สืบค้นงานวิจัย
การป้องกันกำจัดโรครากำมะหยี่ของมะเขือเทศ
จุมพล สาระนาค - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การป้องกันกำจัดโรครากำมะหยี่ของมะเขือเทศ
ชื่อเรื่อง (EN): Control of Tomato Leaf Mold
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จุมพล สาระนาค
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Joompol Saranark
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิธีป้องกันกำจัดโรครากำมะหยี่ของมะเขือเทศ ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Cladosporium fulvum (Cooke) เริ่มมาตั้งแต่ปี 2524 จนถึงปี 2526 โดยศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดโรคโดยใช้สารเคมี 8 ชนิด ศึกษาปฏิกิริยาของมะเขือเทศ จำนวน 30 พันธุ์ ที่มีต่อเชื้อโรค และศึกษาวิธีการเขตกรรมบางวิธี ที่สามารถลดการเข้าทำลายของเชื้อหรือการระบาดของโรค การศึกษากระทำทั้งในห้องปฏิบัติการและในสภาพแปลงทดลอง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารเคมีประเภท mancozeb สามารถยับยั้งการงอกของสปอร์และการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุได้ โดยพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตั้งแต่ระยะย้ายกล้าจนกระทั่งมะเขือเทศอายุประมาณ 75-90 วัน พันธุ์มะเขือเทศที่ทดสอบปฏิกิริยาส่วนใหญ่อ่อนแอต่อโรค ยกเว้นพันธุ์ Vagabond และ Oju ที่มีปฏิกิริยาต้านทานต่อโรคนี้ การทำค้างให้มะเขือเทศและการตัดแต่งใบสามารถลดการเกิดโรคลงได้ 15% วิธีการป้องกันกำจัดโรคแต่ละวิธีนี้ ถ้านำมาใช้ปฏิบัติร่วมกันแบบผสมผสานจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคและประหยัดค่าใช้จ่าย
บทคัดย่อ (EN): A study of control measures for the tomato leaf mold caused by the fungus Cladosporium fullvum (Cooke) was conducted during the period 1981 to 1983. Under laboratory conditions eight fungicides were evaluated for their ability to inhibit the germination of fungal spores. Under field conditions the efficacy and most effective spraying schedule of the fungicides was tested. The relationship of cultural practices to the severity of the disease and the susceptibility of 30 tomato varieties to the disease, were also studied. The fungicide mancozeb was able to inhibit spore germination, and when sprayed at seven dayintervals from transplanting until the crop was 75-90 days old, it was also able to prevent infection by the causal agent. Under glasshouse conditions only two tomato varieties, Vagabond and Oju, showed resistance to the disease. Pruning and construction of supports for the tomato plants were able to reduce the incidence of the disease. An effective and integrated control programme for the disease can be developed based on these results.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2527
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2527
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การป้องกันกำจัดโรครากำมะหยี่ของมะเขือเทศ
กรมวิชาการเกษตร
2527
เอกสารแนบ 1
พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในการผลิตมะเขือเทศของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากส่วนต่าง ๆ ของมะเขือเทศ การปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศให้ต้านทานโรคเหี่ยวเขียวและโรครากปมเพื่อใช้เป็นต้นตอในการผลิตเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ระยะที่ 2 โครงการย่อย 10:การปรับปรุงเทคนิคการสกัดสารทุติยภูมิจากเชื้อแอคติโนมัยซีสเอนโดไฟท์เพื่อควบคุมโรคใบจุดกะหล่ำปลี โรคใบไหม้มะเขือเทศ และการคัดเลือกเชื้อราปรสิตโรคราแป้งมะเขือเทศบนพื้นที่สูง การใช้ “ กากมะเขือเทศ ” เป็นอาหารสัตว์ ทดสอบการปลูกมะเขือเทศเป็นพืชแซม ความเป็นไปได้ในการใช้กากมะเขือเทศเป็นอาหารสัตว์3)การใช้กากมะเขือเทศแห้งเป็นอาหารหยาบเลี้ยงโค ความเป็นไปได้ในการใช้กากมะเขือเทศเป็นอาหารสัตว์ (7) ผลของการใช้กากมะเขือเทศแห้งระดับต่างๆในสูตรอาหารสำหรับไก่พื้นเมืองลูกผสมระยะรุ่น การปรับปรุงมะเขือเทศผลเล็กรับประทานสดในฤดูฝน ความเป็นไปได้ในการใช้กากมะเขือเทศเป็นอาหารสัตว์ 4.การใช้กากมะเขือเทศเป็นอาหารหยาบหลักเลี้ยงโครีดนมในฤดูแล้ง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก