สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาระบบการเลี้ยงกระบือ และแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระบือที่เหมาะสมของเกษตรกรรายย่อย ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ศรณรงค์ ศุภชวลิต - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาระบบการเลี้ยงกระบือ และแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระบือที่เหมาะสมของเกษตรกรรายย่อย ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Study to Buffaloes Farming System and Suitable Efficiency Improve of Buffalo Produce on Smallholder Farmers in Lower Northeastern Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรณรงค์ ศุภชวลิต
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาระบบการเลี้ยงกระบือ และแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระบือที่เหมาะสมของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 9 จังหวัด ๆ ละ 3 อำเภอๆละ 45 ราย รวมเกษตรกรทั้งสิ้น 405 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรและตรวจสภาพกระบือครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2552 แล้วฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรระหว่างวันที่ 7 เมษายน ถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2552 พร้อมทั้งสนับสนุนเวชภัณฑ์ใช้ในกระบือ และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกร พร้อมทั้งตรวจสภาพกระบือในครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม 2552 ถึงวันที่ 23 กันยายน 2552 แล้วนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป จากข้อมูลพื้นฐานที่ทำการศึกษา เกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.82 ปี การศึกษาจบชั้นประถมศึกษา อาชีพหลักทำนา มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว เฉลี่ย 4.66 คน ช่วยทำการเกษตรเฉลี่ย 3.34 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 19.39 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 16.77 ไร่ เลี้ยงโคและกระบือเฉลี่ย 1.52 , 3.86 ตัว ในรอบปีที่ผ่านมาเกษตรกรมีรายได้จากการทำนามากที่สุดเฉลี่ย 28,298.27 บาท รองลงมามีรายได้จากการเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 9,673.58 บาท วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงกระบือของเกษตรกรส่วนใหญ่เพื่อเอามูลทำปุ๋ย รองลงมาเพื่อจำหน่าย ระยะเวลาในการเลี้ยงกระบือเฉลี่ย 16.99 ปี แรงงานที่ใช้เลี้ยงกระบือเฉลี่ย 2.05 คน กระบือที่นำมาเลี้ยงส่วนใหญ่ได้จากกรมปศุสัตว์ รองลงมารับมรดกมาจากพ่อ-แม่ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีผสมพันธุ์กระบือโดยปล่อยผสมกันเอง ไม่มีการคัดเลือกกระบือไว้สำหรับเป็นพ่อพันธุ์–แม่พันธุ์ เกษตรกรส่วนใหญ่จะผูกล่ามกระบือให้แทะเล็มหญ้าธรรมชาติ ตอซังข้าว และเกี่ยวหญ้าให้กิน ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงกระบือเฉลี่ย 383.31 บาท เกษตรกรปลูกหญ้าเลี้ยงกระบือเฉลี่ย 1.36 ไร่ ปริมาณมูลกระบือที่ได้เฉลี่ย 6.57 ตันต่อปี เกษตรกรทุกรายนำมูลกระบือที่ได้ไปใช้ในพื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง ในรอบปีที่ผ่านมามีเกษตรกรจำหน่ายกระบือเฉลี่ย 0.93 ตัวต่อราย ข้อมูลด้านประสิทธิภาพการผลิตกระบือของเกษตรกร โดยการเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บรวบรวมครั้งที่ 1 กับข้อมูลครั้งที่ 2 พบว่า มีตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพการผลิตกระบือเพิ่มขึ้น จำนวน 6 ตัว ได้แก่ น้ำหนักของกระบือ การผสมติดและการตั้งท้องของกระบือ โรงเรือนเลี้ยงกระบือที่ถูกสุขลักษณะ และมีการจำหน่ายกระบือเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 3.66, 19.59, 5.43 และ 4.02 ตามลำดับ อัตราการป่วยของกระบือ และอัตราการตายของกระบือลดลงจากเดิมร้อยละ 0.35 และ 0.1 มีตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพการผลิตกระบือลดลงจำนวน 4 ตัว ได้แก่ จำนวนกระบือของเกษตรกร อัตราการเกิดของลูกกระบือ การปลูกพืชอาหารสัตว์ และจำนวนสัตว์ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี มีจำนวนลดลงร้อยละ 9.4, 26.86, 1.48 และ 3.06 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Study to buffaloes farming system and suitable efficiency Improve of buffalo produce on smallholder farmers in lower northeastern of Thailand. The data were recorded from the farmers which raised swamp buffaloes of 9 provinces of the lower part of northeast Thailand, each 3 districts, each 45 farmers were 405 persons. The 1st collected data by interview and inspector of buffalo during 2 February 2009 to 4 March 2009.The 2nd by interviewing farmers and inspector of buffalo during 24 August 2009 to 23 September 2009. The records were also analyzed using the Statistical Packages. The results found that most farmers were male and mean of age 51.82 years, finished primary education. Paddy rice cultivation was main occupation. The average number of household has 4.66 persons, farm worker was 3.34 persons. The size of land tenure average 19.39 rais per family, mostly land doing paddy rice cultivation average 16.77 rais. Herd size of beef cattle were 1.52 heads, buffalo were 3.86 heads. The farmer incomes revealed that they received 28,298.27 and 9,673.58 baht from selling rice and selling their animals in each year, respectively. The main objective of farmers raised buffaloes for using buffalo’s dung as manure and sold, respectively. They kept swamp buffaloes approximately 17 years ago. The farmers breed their buffaloes by sires although they did not mainly know sires’ pedigree. For raising buffalo, they would mainly restrain with grassing in public lands during daylight and supplement by rice straw at night. slightly, someone maybe chop natural grass for raising their buffaloes at night. Farmers plant grass varieties for cultivation of buffalo farmers average 1.36 rai. The manure of buffaloes average 6.57 tons per year, used in their farming area. The past year, farmers sales buffaloes average 0.93 head per person. Data of buffalo productivity of farmers by comparing data between 1st time and the 2nd time after training farmers and supported medical supplies for buffaloes, found that the efficiency of productivity buffaloes increased 6 indicators as follows: weight of the buffaloes , conception rate and pregnant buffaloes, pen of raising buffalo hygienic and sold buffaloes, rate of patients buffalo and rate death of buffaloes decreases. The efficiency of productivity buffaloes decreased 4 indicators as follows: number of buffaloes of farmers, the rate of birth of buffaloes, grew pasture and good health buffaloes.. Keywords: buffaloes farming system, suitable efficiency improve of buffalo Production, lower northeast of Thailand
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาระบบการเลี้ยงกระบือ และแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระบือที่เหมาะสมของเกษตรกรรายย่อย ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
กรมปศุสัตว์
30 กันยายน 2552
กรมปศุสัตว์
การศึกษาวิธีการปรับปรุงพันธุ์ปลานิลของเกษตรกรรายย่อยใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการศึกษาวัดประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสม ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมการเลี้ยงหมูหลุม ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพตามทรรศนะของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก