สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของโมลด์ปลาสเตอร์ที่ใช้แล้วเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นตัวดูดซับ
รัชดาภรณ์ ปันทะรส - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของโมลด์ปลาสเตอร์ที่ใช้แล้วเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นตัวดูดซับ
ชื่อเรื่อง (EN): Studying the Chemical and Physical Properties of Used Plaster Mold to Apply for the Adsorbent
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัชดาภรณ์ ปันทะรส
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ratchadaporn Puntharod
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โมลด์ปลาสเตอร์ที่ใช้แล้วหรือแคลเซียมซัลเฟตไดไฮเดรต (สูตรเคมี คือ CaSO4.2H2O) จากอุตสาหกรรมเซรามิกเพิ่มขึ้น จึงใช้โมลด์ปลาสเตอร์ที่ใช้แล้วในการถมที่ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของ ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ จุดประสงค์การวิจัยนี้คือวิเคราะห์หาปริมาณการละลายของธาตุบางชนิด ซึ่ง เป็นองค์ประกอบของโมลด์ปลาสเตอร์ที่ใช้แล้ว ได้แก่ โซเดียม โพแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส และเหล็ก ภายใต้สภาวะกรดและด่าง จุดประสงค์ และติดตามการเป็นไปได้ในการนํา โมลด์ปลาสเตอร์ที่ใช้แล้วนํากลับมาใช้ใหม่เพื่อดูดซับโลหะโครเมียมและตะกัว แต่ละโลหะที่เป็น องค์ประกอบวิเคราะห์ด้วยเครื่องอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ ในสภาวะกรด โลหะที่มีการละลายคือ โพแตสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม แมงกานีสและเหล็ก ในสภาวะด่าง โลหะที่มีการละลายคือ แคลเซียมและแมงกานีส สภาวะที่เหมาะสมที่ใช้ในการดูดซับโครเมียมและ ตะกัวด้วยโมลด์ปลาสเตอร์ ได้แก่ ที่สภาวะไม่มีการปรับ pH ที่เวลา 20 นาที ปริมาณโมลด์ ปลาสเตอร์ที่ใช้แล้ว 2 และ 3 กรัม สําหรับสารละลายโครเมียมและตะกัวที่ความเข้มข้น 10 พีพีเอ็ม ผลการทดลองบอกเป็นนัยได้ว่าโมลด์ปลาสเตอร์ที่ใช้แล้วสามารถใช้เป็นตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพ ที่ใช้ในการกําจัดโลหะโครเมียมและตะกั่วได้
บทคัดย่อ (EN): Used plaster molds or calcium sulfate dihydrate (chemical formula is CaSO4.2H2O) from ceramic industries has been increased. It is used for landfill site that may be cause environmental problem. The objectives of this research are to determine the solubility of some elements as composition of used plasters mold such as sodium, potassium, calcium, magnesium, manganese, and iron under acid and base conditions and to investigate the possibility of reusing waste plaster molds to adsorb chromium and lead. The each elemental composition of the used plaster molds was determined by atomic absorption spectrophotometer. Potassium, magnesium, calcium, manganese, and iron were dissolved in acid conditions. Calcium and manganese were dissolved in base conditions. The optimized conditions to adsorb chromium and lead were control pH for 20 min with 2 and 3 g of used plaster molds for 10 ppm of chromium and lead, respectively. These results suggest that used plaster molds could be employed as an efficient adsorbent to remove chromium and lead.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.2-54-077
ชื่อแหล่งทุน: เงินนอกงบประมาณของหน่วยงานภายใน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 70,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://librae.mju.ac.th/goverment/20111119104834_librae/File20130311115020_22951.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของโมลด์ปลาสเตอร์ที่ใช้แล้วเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นตัวดูดซับ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของวิธีการสกัดต่อคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของแป้งเมล็ดเงาะ การพัฒนาวิธีการสกัดแยกและวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับ การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาวัสดุผสมระหว่างบิสมัทวานาเดตและซิลิกอนไดออกไซด์ ทีมีประสิทธิภาพสูงในการดูดซับและใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง ประเมินศักยภาพการดูดซับแก๊สชีวภาพด้วยถ่านกัมมันต์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การปรับปรุงถ่านจาก กระบวนการไพโรไลซิสเปลือกยางพาราเพื่อใช้ในการดูดซับแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สมบัติทางเคมีกายภาพของสารสกัดจากพริกชี้ฟ้าที่ใช้ตัวทำละลายที่ไม่ใช่น้ำ ผลของคาร์บอนและอัตราการเย็นตัวต่อการเปลี่ยนเฟสและสมบัติทางกลของเหล็กกล้า โครเมียม-โมลิบดินัมที่ผ่านการซินเตอร์ อนุภาคแม่เหล็กดูดซับระดับนาโนที่มีความเป็นประจุลบสูงชนิดใหม่และการนำมาใช้สำหรับการดูดจับแอนติบอดี ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว การควบคุมโรคข้าวโดยใช้สารเคมี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก