สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกเบื้องต้นพันธุ์ถั่วเหลืองสำหรับผลิตถั่วงอก
สมชาย ผะอบเหล็ก - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกเบื้องต้นพันธุ์ถั่วเหลืองสำหรับผลิตถั่วงอก
ชื่อเรื่อง (EN): Primary Selection of Soybean Varieties for Sprout Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมชาย ผะอบเหล็ก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somchai Pa-oblek
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: มก คัดเลือกพันธุ์ถั่วเหลืองที่เหมาะสมสำหรับผลิตถั่วงอก ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ ระหว่างกรกฎาคม พ.ศ. 2547 - มีนาคม พ.ศ. 2548 กับถั่วเหลืองจำนวน 20 พันธุ์ ผลการทดลองพบว่า ถั่วเหลืองให้ผลผลิตเมล็ดระหว่าง 165-371 กก./ไร่ ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ 72-325 กก./ไร่ เพาะถั่วงอกโดยใช้เครื่องเพาะถั่วงอกอนามัยอัตโนมัติขนาดครอบครัว หลังปรับปรุงสภาพและหลังเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในภาพอุณหภูมิห้องทุกเดือนเป็นเวลา 3 เดือน ใช้เมล็ดพันธุ์ครั้งละ 250 ก. เวลาเพาะ 3 วัน (65-72 ชม.) พบว่า ถั่วเหลือง 10 พันธุ์ ให้ผลผลิตถั่วงอกระดับสูงสุดเฉลี่ยจากการเพาะ 4 ครั้ง คือ สจ. 1 สจ. 2 สจ. 4 สจ. 5 สุโขทัย 1 เชียงใหม่ 2 จักรพันธุ์ 1 มข. 35 ราชมงคล 1 และขอนแก่นให้ผลผลิตถั่วงอกคุณภาพดีเฉลี่ย 555-738 ก./ครั้ง ดัชนีผลผลิต 2.22-2.95 ถั่วงอกมีน้ำหนักเฉลี่ย 56.7 ก./100 ตัน ความยาวทั้งต้น 9.24 ซม. ลำต้นยาว 5.02 ซม. ความยาวทั้งต้น 9.24 ซม. ลำต้นยาว 5.02 ซม. ความยาวทั้งต้น 9.24 ซม. ยังไม่มีรากแขนง และเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 1.56 มม. พันธุ์ถั่วเหลืองที่คัดเลือกได้นี้มีขนาดเมล็ดค่อนข้างเล็กระหว่าง 10.3-13.7 ก./100 เมล็ด ยกเว้นพันธุ์เชียงใหม่ 2 มีขนาดปานกลาง 16.3 ก./100 เมล็ด และมีความงอกเฉลี่ยตลอดการทดลองสูงระหว่าง 82-93% คุณค่าทางโภชนาการเฉลี่ยของถั่วงอกจากถั่วเหลือง 5 พันธุ์ คือ สจ. 4 สจ. 5 สุโขทัย 1 เชียงใหม่ 2 และ ราชมงคล 1 มีความชื้น 82.2% ประกอบด้วย โปรตรีน 9.14% ไขมัน 3.80% คาร์โบไฮเดรต 4.11% เยื่อไย 0.733% แคลเซียม 34.1 มก./ก. เหล็ก 1.69 มก./100 ก. จะนำถั่วเหลือง 10 พันธุ์นี้ไปประเมินผลผลิตถั่วงอกทั้งในฤดูแล้งและฝน และขยายเวลาเพาะถั่วงอกเป็น 8 ครั้ง
บทคัดย่อ (EN): The experiment was conducted in order to select appropriate soybean (Glycine max (L) Merrill) varieties for sprout production. Twenty soybean varieties were studied in rainy season at Chiang Mai Field Crops Research Centre during July and November 2004. The results showed that grain yield and seed yield of all vrieties were 165-371 and 72-325 kg/rai, respectively. After processing and storing at room temperature for three months during December 2004-March 2005, 250 g of soybean seeds of each varieties were sprouted by automatic sprouting machine for three days (65-72 hours.) The data of soybean sprout were averaged from four times of sprouting. There were ten varieties namely SJ 1, SJ 2, SJ 4, SJ 5, Sukhothai 1, Chiang Mai 2, Chakkrabhandhu No1, KKU 35, Rajamagala 1 and Khon Kean, showed high sprout yield and sprout index. The average fresh weight was 49.2 g/100 sprouts and the average sprout length was 9.24 cm (hypocotyl length 5.02 cm, root length 4.22 cm) with no lateral root. The average sprout diameter was 1.56 mm. The selected soybean varieties were small seed size and high seed germination. The average chemical compositions fo five varieties (SJ 4, SJ 5, Sukhothai 1, Chiang Mai 2 and Rejamagala 1) were 82.2% moisture content, 9.14% protein, 3.80 oil% 4.11 % carbohydrate, 0.73 % fiber, 34.1 mg/100g Ca and 1.69 mg/100g Fe. These ten selected varieties will be further studied for sprout yield after longer storage period.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกเบื้องต้นพันธุ์ถั่วเหลืองสำหรับผลิตถั่วงอก
กรมวิชาการเกษตร
2550
เอกสารแนบ 1
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง การประดิษฐ์กระดานนับ 100 เมล็ดสำหรับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวและสำหรับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลือง การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองโดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองและถั่วเขียว การทดสอบพันธุ์ถั่วเหลืองผิวดำในไร่เกษตรกร ผลของลักษณะทางกายภาพที่มีต่อการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์/สายพันธ์ต่าง ๆ โครงการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้นและโปรตีนสูง การจัดการโรคและแมลงเพื่อผลิตถั่วเหลืองและถั่วเหลืองฝักสดอย่างปลอดภัย ถั่วเหลือง : อาหารธรรมดาแต่คุณค่ามหาศาล

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก