สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของวัสดุปรับปรุงดินและวัสดุอินทรีย์บางชนิดต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดินเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังที่ระยะเวลาเก็บเกี่ยวแตกต่างกัน
วิทยา ตรีโลเกศ, ทวีทรัพย์ ไชยรักษ์, กัญชลิกา รัตนเชิดฉาย - มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของวัสดุปรับปรุงดินและวัสดุอินทรีย์บางชนิดต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดินเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังที่ระยะเวลาเก็บเกี่ยวแตกต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Efficiency of some organic materials and soil amendments to alter soil properties to enhance cassava production in different harvest period.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้วัสดุปรับปรุงดินและวัสดุอินทรีย์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 ที่ระยะเวลาเก็บเกี่ยวแตกต่างกัน วางแผนการทดลองแบบ 3x2 Factorial in Randomized Complete Block Design (RCBD) มีปัจจัย A เป็นการใส่วัสดุปรับปรุงดิน 3 วิธีการ ดังนี้ 1) ไม่ใส่วัสดุปรับปรุงดิน 2) ใส่วัสดุปรับปรุงดิน (โดโลไมท์) อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และ 3) คือ ใส่วัสดุอินทรีย์ (กากอ้อยสด) อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจัย B เป็นระยะเวลาการเก็บเกี่ยว 2 ระยะ ดังนี้ 1) เก็บเกี่ยวที่อายุ 7 เดือน และ 2) คือ เก็บเกี่ยวที่อายุ 9 เดือน ประกอบด้วย 6 ตำรับการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ เก็บข้อมูลคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีดิน และข้อมูลการเจริญเติบโตผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งมันสำปะหลัง ผลการวิจัยมีดังนี้ ดินที่ใช้ในการทดลองเป็นดินร่วนปนทรายที่มีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำเมื่อปรับปรุงดินวัสดุปรับปรุงดิน (โดโลไมท์) และวัสดุอินทรีย์ (กากอ้อยสด) ทำให้ดินมีระดับความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้การเจริญเติบโตของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 ที่ปลูกมีการเจริญเติบโตด้านความสูง ขนาดทรงพุ่ม เส้นรอบวงโคนต้น จำนวนใบ ผลผลิตหัวสดและเปอร์เซ็นต์แป้งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการไม่ใส่วัสดุปรับปรุงดิน เมื่อเก็บข้อมูลผลผลิตพบว่า การใส่วัสดุอินทรีย์เก็บเกี่ยวที่ระยะเวลา 7 เดือนให้ผลผลิตหัวสดสูงสุดเท่ากับ 4.60 ตันต่อไร่ (เปอร์เซ็นต์แป้ง 19.47 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่ใส่วัสดุอินทรีย์เก็บเกี่ยวที่ระยะเวลา 9 เดือน กลับทำให้มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูงสุด เท่ากับ 23.03 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ดี อายุการเก็บเกี่ยวไม่มีผลต่อน้ำหนักผลสด แต่ระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่นานขึ้นทำให้มันสำปะหลังสะสมแป้งในหัวได้ดีกว่า (22.45-23.03 %) คำสำคัญ : มันสำปะหลัง วัสดุปรับปรุงดิน วัสดุอินทรีย์ การเจริญเติบโต
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to investigate the influence of some organic materials and soil amendments to alter soil properties to enhance cassava production in different harvest period. A 3x2 factorial in Randomized Complete Block Design (RCBD) with 4 replications was used in this study, whereas factor A consisted of 3 ways: 1) bare soil 2) Soil improvement material (dolomite) was 1,000 kg/rai. and 3) organic material (fresh bagasse) at the rate of 1,000 kg/rai. Factor B is the harvesting period of 2 periods as follows: 1) harvest at 7 months and 2) harvest at 9 months. Collect soil samples to analyze physical and chemical properties of soils. And data on productivity growth. And the percentage of cassava starch. The results showed that Soils used in the experiment were sandy loam with low soil fertility, soil improvement, soil improvement material (dolomite) and organic material (fresh bagasse). As a result, growth of cassava of Rayong 11 cultivated with height, bush size, head circumference, number of leaves, fresh yield and starch were higher than that of non-soil improvement (bare soil). When collecting yield data, it was found that the harvest of organic material harvested at 7 months yielded the highest head yield of 4.60 tons/rai (starch 19.47 %). While harvesting organic material at 9 months yielded the highest percentage of flour at 23.03 percent. However, harvesting time did not affect fresh weight. Longer harvests result in higher cassava starch accumulation (starch 22.45-23.03%). Keyword: cassava, soil amendments, organic materials, growth
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของวัสดุปรับปรุงดินและวัสดุอินทรีย์บางชนิดต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดินเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังที่ระยะเวลาเก็บเกี่ยวแตกต่างกัน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
30 กันยายน 2559
อาหารจากมันสำปะหลัง การใช้ระบบน้ำหยดร่วมกับการจัดการปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การตอบสนองของมันสำปะหลังต่อวัสดุปรับปรุงดินที่มีการกลบลึกในชุดดินยโสธร วิธีการที่เหมาะสมในการเพิ่มศักยภาพการผลิตของดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังตามด้วยข้าวไร่ในดินทราย การเพิ่มศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังแบบมีส่วนร่วมในภาคตะวันออก สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย วิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขันมันสำปะหลังไทยในอาเซียน การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง อายุการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่เหมาะสมในดินที่มีเนื้อดินแตกต่างกัน การกักเก็บคาร์บอนในดินเค็มจากการใช้วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินในการผลิตข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก