สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาสภาพการผลิต การตลาด และการป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงแก้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สุรชาติ กันทวิชยานนท์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ศึกษาสภาพการผลิต การตลาด และการป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงแก้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรชาติ กันทวิชยานนท์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เพ็ญพร วันสูงเนิน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิต การตลาด และการป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงแก้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรปลูกมะม่วงอย่างหนาแน่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 19 จังหวัด จำนวน 286 คน ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย (Mean) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดปลูกมะม่วงแก้ว โดยใช้พื้นที่ในการปลูก 1,797 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 58.38 ของพื้นที่ปลูกไม้ผลทั้งหมดของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง นอกจากนี้ยังปลูกมะม่วงพันธุ์อื่นอีก เช่น มะม่วงเขียวเสวยใช้พื้นที่ปลูกร้อยละ 17.87 และมะม่วงน้ำดอกไม้คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 7.63 และไม้ผลพันธุ์อื่นๆ อีกหลายชนิด เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกมะม่วงแก้วบนพื้นที่ราบ (ที่ดอน) ร้อยละ 72.38 แหล่งน้ำที่ใช้ส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนถึงร้อยละ 96.85 เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาในด้านการขาดความรู้ทางเทคโนโลยีทางการผลิตใหม่ ร้อยละ 54.55 ผลผลิตที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวได้เฉลี่ยรวมผลผลิตทั้งสวนๆ ละ 1,281.06 กิโลกรัม ด้านการตลาดเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเก็บเกี่ยวเอง โดยมีพ่อค้ามารับซื้อร้อยละ 65.73 วิธีการจำหน่ายเกษตรกรร้อยละ 75.17 จะจำหน่ายแบบคละได้กิโลกรัมละ เฉลี่ย 3.28 บาท สำหรับปัญหาในด้านการตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงแก้วนั้น เกษตรกรร้อยละ 73.43 พอใจในราคาที่ได้จำหน่าย การป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงแก้วพบว่า แมลงศัตรูพืชที่พบส่วนใหญ่เป็นเพลี้ยจักจั่นถึงร้อยละ 69.23 และมีแมลงอื่นอีกหลายชนิด ในเรื่องการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เกษตรกรร้อยละ 73.78 ทำการพ่นยาในช่วงที่มีแมลงระบาดการพ่นยาได้ผลดี 100 เปอร์เซ็นต์ ด้านโรคศัตรูมะม่วงแก้วจะพบว่ามะม่วงแก้วจะเป็นโรคแอนแทรคโนส ร้อยละ 65.03 เกษตรกรร้อยละ 74.83 มีการพ่นยาป้องกันกำจัดและได้ผลดี จากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าว สามารถตั้งข้อสังเกตและกำหนดคำแนะนำได้ดังนี้ 1. การรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงแก้ว โดยจัดทำทะเบียนและรายละเอียดข้อมูลต่างๆ ของเกษตรกรไว้ เพื่อใช้เป็นแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ในขบวนการส่งเสริมการผลิตมะม่วงแก้วอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 2. การรณรงค์การเก็บเกี่ยวที่ถูกวิธีและบรรจุผลผลิตในภาชนะที่ถูกต้อง จะต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วยเพื่อรักษาคุณภาพของผลผลิตมะม่วงแก้วไว้ราคาจะได้ไม่ตกต่ำเนื่องจากผลแตกหรือช้ำระหว่างเก็บเกี่ยวและขนส่ง การคัดขนาด เพื่อให้ได้คุณภาพตามต้องการของตลาดและโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป 3. การเพิ่มผลผลิตของมะม่วงแก้ว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจะต้องเน้นให้มีการรณรงค์ปรับปรุงสวนมะม่วงแก้ว โดยการรณรงค์การตัดแต่งกิ่ง การให้น้ำ-ปุ๋ย เพื่อให้ได้ผลผลิตมะม่วงที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงแก้วอย่างสูงสุดต่อไป 4. การใช้เทคโนโลยี การบังคับมะม่วงแก้วให้ออกผลผลิตนอกฤดู จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงแก้วเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สามารถจำหน่ายได้ราคาสูง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาสภาพการผลิต การตลาด และการป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงแก้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ผลของพารามิเตอร์บางประการต่อการคายน้ำของมะม่วงพันธุ์ แก้ว สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่งวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตมะม่วง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดปอสาในภาคเหนือ สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของเกษตรกรในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน สภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากนุ่นของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานภาพการผลิตและตลาดไหม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก