สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรต่อผลผลิตอ้อยที่ปลูกบนดินร่วนปนดินเหนียว กลุ่มชุดดินที่ 29 ชุดดินบ้านจ้อง
ดาวยศ นิลนนท์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรต่อผลผลิตอ้อยที่ปลูกบนดินร่วนปนดินเหนียว กลุ่มชุดดินที่ 29 ชุดดินบ้านจ้อง
ชื่อเรื่อง (EN): Effect on wastewater from pig farm for sugarcane grow on clay loam soil in Soil Group 29 (Ban Chong series : Bg)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ดาวยศ นิลนนท์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของการใช้น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรต่อผลผลิตอ้อยที่ปลูกบนในชุดดินเขาพลอง ดำเนินการทดลองที่แปลงเกษตรกร หมู่ที่ 9 ตำบลพังตรุ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ทำการทดลองตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึง กันยายน 2556 ทำการทดลองเพื่อศึกษาถึงการใช้น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรเป็นแหล่งธาตุอาหารแก่อ้อยพันธุ์ LK11 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCB) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบไปด้วย 6 ตำรับการทดลอง คือ ตำรับ 1 แปลงควบคุม (ไม่ใส่น้ำเสียและปุ๋ยเคมี) ตำรับ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับ 3 ใส่น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรอัตราต่ำ 60,952 ลิตรต่อไร่ ตำรับ 4 ใส่น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรอัตราสูง 121,904 ลิตรต่อไร่ ตำรับ 5 ใส่น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรอัตราต่ำ 60,952 ลิตรต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 7.5 กิโลกรัมต่อไร่ และ ตำรับ 6 ใส่น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรอัตราสูง 121,904 ลิตรต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 7.5 กิโลกรัมต่อไร่ จากผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยตำรับต่าง ๆ พบว่า การใส่น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรอัตราสูง 121,904 ลิตรต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 7.5 กิโลกรัมต่อไร่ มีแนวโน้มให้น้ำหนักสดอ้อยไม่ตัดยอด น้ำหนักลำอ้อย และค่าซีซีเอส (CCS) มีค่าสูงสุด นอกจากนี้ยังพบว่า การใส่น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรทั้งอัตราต่ำและอัตราสูง และร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี ทำให้น้ำหนักใบอ้อยสด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำ และค่าซีซีเอส ใกล้เคียงกับการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจากผลการทดลอง กล่าวได้ว่า การใส่น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรในอัตราที่เหมาะสมสามารถทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ในการปลูกอ้อยได้
บทคัดย่อ (EN): Studies were conducted on the effect on wastewater from pig farm for sugarcane grow in Khao phlong series during January 2011 to September 2013 at Kanchanaburi province. The experiment was completely randomized design to give six treatment combinations replicated four times. The treatments consisted of no wastewater and chemical fertilizer, chemical fertilizer (15 kg N rai-1) chemical fertilizer (15-15-15 kg N-P2O5-K2O rai-1), low wastewater rate 60952 Lrai-1, high wastewater rate 121904 Lrai-1, low wastewater rate 60952 Lrai-1 in combination with chemical fertilizer (7.5 kg N rai-1) and high wastewater rate 121904 Lrai-1 in combination with chemical fertilizer (7.5 kg N rai-1). The results showed that application of high wastewater rate 121904 Lrai-1 in combination with chemical fertilizer (7.5 kg N rai-1) gave higher cane yield and CCS than other treatments. Furthermore, the application of wastewater in suitable can be substitute fertilizer for sugarcane.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรต่อผลผลิตอ้อยที่ปลูกบนดินร่วนปนดินเหนียว กลุ่มชุดดินที่ 29 ชุดดินบ้านจ้อง
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2556
เปรียบเทียบการใช้ชนิดและปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกอ้อยเพื่อเกษตรกรรายย่อยใน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลของปุ๋ยมูลไก่และปุ๋ยเคมีต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลผลิต และคุณภาพของอ้อยในกลุ่มชุดดินที่ 36 จ.เพชรบูรณ์ การจัดการดินและธาตุอาหารพืชเฉพาะกลุ่มชุดดินในการปลูกอ้อยของประเทศไทย ผลของชนิดน้ำหมักชีวภาพที่มีต่อผลผลิต และคุณภาพของชา ในกลุ่มชุดดินที่ 29 การจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน จังหวัดอุตรดิตถ์ (กลุ่มชุดดินที่ 35) การจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน จังหวัดอุตรดิตถ์ (กลุ่มชุดดินที่ 35) การจัดการดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกอ้อยแต่ละพันธุ์ตามกลุ่มชุดดิน การจัดการที่เหมาะสมในการสับกลบใบอ้อยเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตอ้อย ในกลุ่มชุดดินที่ 22 โครงการวิจัยทดสอบการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยตามกลุ่มชุดดินในเขตพื้นที่ผลผลิตเฉลี่ยระดับต่างๆ การศึกษาการจัดการดินตามศักย์ผลิตภาพ เศษเหลือหลังการเก็บเกี่ยว และแนวทางการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินเพื่อรักษาคุณภาพดินและเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในจังหวัดสระแก้ว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก