สืบค้นงานวิจัย
การเปรียบเทียบคุณลักษณะพันธุ์และระยะเวลาการเก็บรักษาไข่ไหมป่าอีรี่(Philosamia ricini Boisduval)
ธนกิจ ถาหมี ธนพร ศิลปะชัย วันทนา ทองเล่ม ประหยัด ฑีฆาวงศ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบคุณลักษณะพันธุ์และระยะเวลาการเก็บรักษาไข่ไหมป่าอีรี่(Philosamia ricini Boisduval)
ชื่อเรื่อง (EN): Comparative Characteristic and Storage Period Egg of Erisilk (Philosamia ricini Boisduval)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธนกิจ ถาหมี ธนพร ศิลปะชัย วันทนา ทองเล่ม ประหยัด ฑีฆาวงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Tanakij Thamee Tanpporn Sinlapachai Wanthana Thonglem Prayad Teekawong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองเปรียบเทียบคุณลักษณะพันธุ์ไหมป่าอีรี่ ดำเนินการทดลองที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ แพร่ ระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม พ.ศ. 2555 โดยใช้ไหมป่าอีรี่จำนวน 4 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ไทย สายพันธุ์จีน สายพันธุ์เชียงใหม่และสายพันธุ์ลำพูน การทดลองวางแผนแบบ CRD 3 ซ้ำ ทำการเลี้ยงจำนวน 5 รุ่น พบว่าสามารถเลี้ยงไหมป่าอีรี่ได้ทุกสายพันธุ์ และพบว่าสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดีที่สุดในทุกรุ่นการเลี้ยงคือไหมป่าอีรี่สายพันธุ์เชียงใหม่ 2815.70 ก. รองลงมาสายพันธุ์จีน 2720.01 ก. สายพันธุ์ลำพูน 2517.59 ก. และสุดท้ายสายพันธุ์ไทย 2464.00 ก. โดยมีแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการเปรียบเทียบเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมไหมอีรี่โดยวิธี AFLPs พบว่าไหมป่าอีรี่ทั้งสี่สายพันธุ์มีความใกล้ชิดกันทางพันธุกรรมสูง และการศึกษาเพื่อชะลออายุการเก็บไข่ไหมในห้องเย็นอุณหภูมิ 5 ºซ. ทำการวางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำประกอบด้วย 5 กรรมวิธี พบว่าหากไข่ไหมมีอายุ 3 และ 5 วันสามารถชะลออายุการเก็บรักษาไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 5 ºซ. ได้ไม่เกิน 5 วันจะมีการฟักอกสูงที่สุดคือ 551 และ 607 ฟอง
บทคัดย่อ (EN): The experiment was conducted at Queen Sirkit Sericulture center (Phrae) during January to December 2012. Comparative characteristics of Eri-silk worm 4 varieties were Thai, Chiang mai and Lampoon varieties. The experiments were designed as CRD with 3 replications. Five continued experiment of the varieties were conducted. It was found Eri-silk all varieties can be servived at the Queen Sirikit Sericulture centre (Phrae) and the most of total yield was Chiangmai varietiy (2815.70 g). The second China varietiy was 2720.01 g, next Lampoon varieties was 2517.59 g the last Thai varieties was 2464.00 in a significant difference. And the comparative genetic of eri-silk worms were using amplified fragment length polymorphism (AFLPs). It found that all varieties of Eri-silk worms are genetically close – related. And then long duration of cold preservation study were refrigerated. The RCB with 3 replications and 5 treatments were used as an experimental design. The results showed that the age of eggs 3 and 5 days. It high hatchability storage at 5 ºC before 5 days were 551 and 607 eggs respectively
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปรียบเทียบคุณลักษณะพันธุ์และระยะเวลาการเก็บรักษาไข่ไหมป่าอีรี่(Philosamia ricini Boisduval)
กรมวิชาการเกษตร
2556
เอกสารแนบ 1
พัฒนาการผลิตไข่ไหมป่าอีรี่พันธุ์ขยาย และความพึงพอใจการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร การผลิตไข่ไหมป่าอีรี่และการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร การเปรียบเทียบและทดสอบพันธุ์ไหมป่าอีรี่ในเขตภาคเหนือ ศึกษาหาวิธีการสาวไหมป่าอีรี่ การเปรียบเทียบคุณสมบัติผ้าไหมป่าอีรี่ 6 ผืน ที่กรรมวิธีผลิตแตกต่างกัน การศึกษาคุณภาพ และวิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์ที่มีต่อความงอกการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสําปะหลัง ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดักแด้ไหมป่าอีรี่ระยะต่างๆในช่องแข็ง การศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการจุ่มกรดเกลือที่มีอิทธิพลต่อการฟักของไข่ไหมแบบ SOKUSHIN เปรียบเทียบคุณภาพผ้าไหมป่าอีรี่ทอด้วยเส้นยืนชนิดต่างๆ ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก