สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพยางแผ่นดิบ
สุพล ธนูรักษ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพยางแผ่นดิบ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุพล ธนูรักษ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: จากการศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพยางแผ่นดิบมี 4 ประการ คือ ความสะอาดของน้ำยางและวัสดุอุปกรณ์ ชนิดของกรดที่ใช้ในการทำยางแผ่น ความหนาของแผ่นยาง และการทำให้แผ่นยางแข็ง ความสะอาดของน้ำยางและวัสดุอุปกรณ์ มีผลกระทบคต่อคุณภาพเป็นอย่างมาก โดยสิ่งเจือปนอาจจะปะปนเข้ามากับน้ำยางที่ควบรวมจากสวน น้ำซึ่งนำมาเจือจางน้ำยาง การใช้ตะแกรงไม่ถูกต้อง การใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สกปรก และการผึ่งแผ่นยางให้แห้งในบริเวณที่มีฝุ่นละอองมาก ชนิดของกรดที่ใช้ในการยางแผ่น โดยทั่วไปพบว่าเกษตรกรจะนิยมใช้กรดกำมะถันเพราะสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น แต่คุณภาพของยางแผ่นที่ผลิตได้จะมีคุณภาพต่ำกว่าการใช้กรดชนิดอื่น เช่น การแข็งตัวของยางแผ่นจะช้าลง การตกค้างของความเป็นกรดมีมากขึ้น ซึ่งจะมีผลให้ผิวหน้ายางมีความเหนียว ค่าความหนืดลดลง ปริมาณสิ่งระเหยตกแผ่นยางมีสูง และก่อให้เกิดความเสียหายต่กเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ความหนาของแผ่นยาง เป็นผลทีเกิดขึ้นจากการใช้น้ำยางที่มีความเข้มข้นสูงในการผลิตยางแผ่น และการรีดเป็นแผ่นไม่ดี ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ยางแผ่นแห้งช้ามีโอกาสเกิดเชื้อราได้ง่าย ความโปร่งใสไม่ดี การทำให้แผ่นยางแข็ง ใสการผึ่งให้ยางแห้งในร่มนั้น ยางแผ่นควรจะแห้งสนิท มีน้ำหนักคงที่ภายใน 6 วัน หากใช้เวลายาวนานเกินไปจะมีผลให้แผ่นยางมีคุณภาพต่ำลงได้ ดังนั้นเพื่อปรับปรุงวิธีการผลิตยางแผ่นให้มีคุณภาพดีขึ้น เกษตรกรควรทำการแก้ไขปรับปรุงวิธีการผลิตในขั้นตอนต่าง ๆ คือ (1)ใช้น้ำยางที่สุด สะอาด ทำการกรองด้วยตะแกรงขนาดขนาด 40 และ 60 เมช. ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สะอาด ตลอดควบคุมดูแลรักษาความสะอาดในการผลิตทุกขั้นตอน (2)ใช้น้ำสะอาดมาทำการเจือจางน้ำยางในอัตราส่วนตามนำแนะอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้น้ำยางที่มีความเข้มข้นที่ถูกต้อง (3)ใช้กรดทดแทนกรดกำมะถันในการทำให้ยางจับตัว (4)ในการรีดยางควรตั้งช่องว่างระหว่างลังให้ถูกต้อง (5)ล้างแผ่นยางให้สะอาดก่อนนำไปผึ่งในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยในด้านการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ไปสู่เกษตรนั้น ควรจะได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ ซึ่งมีภาพประกอบเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ และในการฝึกอบรมเกษตรกรเจ้าของสวนยางจะพ้นการสงเคราะห์ ควรจะได้เน้นในปัจจัยที่สำคัญ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพยางแผ่นดิบ
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพข้าวเปลือกนาปรังในภาคกลางและภาคตะวันตก 2553A17002134      การศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อคุณภาพของซูริมิจากปลาสวาย ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนากลุ่มกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตมังคุดให้ได้คุณภาพของเกษตรกรในภาคใต้ โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตขิงคุณภาพ คุณภาพชีวิตของคนใน กทม. ด้านการศึกษาและสาธารณสุข การศึกษาความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา โครงการวิจัยการศึกษาการผลิตพริกไทยที่มีคุณภาพ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นและขายยางของจังหวัดพังงา โครงการวิจัยการศึกษาการผลิตปัญจขันธ์ที่มีคุณภาพ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก