สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาอาหารที่เป็นยา และผลิตภัณฑ์ยาจากลูทีนที่สกัดได้จากรังไหมเหลือง และอนุพันธ์ขนาดเล็กของโปรตีนซิริซิน
รศ.ดร.มาโนชญ์ สุธีรวัฒนานนท์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาอาหารที่เป็นยา และผลิตภัณฑ์ยาจากลูทีนที่สกัดได้จากรังไหมเหลือง และอนุพันธ์ขนาดเล็กของโปรตีนซิริซิน
ชื่อเรื่อง (EN): Development of nutraceutical and pharmaceutical products form lutein extracted from Bombyx mori cocoons and sericin derivatives
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รศ.ดร.มาโนชญ์ สุธีรวัฒนานนท์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:                 การวิเคราะห์สารสกัดลูทีนและโอลิโกเพปไทด์จากรังไหมเหลือง 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์นางน้อย นางสิ่ว และนางตุ่ย พบว่าสายพันธุ์นางตุ่ยมีปริมาณลูทีนต่ำกว่า 2 สายพันธุ์แรก  องค์ประกอบของสารสกัดลูทีนจากรังไหมเมื่อวิเคราะห์ด้วย Gas Chromatography พบว่ามีไขมันทั้งหมด 94.86% โดยเป็นกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) 10.40% ที่เหลือเป็น wax และ แคโรทีนอยด์ (carotenoid) เมื่อนำตัวอย่างไปวิเคราะห์ด้วยเครื่อง LC/MS เทียบกับสารสกัดลูทีนจากดอกดาวเรือง (c-lutein) ไม่พบ Kaempferol และ Quercetin ปนเปื้อนในลูทีนจากรังไหมเหลือง แต่พบในตัวอย่างลูทีนจากดอกดาวเรือง                การ ทดสอบคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของผลิตภัณฑ์โอลิโกเพปไทด์ที่เก็บไว้ใน สภาวะต่าง ๆ พบว่ากรดอะมิโนที่พบในโอลิโกเพปไทด์มีสัดส่วนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับของโปรตีน ซิริซินโดยเฉพาะไทโรซีน ไลซีน เซอรีน กรดแอสปาติก และฮีสติดีน จำนวนกรดอะมิโนที่มีขั้วและที่เป็นวงเพิ่มขึ้น ทำให้โอลิโกเพปไทด์ละลายน้ำได้ดี และอาจมีส่วนเพิ่มความความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ ACE และ α-Glucosidase จากการทดสอบความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ α-Glucosidase ของโอลิโกเพปไทด์ในห้องปฏิบัติการเทียบกับ Acabose พบว่ามีค่า IC50 เท่ากับ 73.25 mg/ml ในขณะที่ของ Acabose ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ที่ 3.68 mg/ml ผลการทดลองนี้สอดคล้องกับในสัตว์ทดลอง                การศีกษาฤทธิ์ของลูทีนที่สกัดจากรังไหมเหลืองในการป้องกันเซลล์เรตินา จากภาวะ oxidative stress ที่เหนี่ยวนำด้วย H2O2 และจากรังสี UV-B  โดยทดลองเปรียบเทียบลูทีนกับ trolox พบว่า ลูทีนสามารถป้องกันเซลล์เรตินาจากอันตรายจากรังสี UV-B ได้ แต่ไม่สมบูรณ์ ลูทีนจากรังไหมมีฤทธิ์ดีกว่าลูทีนจากดอกดาวเรืองเล็กน้อยเมื่อให้ลูทีนก่อนได้รับรังสีนาน 2 ชั่วโมง เมื่อนำลูทีนมาใช้ร่วมกันกับ trolox พบ ว่ามีฤทธิ์เสริมกัน ดังนั้นการใช้สารทั้งสองนี้ร่วมกันจึงอาจมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการปกป้อง เซลล์เรตินา  ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของลูทีนจากไหมเหลืองและลูทีนจากดอกดาวเรืองพบ ว่า ลูทีนจากรังไหมเหลืองป้องกันเซลล์เรตินาจากภาวะ oxidative stress ที่เกิดจาก H2O2 ได้ดีกว่าลูทีนที่สกัดจากดอกดาวเรือง  โดยยับยั้งการเกิด lipid peroxidation และ ROS ภายในเซลล์เรตินา เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ                  การทดสอบหาประสิทธิภาพของ sericin-derived oligopeptide ต่อการดูดซึมคลอเรสเตอรอลไม่พบในการศึกษาระดับเซลล์ แต่พบในสัตว์ทดลองว่า sericin-derived oligopeptide ลดระดับ total cholesterol และ non-HDL cholesterol ได้อย่างมีนัยสำคัญในทุกความเข้มข้นเป็นไปตาม dose dependent เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ high-cholesterol diet เพียงอย่างเดียว ส่วนระดับของ triglyceride และ HDL ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน     การทดสอบความสามารถในการจำ โดยใช้หนูถีบจักรเป็นสัตว์ทดลอง โดยมีการให้สารลูทีนจากรังไหมเหลืองและ sericin derived oligopeptide ขนาด 10 และ 100 มก. /กก. น้ำหนักตัว เป็นระยะเวลานานอย่างน้อย 8 สัปดาห์ แล้วศึกษาผลของสารดังกล่าวต่อการทำงานของระบบประสาท โดยเน้นการฟื้นฟูภาวะความจำบกพร่องด้วยการฉีด Ab 25-35 peptides ที่โพรงสมอง พบว่า สารดังกล่าวสามารถช่วยฟื้นฟูความสามารถในการจดจำวัตถุสิ่งของ หรือ recognition memory และความจำเกี่ยวกับสถานที่หรือ spatial memory ได้ การทดสอบความเป็นพิษแบบเรื้อรัง (chronic toxicity) พบว่าลูทีนจากรังไหมเหลืองมีความปลอดภัยกับสัตว์ทดลองทั้ง 2 เพศและ 2 species นอกจากนี้ระดับ triglycerides ลดลงในหนูทุกกลุ่มที่ได้รับลูทีนจากรังไหมเหลือง การทดสอบการป้องกันเบาหวานโดยใช้ Bovine serum albumin (BSA) และ Soy protein เทียบกับ sericin derived oligopeptide พบว่า BSA ไม่มีผลลดระดับน้ำตาลในหนูทดลอง ส่วน Soy protein ทำให้หนูมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น น้ำตาลในเลือดลดลง แต่ไม่ทำให้ระดับอินซูลินในเลือดเพิ่ม ซึ่งต่างจากหนูเบาหวานกลุ่มที่ได้รับสารสกัด Oligopeptides พบ ว่ามีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และระดับอินซูลินในเลือดเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับหนูเบาหวานกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสารสกัด Oligopeptides ที่ความเข้มข้น 200 mg/kg ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด ระดับ Cholesterol และ Triglyceride ในหนูเบาหวานกลุ่มที่ได้รับ Soy protein ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ระดับ HDL เพิ่มขึ้น เหมือนกับหนูที่ได้รับ Oligopeptides ทุกความเข้มข้น ยกเว้นที่ความเข้มข้น 100 และ 200 mg/kg มีระดับ triglyceride ลดลง เมื่อวัดระดับเอนไซม์ AST และ ALT มีค่าลดลง  สำหรับค่า BUN (Blood urea nitrogen) และ Uric acid ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อได้รับ Oligopeptides ที่ความเข้มข้น 200 mg/kg อาการตาบอดของหนูเนื่องจากเบาหวานขึ้นตาพบว่า หนูเบาหวานตาบอดทุกตัว สำหรับกลุ่มที่ได้รับอินซูลินพบว่าหนูตาไม่บอด แต่มีบางตัวที่ตามีลักษณะขุ่น ส่วนหนูเบาหวานกลุ่มที่ได้รับสารสกัด Oligopeptides พบว่าหนูมีอาการตาบอดเพียงบางส่วนเท่านั้น              การศึกษาปริมาณ endotoxin ใน สารสกัดลูทีนจากรังไหมเหลือง และอนุพันธ์ขนาดเล็กของโปรตีนซีริซิน ที่อาจปนเปื้อนมากับกระบวนการผลิต มีในปริมาณที่ต่ำมาก  และไม่ส่งผลรบกวนต่อการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของ hPBMC ได้   ดังนั้นจึงสามารถนำสารสกัดดังกล่าวไปศึกษาฤทธิ์ทางภูมิคุ้มกันของ human PBMC ในหลอดทดลอง (in vitro) ต่อไปได้ จากการศึกษาผลของลูทีนจากรังไหมเหลือง และอนุพันธ์ขนาดเล็กของโปรตีนซิริซินต่อการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของ hPBMC ลูทีนจากรังไหมเหลืองที่ความเข้มข้น 2.5, 5 และ 10 mM สามารถกระตุ้นการทำงาน (proliferation) ของ resting hPBMC ได้ ในขณะที่อนุพันธ์ขนาดเล็กของโปรตีนซิริซินที่ไม่มีผลใด ๆ ต่อการกระตุ้นการทำงานของ PBMC ได้   อย่างไรก็ตาม   การเปลี่ยนแปลงในขบวนการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนแสดงให้เห็นได้ เมื่อเลี้ยง hPBMC ร่วมกับลูทีนจากรังไหมเหลือง หรืออนุพันธ์ขนาดเล็กของโปรตีนซิริซิน ในสภาวะที่มี mitogen (ConA และ PHA) โดยพบว่าลูทีนจากรังไหมเหลือง หรืออนุพันธ์ขนาดเล็กของโปรตีนซิริซินสามารถทำให้เซลล์ที่ถูกกระตุ้น (activated cells) ดังกล่าวมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนที่ลดลง เมื่อเทียบกับ PBMC ที่ถูกกระตุ้นด้วย mitogen เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการใช้ลูทีนจากรังไหมเหลืองที่ความเข้มข้น 10 และ 15 mM และอนุพันธ์ขนาดเล็กของโปรตีนซิริซินที่ความเข้มข้น 300 mg/ml   ซึ่งกลไกที่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของ mitogen-induced PBMC ดังกล่าวยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม                 จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงเซลล์ปฐมภูมิ NHDF และเซลล์ไลน์ HFF-1 และได้ศึกษาถึงปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้อง 2 ปัจจัย ได้แก่ ลูทีน (lutein) และ รังสียูวี (UV irradiation) โดยลูทีนที่ใช้เป็นลูทีนจากรังไหมเหลืองเทียบกับลูทีนทางการค้า (commercial lutein) และลูทีนมาตรฐาน (standard lutein)   พบ ว่าลูทีนจากรังไหมเหลือง ไม่มีพิษต่อเซลล์ และเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของลูทีนพบว่าจะช่วยกระตุ้นการเจริญของเซลล์ ในขณะที่ลูทีนทางการค้าและลูทีนมาตรฐาน แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ จากการทดลองพบว่า UVA และ UVB เหมาะสมในการนำมาใช้เป็นตัวกระตุ้นเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของลูทีนต่อเซลล์ผิวหนัง โดยให้ลูทีนทั้งก่อน (pre-treatment) และหลัง (post-treatment) ได้รับรังสี พบว่า (1) การให้ลูทีนจากไหมในช่วงความเข้มข้น 1.5-5 mM ก่อนฉายรังสี UV-A ส่งผลให้เซลล์ตายทั้งหมด กลไกการเกิดพิษต่อเซลล์ จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม (2) การให้ลูทีนจากไหมก่อนฉายรังสี UV-B พบว่า S-lutein แสดงผลการปกป้องเซลล์ NHDF ได้อย่างมีนัยสำคัญต่างจากกลุ่มควบคุม  
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-09-29
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-10-29
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2551
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP สิทธิบัตรการประดิษฐ์
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ วิธีการสกัดสารสกัดจากเส้นไหมที่มีลูทีน
เลขที่คำขอ 1301003580
วันที่ยื่นคำขอ 2010-12-30 12:00:00
เลขที่ประกาศ 154746
วันที่จดทะเบียน
เลขที่จดทะเบียน
วันที่ประกาศ 2016-07-28 12:00:00
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาอาหารที่เป็นยา และผลิตภัณฑ์ยาจากลูทีนที่สกัดได้จากรังไหมเหลือง และอนุพันธ์ขนาดเล็กของโปรตีนซิริซิน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
29 ตุลาคม 2555
การพัฒนาอาหารที่เป็นยา และผลิตภัณฑ์ยาจากลูทีนที่สกัดได้จากรังไหมเหลือง และอนุพันธ์ขนาดเล็กของโปรตีนซิริซิน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตำรับยาสมุนไพรไทยต้านมะเร็งจากฐานข้อมูลคัมภีร์ตำรายาสมุนไพรไทย ปีที่ 3 โปรตีนจากแมลงทางเลือกใหม่ของผู้บริโภค รายงานความก้าวหน้าการสำรวจขนาดของรังไหมที่ใช้ในการผลิตเส้นไหมพุ่ง รายงานความก้าวหน้าการสำรวจขนาดของรังไหมที่ใช้ในการผลิตเส้นไหมยืน ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารปลาสวายโมงขนาดเล็ก โปรตีนไฮโดรไลเสทจากรังไหม การพัฒนาอาหารนกกระจอกเทศ สำรวจคุณภาพเส้นไหมยืนที่สาวได้จากรังเสีย การสำรวจขนาดของรังไหมที่ใช้ในการผลิตเส้นไหมยืน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก