สืบค้นงานวิจัย
การสังเคราะห์และการถอดบทเรียนองค์ความรู้ของศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดมหาสารคาม : ศึกษากรณี ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดมหาสารคาม
พุฑฒจักร สิทธิ - มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: การสังเคราะห์และการถอดบทเรียนองค์ความรู้ของศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดมหาสารคาม : ศึกษากรณี ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง (EN): Synthesis and analysis lessons of Sufficiency Economy philosophy of Learning Center of the local scholars in Maha Sarakham Province : A Case Study Learning Center of Sufficiency Economy Philosophy Maha Sarakham Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พุฑฒจักร สิทธิ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัดถุประสงค์เพื่อศึกษา 1 ลักษณะความสำเร็จและเบื้องหลัง ความสำเร็จของปราชญ์ชาวบ้านในเขตจังห วัดมหาสารคาม ที่ดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียง 2) รูปแบบการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้านในเขตจังหวัด มหาสารคาม 3) กระบวนการและวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านในการดำเนินชีวิต ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพีงต่อชุมชนใกล้เคียง การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วข แนวคำถามประกอบการสัมภาษณ์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่อง บันทึกภาพ และแบบจดบันทึก ส่วนวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาจากเอกสาร และศึกษา ภาคสนาม ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดเวทีสังเคราะห์และ ถอดบทเรียน วิคราะห์ข้อมูล โดยการพรรณนา ตีความปรากฏการณ์เชื่อม โยงกับแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ ศึกษาในครั้งนี้ ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะความสำเร็จของปราชญ์ชาวบ้านในเขตจังหวัดมหาสารคาม ที่ดำเนินชีวิตตาม แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีจิตสำนึกที่ประกอบด้วยคุณธรรม ความ ชื่อสัตย์สุจริต ความพากเพียรพยายาม อดทนอดกสั้นต่องานที่ทำ การใช้สติปัญญาในการแก้ไข ปัญหา ความเมตตาหวังดีต่อกันและกัน การมีครอบครัวที่อบอุ่น รายได้จากการทำเกษตรแบบ ผสมผสาน ผลผลิตสามารถปลดภาระหนี้สินและเอื้อเฟื้อถึงชุมชนได้ด้วย และรางวัลเชิดชูเกียรติที่ ได้รับ เป็นเครื่องหมาขบ่งบอกถึงความเป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตรที่สามารถถ่ายทอดองค์รู้ แก่ชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่วนเบื้องหลังความสำเร็จของปราชญ์ชาวบ้นในเขตจังหวัด มหาสารคาม ได้แก่การมีความพึงพอใจในการสร้างฐานะ การต่อสู้ชีวิตด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีคิดใน การทำเกษตรแนวใหม่ที่ป็นลักษณะเฉพาะตน คนภายในครอบครัวที่พร้อมใจกันเป็นหนึ่งเดียว และการหมั่นแสวงหาความรู้อย่างสม่ำเสมอของปราชญ์ชาวบ้าน ส่วนรูปแบบการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้านในเขต จังหวัดมหาสารคาม ได้ขีดแนวทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา ที่ประกอบด้วยความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี การมีความรู้และคุณธรรม มาประยุกต์ใช้ในภากเกษตรแบบ ผสมผสาน ทำให้การดำเนินชีวิตมีการไม่ใช้จ่ายเกินตัว มีการเก็บออมมากขึ้น คิดและวางแผนอย่าง รอบคอบ ระมัดระวัง มีสติในการทำงาน แสวงหาความรู้อยู่ตลอด ทำให้ก้วทันโลกยุกใหม่ มี ภูมิคุ้มกันที่ไม่เสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รู้จักใช้และ จัดการอย่างฉลาด มี ความรอบรู้ ประกอบทั้งความซื่อสัต สุจริต มีความขยัน อดทน รู้จักเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ดำเนินชีวิต ด้วขความมีปัญญารอบคอบ ซึ่งจะส่งผลให้กากการเกษตรของตนมีความสมดุล พร้อมรับต่อการ เปลี่ยนแปลง และก้าวทันต่อโลกขุคโลกาภิวัตน์ สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนได้ในที่สุด กระบวนการและวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านในการดำเนินชีวิต ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงต่อชุมชนใกลี้เคียง จากกรณีศึกษาทั้ง s ท่านก็มีหลากหลายวิธีการ เช่น การเล่าสู่กันฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อกันและกัน การถ่ายทอดเทคนิคแก้ปัญหาพื้นที่ด้วย วิธีที่เหมาะสม การสร้างแรงจูงใจให้มีความอยากนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง การวางแผนการผลิตให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด การคำนึงถึงระบบนิเวศ การถ่ายทอดความรู้แบบบรรยาย การ สาธิตทดลองให้ดูเป็นตัวอย่าง การให้ลงมือปฏิบัติและสอบถามได้ในขณะที่ลงมือปฏิบัติ การจัด เสวนากลุ่ม การถ่ายทอดความรู้โดยการศึกษาดูงานนอกสถานที่ และการศึกษาจากเอกสารตำราที่ ทางศูนย์แต่ละแห่งได้บันทึกรวบรวมไว้ตลอดถึงศึกษาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของผลผลิต เพื่อเป็น ข้อมูลนำไปปรับปรุงแก้ใขให้ดียิ่งขึ้น เป็นการขยายผลองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกร บุคคลที่สนใจ หน่วขงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษา เพื่อได้ต่อขอดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น สำหรับข้อเสนอแนะจากการวิจัข ต้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริม สนับสนุนประชาชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ประเทศชาติ โดยการยึดหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในการคำเนินชีวิต ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงของหน่วยงานภาครัฐสู่ครัวเรือน ในจังหวัดมหาสารคาม เพื่อกระจาขคุณภาพชีวิตที่ดีสู่ ประชากรอย่างทั่วถึง
บทคัดย่อ (EN): This qualitative research aims to investigate 1) the models and background of success of local philosophers who have ways of life according to the sufliciency economy concept at Maha Sarakham area 2) the local philosophers ways of life model according to the sufliciency economy concept at Maha Sarakham area 3) the local philosophers process and local wisdom transfer on the sufficiency economy concept in neighboring areas. The questions guidelines used for interviewing, recorder, video recorder and field notes were used as main research instruments. The data derived from documents, field study, informal interview, in-depth interview, and synthesis and lesson learnt seminars. The data were collected and analyzed by using descriptive and implied approaches and then linked all results with the theory in this study. The results reported the following issues: The models and background of success of local philosophers who have ways of life according to the sufficiency economy concept at Maha Sarakham area were better peoples life quality, moral integrity, being hard working and patience with the job duties, using logical thinking in problem solving, sense of kindness, having warm family, gaining income from mixed agriculture. The agricultural products made can be brought to pay off debts and also can give d888 them to the community. The awards the local philosophers received can symbolize the agricultural local philosophers who can transfer concrete wisdom knowledge to the community. In terms of the local philosophers background of success, there were satisfactions towards in wealthy building, life fighting by adjusting ways of thinking in new specific agricultural theory, unity in the family, the local philosophers process of frequent acquiring the knowledge. Regarding to the ways of living model related to the local philosophers suficiency economy concept at Maha Sarakham area, they initiated middle way which consists of sufficiency and logical thinking and adapted in integrated system farmers. From this model, the local philosophers can save a lot of money and they can plan theory ways of life without carelessness. They were also aware on what job duties they are working. Moreover, they are seeking the knowledge all the time. They can update with the global world and also can be able to take risk of the current changed economy. They know how to use and manage things wisely. They are honest, hard working, patient, well-rounded, and wisely in living life. In so doing, it can bring about their balance agriculture and be ready to change and catch up with the global world. It can finally increase a sustainable quality of life. According to the local philosophers process and local wisdom transfer on the sufficiency economy concept in neighboring, this case study showed that there were five ways: discussion, sharing ideas among the people, transferring problem solving techniques with appropriate ways, motivating people to use the methods in their real life, planning the production process that related the market need, realizing the environment systems, demonstrating, doing on the process and letting the people do the work, doing the focused group seminars, doing the field trip, and studying from the documents collected by the centre as well as studying the comparison of advantages and disadvantages of the production. In so doing, the results can be used as data in order to improve the better process, to expand the knowledge to the farmers, interesting people, government agencies and institutes, and to expand the sufficiency economics widely. This study also suggested the involvement of government and related departments in developing the country, and to utilize the sufticiency economy philosophy in daily life. Such a philosophy can be used for a wide range of careers and can lead to sustainable development. The future research should focus on implementation the sufficiency economy philosophy from the government agencies to the households in Maha Sarakham province in order to make better people quality of life.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสังเคราะห์และการถอดบทเรียนองค์ความรู้ของศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดมหาสารคาม : ศึกษากรณี ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
30 กันยายน 2554
โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มวัยรุ่น การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการทำการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา 4 ภูมินิเวศ การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาท้องถิ่น การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนชาวจีนยูนาน (บ้านยาง) ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มวัยรุ่น การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรในชุมชนจังหวัดนครปฐม การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(2โครงการย่อย)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก