียน 3-5 ปี และ 3) ระบบการปลูกข้าวไร่ที่มีรอบการปลูกทุก 1-2 ปี ในด้านวิธีการปลูกข้าวไร่ของเกษตรกรทุกชนเผ่าจะทำการปลูกข้าวไร่ในช่วงฤดูฝนเป็นหลัก โดยจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ตามลักษณะความเชื่อ ทั้งในส่วนของการเป็นชนเผ่าที่ต่างกัน ศาสนาที่นับถือที่ต่างกัน การได้รับเทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งระยะทางการคมนาคมขนส่ง สำหรับการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว พบว่าเกษตรกรจะมีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว 4 ลักษณะคือ เกี่ยวรวมทั้งแปลงแล้วคัดรวงอื่นออกจากมัดที่จะนำมาเป็นเมล็ดพันธุ์ เลือกแปลงที่ต้องการนำมาเป็นเมล็ดพันธุ์แล้วคัดรวงอื่นออก เลือกคัดรวงที่จะนำมาเป็นเมล็ดพันธุ์จากในแปลง และเลือกเก็บเป็นเมล็ดพันธุ์จากกองข้าวที่ตีรวมกันแล้วนำไปเก็บไว้ต่างหาก ส่วนวิธีการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวนั้น จะขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละชนเผ่าว่ามีอย่างไร ในด้านความหลากหลายของพันธุ์ข้าวไร่นั้น พบว่ามีชื่อพันธุ์ข้าวไร่ทั้งหมดจำนวน 279 พันธุ์ และเมื่อแยกตามชนิดแป้งจะเป็นข้าวไร่ชนิดข้าวเจ้า 179 พันธุ์ และข้าวไร่ชนิดข้าวเหนียว 100 พันธุ์ โดยชนเผ่าที่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าวไร่มากที่สุดคือ 50 พันธุ์ คือ เกษตรกรเผ่ากะเหรี่ยงสะกอ และรองลงมาได้แก่เกษตรกรเผ่าม้งคือพบทั้งสิ้น 39 พันธุ์ ส่วนเกษตรกรชนเผ่าที่พบความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าวไร่น้อยที่สุดคือเผ่าขมุมีเพียง 4 พันธุ์เท่านั้น และจะสังเกตุได้ว่าเกษตรกรในแต่ละชนเผ่าจะปลูกข้าวไร่ชนิดเจ้าหรือเหนียวขึ้นอยู่กับความต้องการในการบริโภคข้าวของชนเผ่านั้นๆเป็นหลัก เมื่อพิจารณารายละเอียดของพันธุ์ข้าวไร่ก็จะพบลักษณะความหลากหลายของพันธุ์ข้าวไร่ที่แตกต่างกันออกไปมากมาย ทั้งลักษณะภายนอก เช่น ต้น ใบ และเมล็ด รวมทั้งลักษณะองค์ประกอบภายในของเมล็ด เช่นปริมาณโปรตีน ธาตุเหล็ก และธาตุสังกะสี โดยความหลากหลายของพันธุ์ข้าวไร่นี้จะพบความแตกต่างทั้งระหว่างชนเผ่า ภายในชนเผ่าเดียวกัน และพันธุ์ข้าวไร่ที่มีชื่อเดียวกันและปลูกในพื้นที่เดียวกันแต่คนละครัวเรือน ส่วนการนำพันธุ์ข้าวไร่ที่มีความหลากหลายไปใช้ประโยชน์ก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความต้องการของเกษตรกรในแต่ละชนเผ่าและในแต่ละพื้นที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่ต่างกันออกไป ในขณะที่พิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวไร่นั้น เกษตรกรแต่ละชนเผ่าจะมีพิธีกรรมที่ต่างกันออกไป ตามความเชื่อของชนเผ่า และศาสนาที่นับถือ รวมทั้งความเจริญจากการเข้าถึงของเทคโนโลยี และการคมนาคมขนส่ง
บทคัดย่อ (EN): Thailand, especially in the upper areas of the North is named as a world significant source of the rice diversity. Meanwhile, rice is a major food of human being because of various nutrient. Moreover, the export of rice production can create significant income to the nation. However, due to the different topographic conditions of highlands including various ethnic groups, the rice cultivations and productions are different, especially for the upland rice. This study was aiming to investigate on the diversity and utilization of upland rice of highland farmers in northern part of Thailand. The survey was done on 5 northern provinces; Chiangmai, Chiangrai, Maehongson, Lamphun and Nan, with the 13 ethnics groups. The objectives of the study were to find out the diversity of the upland rice in the highland areas of Northern Thailand, and to create a database for upland rice to promote as a seed source for highlands and to support seed exchanging and utilization of upland rice among highlands communities. The study was done by surveying the upland rice areas, interviewing both households and groups of farmers and analyzing the plant samples in the laboratory. The study showed that the upland rice production could be categorized into 3 systems according to the fallowing; 1) the 7 years and more than 7 years fallow 2) the 3-5 years fallow and 3) the 1-2 years fallow. The major planting period of every group would be the rainy season, which might have some different techniques by their beliefs, religions, technology adoption, and transportation distances. There were 4 types of rice seed selection; 1) harvesting the whole plantation then select the deformed ear out of the bundle 2) selecting the seeding plot then discard the deformed plant 3) selecting the seeding ear from the plot and 4) selecting the rice seed from the threshed rice them keep apart. The rice seed exchanging was based on the beliefs of each ethnic group. The diversity of the upland rice from this study showed that there were 279 varieties; with the result from the analyzed composition they could be categorized to be 179 non-glutinous rice varieties and 100 glutinous rice varieties. The Scor-Karen group had the most diversity of upland rice which was 50 varieties, and then the Hmong group had 39 varieties, while the Kamu group had only 4 varieties. The planting varieties of each group were based on the consumption demands of the specific group. The diversity of upland rice varieties could be categorized by its phenotype; stem, leave, seed and its seed composition; protein, Fe, Zn, etc. The difference on the rice diversity might vary among different ethnic groups, or in their own groups. The result also showed that there was some upland rice which had the same naming and planted in the same area by different household also varied. The utilization of upland rice was based on the farmers’ demand of each ethnic group and also each area which had different geographical and climatic conditions. Various ceremonies concerning on rice planting would be varied by different ethnic groups which had different beliefs, religions, technology accessibility and transportation.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลาย และการใช้ประโยชน์จากพันธ์ข้าวไร่ของเกษตรกรบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
30 กันยายน 2555
วันปลูกที่เหมาะสมของข้าวไร่ แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การรวบรวมประเมินและคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไร่ให้เหมาะสมต่อพื้นที่เพาะปลูกในเขตนาน้ำฝน และประสบภัยแล้งของภาคตะวันตก ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย (ปีที่ 3) โครงการวิจัยศึกษาระบบการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวญี่ปุ่นของเกษตรกรในภาคเหนือตอนบน ศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวไร่ในสภาพเกษตรบนพื้นที่สูง จังหวัดน่าน โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูงเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ปุ๋ยเพื่อการปลูก ข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย การศึกษาสายพันธุ์องุ่นที่เหมาะสมสำหรับการทำไวน์ในพื้นที่เขตร้อนทางภาคเหนือของประเทศไทยและความหลากหลายของยีสต์ที่พบในสภาพแวดล้อมการปลูกองุ่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก