สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการผลิตขมิ้นชันที่มีคุณภาพ
สุภาภรณ์ สาชาติ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการผลิตขมิ้นชันที่มีคุณภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Production Technology of Curcuma Curcuma longa L.) for Quality.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภาภรณ์ สาชาติ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยการผลิตขมิ้นชันที่มีคุณภาพ ดำเนินการโครงการวิจัยที่ศูนย์วิจัยในส่วนภูมิภาค หน่วยงานส่วนกลางและสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ถึงเดือนกันยายน 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขมิ้นชันให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านเขตกรรม อารักขาพืช การเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้วัตถุดิบขมิ้นชันที่มีคุณภาพมาตรฐาน จึงได้ทำการศึกษาการผลิตหัวพันธุ์ขมิ้นชันปลอดโรคที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และการเปรียบเทียบการใช้แง่งกับหัวแม่ปลูกเพื่อการค้าที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรังและศวพ.แพร่ เพื่อแก้ปัญหาหัวแม่มีน้อย ราคาแพง และการใช้หัวพันธุ์ที่ติดโรคไปปลูก สำหรับด้านเขตกรรม การจัดการปุ๋ยกับขมิ้นชันได้ศึกษาอิทธิพลของธาตุอาหารหลักและชนิดของปุ๋ยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตและสารสำคัญในผลผลิต รวมถึงได้นำผลงานวิจัยขมิ้นชันที่ได้วิจัยของกรมวิชาการเกษตร รวมเป็นชุดเทคโนโลยีการผลิตขมิ้นชันเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกรในแหล่งปลูกภาคตะวันออก ภาคใต้และภาคเหนือ โดยปลูกเปรียบเทียบในศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ในด้านอารักขาพืชปัญหาสำคัญสำหรับขมิ้นชัน คือ โรคเหี่ยวซึ่งเป็นโรคสำคัญทางเศรษฐกิจที่พบในพืชหัวสมุนไพร ได้ศึกษาหาวิธีการควบคุมโรคเหี่ยวโดยใช้สารธรรมชาติร่วมกับการจัดการดิน และการใช้ปุ๋ยพืชสดจากพืชตระกูลกะหล่ำ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีและศวพ.เลย ซึ่งเป็นแหล่งปลูกสำคัญและมีปัญหาการเกิดโรคเหี่ยวกับขมิ้นชัน และสุดท้ายคือการศึกษาวิจัยอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมในการผลิตวัตถุดิบ กรรมวิธีหลังการเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาขมิ้นชันในการแปรรูปเบื้องต้นเพื่อเป็นวัตถุดิบแห้งที่มีคุณภาพสำหรับกระบวนการต่อไป และได้ศึกษาระบบการผลิตขมิ้นชันให้ปลอดสารพิษตกค้างเพื่อการควบคุมคุณภาพผลผลิตขมิ้นชัน ผลผลิตของโครงการนี้ คือ เทคโนโลยีการขยายพันธุ์และการใช้ท่อนพันธุ์ 1. ได้วิธีการผลิตหัวพันธุ์ขมิ้นชันเชิงพาณิชย์ 2 ระบบ คือ ระบบที่ 1. การผลิตหัวพันธุ์รุ่น G1 โดยใช้หัวพันธุ์รุ่น G0 ที่เก็บเกี่ยวที่อายุ 8 เดือน ใช้เวลาในการผลิตทั้งหมด 22 เดือน และระบบที่ 2. การผลิตหัวพันธุ์รุ่น G1 โดยใช้ต้นพันธุ์รุ่น G0 ที่อนุบาลไว้ 3 เดือน ใช้เวลาในการผลิตทั้งหมด 13 เดือน ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปขยายผลต่อในการผลิตพันธุ์ดี/พันธุ์แนะนำขมิ้นชันของกรมวิชาการเกษตร 2. การปลูกโดยใช้หัวแม่พันธุ์ 1 หัวต่อหลุมปลูก ให้ผลผลิต 2,562 กิโลกรัมต่อไร่ และให้ผลตอบแทนหรือกำไรสุทธิ 14,919 บาทต่อไร่ (ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง) และการปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์ที่เป็นแง่ง 4 แง่งต่อหลุมปลูก ให้ผลผลิต 1,807 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลตอบแทนหรือกำไรสุทธิมากที่สุด คือ 7,527 บาทต่อไร่ สำหรับเทคโนโลยีด้านเขตกรรม การจัดการด้านปุ๋ยขึ้นกันพื้นที่ปลูก ศูนย์วิจัยพืชสวนตรังแนะนำให้ใส่ปุ๋ย N:P:K 1:5:3 ให้ผลผลิตหัวสดมากที่สุด คือ 4606.69 กิโลกรัมต่อไร่ ศวพ.แพร่ แนะนำเกษตรกรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปริมาณสารสำคัญสูงและลดต้นทุนการผลิต และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีแนะนำให้ใส่ปุ๋ย N อัตรา 4.8 กรัมต่อต้น และ K อัตรา 4.8 กรัมต่อต้น ให้ผลผลิตต่อไร่สูงสุด 1,760 กิโลกรัมต่อไร่ การศึกษาและเปรียบเทียบชุดเทคโนโลยีการผลิตขมิ้นชันเบื้องต้น ของกรมวิชาการเกษตร กับวิธีการปฏิบัติของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออก ก่อนนำไปทดสอบกับแปลงเกษตรกร เพื่อให้ได้ชุดเทคโนโลยีการผลิตขมิ้นชันตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม ดำเนินการทดลองปลูกขมิ้นชันในแปลงของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี พบว่า แปลงที่ใช้ชุดเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ขมิ้นชันพันธุ์สุราษฎร์ธานีมีการเจริญเติบโตเฉลี่ยด้านความสูง และจำนวนต้นต่อกอ แตกต่างกับวิธีการของเกษตรกร ได้ผลผลิตเฉลี่ย 5.59 ตันต่อไร่ มีปริมาณสารสำคัญ Curcuminoids 9.1 % น้ำมันหอมระเหย 7 % ซึ่งในแปลงที่ปฏิบัติตามวิธีของเกษตรกร มีผลผลิตเฉลี่ย 3.64 ตันต่อไร่ มีปริมาณสารสำคัญ Curcuminoids 6.8 % น้ำมันหอมระเหย 7 % ด้านการจัดการโรคพืช ผลของการใช้สารธรรมชาติในการควบคุมโรคเหี่ยวของขมิ้นชัน พบว่า การใช้สารธรรมชาติในการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวหรือโรคหัวเน่าของขมิ้นชัน ที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด คือ การไถดินร่วมกับใส่ปุ๋ยยูเรีย โดโลไมท์ อัตราส่วน 80:800 กิโลกรัมต่อไร่ ปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1 ตันต่อไร่ ปีละ 1 ครั้งก่อนปลูก 3 สัปดาห์ น้ำหมักชีวภาพสูตรหอยเชอรี่ อัตรา 60 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรทุก 1 เดือน สารไคโตซาน อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรต่อ 1 เดือน และใส่ยิบซั่ม อัตรา 0.5 % ตารางเมตรละ 1 ลิตร 1 ครั้งต่อปี จะทำให้ขมิ้นชันมีการเจริญเติบโต และผลผลิตสูงสุด รวมทั้งมีการเกิดโรคหัวเน่าต่ำสุด ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถนำไปใช้แนะนำให้เกษตรกรผลิตหัวพันธุ์ในแปลงขยายพันธุ์ เพื่อกระจายพันธุ์ดีและสะอาด สำหรับการควบคุมโรคเหี่ยวโดยใช้ปุ๋ยพืชสดจากพืชตระกูลกะหล่ำ โดยทำการไถดินทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ จนออกดอก 50% ทำการไถกลบ ประมาณ 1 สัปดาห์ ปลูกขมิ้นชัน หลังปลูก 4 เดือน พบว่า ขมิ้นชันมีการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2.5 ตันต่อไร่ และพบการเกิดโรคเหี่ยว 0.14 % ในด้านเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว พบว่า ควรเก็บเกี่ยวที่อายุ 12 เดือน และนำหัวขมิ้นต้มในน้ำเดือด 30 นาที หั่นเป็นชิ้นบางๆ นำไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส วัตถุดิบมขมิ้นที่ได้เมื่อนำมาบดเป็นผงแล้ว คุณภาพในด้านปริมาณสาร curcuminoids (7%) และปริมาณน้ำมันหอมระเหย (9%) ยังเป็นไปตามมาตรฐานสมุนไพรไทย ส่วนการศึกษาวิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบขมิ้นชันแห้งที่มีคุณภาพ โดยการคงคุณภาพขมิ้นชันสดโดยการเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 2-8, 15-20 และ 25-30 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ สี ความหนืด ความชื้นและการสูญเสียน้ำหนักของขมิ้นชัน ค่าความชื้นของขมิ้นชันในแต่ละเดือนที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิต่างๆ พบว่า ในเดือนที่ 1-6 ที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ขมิ้นชันมีค่าน้ำหนักและความชื้นมากที่สุด และที่อุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส จะทำให้สีของขมิ้นชันมีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า การเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง สำหรับการเก็บขมิ้นเพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหย ควรเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำ และระยะเวลาในการเก็บรักษาน้อย เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำมันมาก และการเก็บขมิ้นไว้ในภาชนะที่ปิดทึบแบบถุงพลาสติก (ถุงปุ๋ย) ถุงตาข่าย หรือถุงกระดาษ จะพบอัตราการงอกของเหง้าขมิ้นมากกว่าเก็บไว้ในตะกร้าที่โปร่งมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ส่วนการศึกษาระบบการผลิตขมิ้นชันให้ปลอดสารพิษตกค้าง พบว่า การใส่ปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 2 ตันต่อไร่ก่อนปลูก 3 สัปดาห์ ปีละ 3 ครั้ง น้ำหมักชีวภาพ อัตรา 60 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ไคโตซาน อัตรา 40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรเดือนละ 1 ครั้ง ยิบซั่ม 0.5%ปีละ 1 ครั้ง ทำให้ขมิ้นชันมีการเจริญเติบโตสูง ส่วนการใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ปีละ 1 ครั้ง หลังปลูก 3 เดือน ร่วมกับการใส่ปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 2 ตันต่อไร่ก่อนปลูก 3 สัปดาห์ ปีละ 1 ครั้ง น้ำหมักชีวภาพ อัตรา 60 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ไคโตซาน อัตรา 40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เดือนละ 1 ครั้ง ยิบซั่ม 0.5% ปีละ 1 ครั้ง ให้ผลผลิตขมิ้นชันประมาณ 9.6 ตันต่อไร่
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการผลิตขมิ้นชันที่มีคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
สภาพการผลิตและการตลาดขมิ้นชัน โครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตทุเรียนคุณภาพและการกระจายการผลิต การวิเคราะห์การทำงานของยีนที่ใช้ในการสังเคราะห์สารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชันโดย RNA interference การผลิตและการใช้ประโยชน์จากบอระเพ็ด โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปงาขี้ม้อนที่มีคุณภาพดี การผลิต คุณภาพ และความปลอดภัยของน้าปลาร้าปรุงรส การผลิตและการตลาดน้ำผึ้งในจังหวัดขอนแก่น โครงการวิจัยศึกษาการผลิตปัญจขันธ์ที่มีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูดเชิงพาณิชย์ การประกันคุณภาพการวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก