สืบค้นงานวิจัย
การศึกษามาตรฐานธุรกิจสปาฮาลาลเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน
มาเรียม นะมิ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ชื่อเรื่อง: การศึกษามาตรฐานธุรกิจสปาฮาลาลเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน
ชื่อเรื่อง (EN): Educational standard spa Halal tourism industry to support the liberalization of ASEAN Economic Community
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: มาเรียม นะมิ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ให้บริการธุรกิจสปาฮาลาลเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแปรอิสระ คือ ความพร้อมด้านทรัพยากร ความพร้อมด้านบุคลากร ความพร้อมด้านการบริหารจัดการ ตัวแปรคั่นกลาง ได้แก่ ความตระหนักที่มีต่อคุณภาพการบริการ ความเชื่อตามวัฒนธรรมอิสลาม และตัวแปรตาม ได้แก่ การสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจสปาฮาลาลเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยทำการวิจัยเชิงประจักษ์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการด้านที่พักโรงแรมและสปาในประเทศไทย จำนวน 510 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research were (1) to study the influence of the strengthening of the Halal spa service providers to support the tourism industrys liberalization of the ASEAN Economic Community. (2) to validate the causal model correlations with empirical data. The variables in this investigation consisted of the following were : resource availability; Personnel availability Management; Availability Median variables; include awareness of service quality; Belief in Islamic culture and the variants include the strengthening of the Halal spa industry to support the tourism industrys liberalization of the ASEAN Economic Community. The Researchers used quantitative methods which involved empirical research. The instrument of research was a questionnaire used to collect data from 510 samples of hotel, hotel and spa operators in Thailand. The statistics used in data analysis were frequency, mean, percentage and structural equation model analysis.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษามาตรฐานธุรกิจสปาฮาลาลเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
30 กันยายน 2558
ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว การประยุกต์ใช้งานเว็บบล็อก(webblog) เพื่อการส่งเสริมการตลาดในธุรกิจท่องเที่ยว กรณีศึกษาธุรกิจท่องเที่ยวขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ VTR ยกระดับมาตรฐานท่องเที่ยวไทยสู่มาตรฐานโลก การพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวในอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและ บริการเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย กลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(2โครงการย่อย) การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย กลยุทธ์การจัดการธุรกิจท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านเมืองกื้ด ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนชาวจีนยูนาน (บ้านยาง) ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก