สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิทั่วไปและข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่มีขนาดพื้นที่เพาะปลูกแตกต่างกัน
อรวรรณ ศรีโสมพันธ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิทั่วไปและข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่มีขนาดพื้นที่เพาะปลูกแตกต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Production Efficiency and Household Income of Conventional and Organic Jasmine Rice Farmers with Differential Farm Size
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรวรรณ ศรีโสมพันธ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Orawan Srisompun
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอม มะลิอินทรีย์และข้าวหอมมะลิทั่วไปที่มีขนาดพื้นที่เพาะปลูกแตกต่างกันใช้ข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำนวน 318 รายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบจำลองขอบเขตเชิงเฟ้นสุ่มในการประมาณค่าประสิทธิภาพ เชิงเทคนิคผลการศึกษาพบว่าการผลิตข้าวหอมมะลิมีระดับประสิทธิภาพเฉลี่ย 58.12% โดยเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอม มะลิอินทรีย์และข้าวหอมมะลิทั่วไปมีประสิทธิภาพการผลิตใกล้เคียงกัน (58.67 และ 57.84%) ซึ่งแม้ว่าต้นทุนเฉลี่ยของ การผลิตข้าวอินทรีย์จะสูงกว่าข้าวทั่วไปแต่เกษตรกรกลุ่มนี้สามารถขายข้าวได้ในราคาสูงกว่าจึงมีกำไรมากกว่า ในขณะ ที่ระดับประสิทธิภาพเชิงเทคนิคแตกต่างกันตามขนาดพื้นที่เพาะปลูก กลุ่มเกษตรกรรายเล็กมีระดับประสิทธิภาพเชิง เทคนิคต่ำที่สุด เท่ากับ 41.14%โดยต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรกลุ่มที่มีพื้นที่ขนาดเล็กต่ำกว่าเกษตรกร ขนาดกลางและขนาดใหญ่ แต่มีผลผลิตต่อไร่และกำไรเหนือต้นทุนเงินสดสูงที่สุด ดังนั้นเกษตรกรรายเล็กสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตภายใต้เทคโนโลยีที่มีอยู่ปัจจุบันได้มากที่สุดและการผลิตข้าวอินทรีย์ยังสร้างกำไรจากการผลิต ให้กับเกษตรกรกลุ่มนี้สูงที่สุดเช่นกัน การส่งเสริมระบบการผลิตข้าวอินทรีย์จึงควรจะให้ความสำคัญกับกลุ่มเกษตรกร รายย่อยที่มีพื้นที่เพาะปลูกไม่เกิน 10 ไร่
บทคัดย่อ (EN): This study analyzed the production efficiency and income of farmers who grow organic and conventional rice in different farm sizes. The technical efficiency level of rice production was estimated using the stochastic frontier production function; the study sample included 318 jasmine rice farmers in northeast Thailand. The result revealed that the technical efficiency score of jasmine rice production was 58.12%; the technical efficiency scores of the organic and conventional farmers were comparable (58.67 and 57.84%, respectively). Although the production cost of organic rice was higher than that of conventional rice, this group of farmers was able to sell their product at a relatively high price; therefore, they earned relatively high profits. The level of technical efficiency varied according to farm size; smallholder farms used for conventional farming exhibited the lowest technical efficiency score, 41.14%. However, small-sized farms that were used for organic farming had lower production cost than medium- and large-sized farms, but they obtained the highest average yield and profit over cash cost. Therefore, smallholder farmers can increase their maximum production efficiency by using currently available technology and produce organic rice to earn maximum profits. Systems promoting organic rice production should target groups of smallholder farmers with farm sizes of ≤10 Rai
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=51_Eco01.pdf&id=3523&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิทั่วไปและข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่มีขนาดพื้นที่เพาะปลูกแตกต่างกัน
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิ ศักยภาพทางเศรษฐกิจการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานี การจัดการเพื่อรักษาคุณภาพและความหอมของข้าวหอมมะลิในห่วงโซ่การผลิต (ปีที่ 2) สถานะของกำมะถันในดินที่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิและผลของปุ๋ยกำมะถันที่มีต่อข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผลผลิตของข้าวหอมมะลิที่ปลูกบนดินภายใต้อิทธิพลของเกลือในทุ่งกุลาร้องไห้ การศึกษากรรมวิธีการผลิตข้าวหอมมะลิแดงแบบหุงสุกเร็ว การพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายเพื่อใช้ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าวในกลุ่มข้าวหอมมะลิของไทย การพัฒนาต้นแบบการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีการจัดการเพื่อเพิ่มคุณภาพความหอมตลอดห่วงโซ่การผลิต ความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติของเกษตรกรในการผลิตข้าวหอมมะลิที่มีการปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสมจังหวัดมหาสารคาม ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพครบวงจรของสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก