สืบค้นงานวิจัย
คัดแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์ไรโซเบียมทนเค็มเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสน อัฟริกันที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ดินเค็ม
พนิดา ปรีเปรมโมทย์, สิรินภา ชินอ่อน, พิกุล เกตุชาญวิทย์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: คัดแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์ไรโซเบียมทนเค็มเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสน อัฟริกันที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ดินเค็ม
ชื่อเรื่อง (EN): Isolation and Selection of Salt Tolerance Rhizobium to Increase biomass of Sesbania rostrata in Saline Soil
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการคัดแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์ไรโซเบียมทนเค็มเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของ โสนอัฟริกันที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ดินเค็ม มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกไรโซเบียมสายพันธุ์ทนเค็มเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปรับปรุงบำรุงดินในดินเค็ม และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนของไรโซเบียมสายพันธุ์ทนเค็ม โดยดำเนินการเก็บตัวอย่างปมโสนอัฟริกันในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และภาคกลาง คือ จังหวัดเพชรบุรี นครปฐม คัดแยกเชื้อไรโซเบียมในอาหารเลี้ยงเชื้อสูตร YMA (Yeast Mannitol Agar) สามารถคัดเลือกเชื้อได้ 115 ไอโซเลต จากนั้นนำมาทดสอบการเข้าอยู่อาศัยในราก และทดสอบประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนร่วมกับโสนอัฟริกันในขวด Leonard jars พบว่าได้เชื้อไรโซเบียม จำนวน 56 ไอโซเลต โดยมีค่าการตรึงไนโตรเจนอยู่ในช่วง 0.2-27.32 ไมโครโมลเอธีลีนต่อต้นต่อชั่วโมง และทดสอบการทนเค็มในจานเลี้ยงเชื้อที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์ 4 ระดับ คือ 1 2 3 และ 4 เปอร์เซ็นต์ พบว่าเชื้อไรโซเบียมที่สามารถเจริญเติบโตได้ในอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดียมคลอไรด์ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวน 22 ไอโซเลต โดยไอโซเลต S_Khon 4/19 มีปริมาณจุลินทรีย์ที่เจริญสูงสุดเท่ากับ 1.08x1010 เซลล์ต่อมิลลิลิตร และศึกษาประสิทธิภาพการสร้างฮอร์โมน ออกซิน พบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 0.03-15.42 ไมโครกรัมต่อมิลลิกรัม จากนั้นนำเชื้อไรโซเบียมทนเค็มที่มีค่าการตรึงไนโตรเจนสูงจำนวน 5 ไอโซเลต และเชื้อไรโซเบียมที่ผลิตฮอร์โมนออกซินสูงจำนวน 5 ไอโซเลต มาทดสอบร่วมกับดินเค็มปานกลางในกระถาง โดยทดสอบร่วมกับโสนอัฟริกัน วางแผนการทดลองแบบ completely randonmize design (CRD) จำนวน 11 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ พบว่า ค่าการตรึงไนโตรเจน อยู่ในช่วง 5.84-14.32 ไมโครโมลเอธีลีนต่อต้นต่อชั่วโมง ตำรับการทดลองที่ 11 ไอโซเลต S_Banpai 3-21 มีค่าการตรึงไนโตรเจนเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 14.32 ไมโครโมลเอธีลีนต่อต้นต่อชั่วโมง ส่งผลให้โสนอัฟริกันมีน้ำหนักต้นสด น้ำหนักต้นแห้ง น้ำหนักปมแห้งสูงที่สุดเช่นกัน คือ 66.26 16.00 และ 3.29 กรัม ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Isolation and Selection of Halotolerant Rhizobium for Increasing Biomass of efficient Sesbania rostrata in Saline Soil. The objectives of this study were to isolate and select halotolerant Rhizobium strains for increasing biomass of green manure in saline soil. Collecting root knot samples of S. rostrata were proceeded in various provinces of Thailand; Nakhonratchasima and Khonkaen province in the north-eastern part and Phetchaburi and Nakhonpathom province in the middle part. 115 Isolates of Rhizobium were isolated and selected by selective medium (yeast mannitol agar/YMA) and investigated their capacity of colonization in host’s root. In addition the N fixing efficiency was also verified in Leonard jars. The results showed that 56 isolates held the capacity of N fixation between 0.2-27.32 ?mole ethylene/hr. The culture media added 4 concentration of NaCl (1, 2, 3 and 4%) were used for investigating the potential of halotolerance. Only 22 isolates performed to thrive in the culture medium added the highest concentration of NaCl. S_Khon 4/19 isolate occurred the highest number of cell growth in this medium, 1.08x1010 cell/ml and this isolate also showed the capacity to produce Auxin as 0.03-15.42 ?g/mg. For greenhouse experiment, 5 isolates which showed the best N fixation and Auxin production were cultured with S. rostrata in the pots contained moderate saline soil. The experimental design was CRD with 11 treatments and 3 replications. The results were including; N fixation was 5.84-14.32 ?mole/stem/hr. Treatment 11 (treated with S_Banpai 3_21 isolate) showed the best N fixation (14.32). Consequence of this caused the highest fresh weight, dried weight and dried root knot weight of S. rostrata as 66.26, 16.00 and 3.29 g, respectively
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
คัดแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์ไรโซเบียมทนเค็มเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสน อัฟริกันที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ดินเค็ม
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2558
ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด คัดแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์ไรโซเบียมทนเค็มเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสนอัฟริกันที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ดินเค็ม ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ (Rhizobium) เพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสนอัฟริกันที่มีต่อการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็ม การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา คัดเลือกไรโซเบียมที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนและผลิต Indole-3-acetic acid (IAA) เพื่อเพิ่มมวลชีวภาพสำหรับปอเทือง ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งพด.11 ต่อการเจริญเติบโต เพิ่มมวลชีวภาพโสนอัฟริกันที่มีต่อผลผลิตของข้าวที่ปลูกในพื้นที่ดินเค็ม การเปรียบเทียบพันธุ์หญ้าแฝกทนเค็มสำหรับพื้นที่ดินเค็มจังหวัดกาฬสินธุ์ การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสนอัฟริกันและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มน้อย การสำรวจและศึกษารูปแบบและพันธุ์หญ้าแฝกที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การจัดการดินด้วยแกลบร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลาง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก