สืบค้นงานวิจัย
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทย
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมและส่งเสริมสินค้าเกษตร ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภคป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดแก่เกษตรกรหรือกิจการการค้าสินค้าเกษตร หรือเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศหน่วยงานกลางของประเทศไทยที่มาทำหน้าที่นี้คือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นหน่วยงานมีฐานะเทียบเท่ากรมภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2545ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน การเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการค้าเชิงเทคนิค เพื่อปรับปรุงและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรของไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ตลอดจนกำหนดท่าทีของประเทศด้านมาตรฐานและการเจรจาด้านเทคนิคและสุขอนามัยสินค้าเกษตรและอาหารทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี ตลอดจน เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานกับองค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ ความตกลงด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชภายใต้องค์การการค้าโลก กำกับ ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมให้มีการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 และ 2556 ซึ่งมาตรฐานที่ มกอช. กำหนด จะเป็นการร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งยังได้ประสาน ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกอื่นๆ ทั้งจากรัฐและภาคเอกชน โดยอยู่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์ อาศัยหลักการประเมินความเสี่ยง มีความโปร่งใส และรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปฏิบัติได้ รวมทั้งมีความสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ โดยมาตรฐานที่จัดทำขึ้นรวมแล้วกว่า 202 มาตรฐาน จำแนกได้เป็น 3 ประเภทตามลักษณะรูปแบบของมาตรฐาน ดังนี้ 1) มาตรฐานสินค้า จำนวน 79 มาตรฐาน เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นเกณฑ์ระดับประเทศ ในการผลิต การค้าและการตรวจสอบรับรองสินค้า โดยข้อกำหนดครอบคลุมทั้งทางด้านความปลอดภัยอาหารที่จำเป็นสำหรับผู้บริโภคต้องการ มาตรฐานสินค้าที่เป็นผลผลิตเกษตร เช่น ข้าวหอมมะลิ ทุเรียน หน่อไม้ฝรั่ง กล้วยไม้ เนื้อโค ปลานิล เป็นต้น และมาตรฐานสินค้าแปรรูป เช่น กะทิ ซูริมิ เป็นต้น 2) มาตรฐานระบบการผลิตจำนวน 91 มาตรฐาน เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบรับรอง การปฏิบัติของผู้ผลิต ตั้งแต่ฟาร์ม (มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ระดับโรงคัดบรรจุ และโรงงานอุตสาหกรรม โรงฆ่าสัตว์ โรงสีข้าว (มาตรฐานการปฏิบัติทางการผลิตที่ดี (GMP หรือมาตรฐานการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี GHP นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการผลิตโดยผู้ผลิตที่เกี่ยวข้อง เช่น เกษตรกร ผู้รวบรวมสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้สินค้าเกษตรและอาหารที่ปลอดภัย 3) มาตรฐานข้อกำหนดทั่วไป จำนวน 32 มาตรฐาน เป็นมาตรฐานที่เป็นเกณฑ์เฉพาะด้านที่เกี่ยวกับความปลอดภัย รวมถึงด้านสุขอนามัยสัตว์และพืช ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้กับสินค้าเกษตรและอาหารหลายชนิด เช่น มาตรฐานสารพิษ มาตรฐานการขันสูตรโรคจุดขาวในกุ้ง เป็นต้น ในขั้นตอนการจัดทำร่างมาตรฐาน จะมีการศึกษาข้อมูลต่างๆ เช่น การทำการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดเกณฑ์การจัดทำ GAP การศึกษาเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงเพื่อกำหนดด้านมาตรฐานด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยพืชและส่วนหนึ่งจะเป็นข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานที่ได้มีผลงานการศึกษาวิจัย เช่น กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร ฯลฯ เพื่อรองรับการกำหนดมาตรฐาน รวมทั้งจัดให้มีการสัมมนาเพื่อขอความเห็นจากผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย เช่น เกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก นักวิซาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น เพื่อให้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่ายมากที่สุด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=021.pdf&id=1062&keeptrack=9
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาสถานภาพเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทย โครงการวิจัยและพัฒนาการทำไร่พริกแบบเกษตรธรรมชาติ ตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (GAP) บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลตอบแทนจากการลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร ของภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย รูปแบบทางเลือกของการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย การประเมินผลกระทบและการติดตามการปนเปื้ออนของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารที่มากับการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ทางการเกษตรเพื่อการควบคุมคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยทางอาหารของเกษตรอินทรีย์ ค่าความชุกของการติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเซอร์คาเรียในหอยน้ำจืดจากพื้นที่ทำการเกษตรจังหวัดสระบุรีของประเทศไทย การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนของราคาสินค้าเกษตรล่วงหน้า และ ความสัมพันธ์ของราคาในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย โครงการจัดการนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน การวิเคราะห์นโยบายการค้าระหว่างประเทศและศักยภาพการแข่งขันของบริษัทไทยในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูประหว่างประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน พฤติกรรมราคา ความเสี่ยง และการพยากรณ์ราคาสินค้าเกษตรล่วงหน้าของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก