สืบค้นงานวิจัย
การประยุกต์ใช้ก๊าซชีวภาพร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเครื่องอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร
กระวี ตรีอำนรรค, เกรียงไกร แซมสีม่วง, เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์, กระวี ตรีอำนรรค, เกรียงไกร แซมสีม่วง, เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้ก๊าซชีวภาพร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเครื่องอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร
ชื่อเรื่อง (EN): The Application for Drying System Using the Clean Hybridization Energy (Biogas and Solar Energy)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้การตากแดดเพื่อทำแห้งผลผลิตทางการเกษตร เพื่อเป็นการถนอมอาหารหรือเก็บรักษาคุณภาพของผลผลิตการเกษตร ซึ่งมักจะใช้เวลานานและจะไม่สามารถทำได้เมื่อปริมาณแดดมีจำนวนน้อย หรือช่วงหน้าฝน ทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามต้องการ และยังเกิดการปนเปื้อนฝุ่นละออง และอาจจะเกิดเชื้อราในผลิตภัณฑ์อีกด้วย ฉะนั้นงานวิจัยนี้จึงได้มีการประยุกต์ใช้แก๊สชีวภาพกับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับแก้ปัญหาดังกล่าว โดยระบบจะแบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วนหลัก ก็คือส่วนที่ 1 ชุดรวบรวมแสงอาทิตย์โดยใช้หลักการของโพลาโบลา เป็นการผลิตลมร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อนำไปใช้อบผลผลิตส่วนที่ 2 ชุดผลิตแก๊สชีวภาพ เพื่อนำมาใช้ในกรณีที่ลมร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำหรือใช้ในกรณีที่มีฝน และส่วนที่ 3 ตู้อบให้ผลผลิตมีอุณหภูมิในระดับที่ต้องการหลักการทำงานคือ ตู้อบจะใช้พลังงานหลักจากแสงอาทิตย์โดยคิดเป็น 90% และจะใช้พลังงานความร้อนจากการเผาไหม้ของแก๊สชีวภาพ 10% ในกรณีที่แสงแดดไม่เพียงพอ และจะใช้พลังงานแก๊สชีวภาพ 100% ในกรณีที่ฝนตกตลอดทั้งวันส่วนพลังงานจากแสงอาทิตย์นั้นจะใช้หลักการของพาราโบลาในการรวมแสง โดยที่แผงรับรังสีของความร้อนแบบพาราโบลาสามารถปรับระดับได้ตั้งแต่ 1-50 องศา โดยระบบสามารถผลิตลมร้อนได้ถึง 80 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลาแดดร้อนจัด แต่งานวิจัยนี้จะตั้งอุณหภูมิในการอบที่ 60 องศาเซลเซียส จะมีระบบควบคุมการทำวานอัตโนมัติเพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในตู้อบไม่ให้ต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิภายในตู้อบต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส ระบบควบคุมจะสั่งให้จ่ายแก๊สชีวภาพอัตโนมัติมาเผาท่อนำความร้อนเพื่อเพิ่มอุณหภูมิ แล้วนำลมร้อนที่ได้เข้าสู่ตู้อบจนมีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส และระบบควบคุมก็จะสั่งให้หยุดจ่ายแก๊สชีวภาพอย่างอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิถึงดังกล่าว จากการทดลองเมื่อเปรียบเทียบการอบใบมะกรูดระหว่างการใช้ตู้อบที่ประยุกต์ใช้แก๊สชีวภาพกับพลังงานแสงอาทิตย์กับการตากแดด ผลที่ได้คือ การอบแห้งใบมะกรูดโดยใช้ตู้อบสามารถลดความชื้นของใบมะกรูดจาก 61% เหลือเพียง 11% โดยน้ำหนักในเวลาการอบ 5 ชั่วโมง โดย ใบมะกรูดที่นำไปตากแดดนั้นจะไม่สามารถลดความชื้นได้ถึง 11% โดยน้ำหนักภายใน 1 วัน ซึ่งนับว่าเป็นที่น่าพอใจ เป็นการใช้ประโยชน์จากพลังงานตามธรรมชาติอย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถทุ่นพลังงานและเวลาสำหรับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี คำสำคัญ พลังงานแสงอาทิตย์ พาราโบลา แก๊สชีวภาพ ลมร้อน ตู้อบ
บทคัดย่อ (EN): In order to preserve and maintain the quality of agricultural produce, most farmers currently used the solar energy for drying agricultural products. It usually takes a long time and will not be done by time when the lack of sun or on the raining days. Moreover, by using an old fashion such a drying sun, the agricultural products will be contaminated of the dust and this would be reduced the quality of the products. Therefore, this research has been used the application of biogas and solar energy for a dryer to solve such problems. The dryer concept will divide into three main systems; first part is a solar collector for sun solar collection using parabolic technique. The heat produced from solar energy on this system is used to provide a 90 % of heat source for the dryer process. Second system is biogas production. In the case of hot air temperature from first system (solar collector) is not adequate or not available; the heat will be produced for the dryer process using biogas materials. This second system will be worked as a reserve heat source for the dryer process. The last one is a dryer chamber and the temperature controller. To collect the sun radiation, the parabolic panels can be adjusted from 1-50 degrees. The dryer system can produce heat up to 80? C in the greatest sun days. However, this research will set the temperature in the dryer chamber at 60?C to dry of the Kaffir lime leaves. The dryer system is automatically control the temperature inside the dryer, which is remain as no lower than 60? C. If the temperature is below 60?C, The control system is then automatically turned on the biogas parts to raise the temperature up to 60?C. After that the system will be automatically turned off of the biogas part when the temperature reaches the setting point. The experiment results of proposed dryer system are compared to the old fashion of drying sun, the result presented that by using the applied of Biogas and Solar Energy can reduce the moisture content of leaves from 61 % wb (wet basic) to 11% wb within 5 hours, while using drying sun could not meet the moisture content of 11 % wb within a day. The Application for Drying System Using the Clean Hybridization Energy (Biogas and Solar Energy) is presented an effective of used such a natural energy for the drying process. It can reduce of production time and costs for farmers. Keywords: Solar energy, Parabolic, Biogas, Hot air, Dryer
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประยุกต์ใช้ก๊าซชีวภาพร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเครื่องอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
30 กันยายน 2557
เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ความดันต่ำสำหรับผลิตอาหารเพื่อเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การออกแบบและพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์สำหรับอบกล้วย การประหยัดพลังงานในการอบแห้ง ผลิตภัณฑ์เกษตรโดยเครื่องอบแห้งแบบไหลผ่าน : รายงานการวิจัย การศึกษาสมรรถนะการกลั่นเอทานอลจากพืชเกษตรด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์โดยใช้เทคนิคปั๊มฟอง การทำแห้งน้ำมะม่วงโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบลูกกลิ้งร่วมกับระบบสุญญากาศ การศึกษาความเป็นไปได้ของการผลิตโยเกิร์ตน้ำข้าวผสมน้ำกระเจี๊ยบชนิดผงโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอย โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเครื่องอบแห้งผลไม้สำหรับอบเนื้อลำไย การวิจัยและพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องระเหยสารภายใต้ระบบสุญญากาศ และเครื่องอบแห้งด้วยพลังงานไมโครเวฟสำหรับการอบแห้งและสกัดสารจากพืชสมุนไพรบนพื้นที่สูง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์กับมูลสัตว์โดยใช้กระบวนการหมักแบบ 2 ขั้นตอนร่วมกับระบบทำความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ การศึกษาและพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ลมสำหรับอบแห้งพริก ในตำบลนางาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก