สืบค้นงานวิจัย
การทำลายของเพลี้ยแป้งสีชมพู pink mealybug, Phenacoccus manihoti ต่อระดับความเสียหายของมันสำปะหลังสี่พันธุ์
นุชรีย์ ศิริ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การทำลายของเพลี้ยแป้งสีชมพู pink mealybug, Phenacoccus manihoti ต่อระดับความเสียหายของมันสำปะหลังสี่พันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Feeding preference of pink mealybug, Phenacoccus manihoti to infestation level of four cassava varieties
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นุชรีย์ ศิริ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nutcharee Siri
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เพลี้ยแป้งสีชมพู pink mealybug, Phenacoccus manihoti เป็นศัตรูที่สำคัญของมันสำปะหลัง Manihot esculenta (L.) Crantz การดูดกินบนยอดมันสำปะหลังทำให้ยอดหงิก ซึ่งแบ่งระดับอาการหงิกที่ยอดมันสำปะหลังจากเพลี้ยแป้งสีชมพูได้ 5 ระดับ (0-4) ความแตกต่างของระดับความเสียหายและพัฒนาการของเพลี้ยแป้งสีชมพูนั้นขึ้นอยู่กับพันธุ์มันสำปะหลังด้วย การศึกษาเปรียบเทียบพันธุ์มันสำปะหลังต่อปริมาณเพลี้ยแป้งและระดับหงิกในมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72, ระยอง 9, เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60 โดยปล่อยเพลี้ยแป้งสีชมพูเพศเมียตัวเต็มวัย 5 ตัว/ต้น บนต้นมันสำปะหลังอายุ 1 เดือนในโรงเรือนทดลอง หลังการทดสอบเป็นเวลา 8 สัปดาห์พบปริมาณเพลี้ยแป้งสีชมพูและระดับหงิกสูงสุดในสายพันธุ์ระยอง 72 ตามด้วยระยอง 9, เกษตรศาสตร์ 50 และ ห้วยบง 60 โดยพันธุ์ระยอง 72, ระยอง 9 และเกษตรศาสตร์ 50 มีอาการหงิกระดับ 4 พันธุ์ห้วยบง 60 มีอาการหงิก ระดับ 3 การศึกษาปริมาณและรอยของมูลหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา โดยวิธีวัดจำนวนมูลหวาน (Honeydew excretions) พันธุ์ที่มีจำนวนมูลหวานมากที่สุด คือพันธุ์ระยอง 72 รองลงมา คือ ระยอง 9 เกษตรศาสตร์ 50 และ ห้วยบง 60 การทดสอบการเคลื่อนที่ของเพลี้ยแป้งสีชมพูวัย 1 หลังจากฟักจากถุงไข่จากตำแหน่งใบที่ 4 (ใบล่าง) สู่ใบที่ 1 (ยอด) ภายในเวลา 7-8 วัน เร็วที่สุดในสายพันธุ์ระยอง 72 ตามด้วยห้วยบง 60 การเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งแป้งสีชมพู ยังมีผลกระทบต่อผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลัง ทำให้ผลผลิตของระยอง 72 และห้วยบง 60 น้อยกว่าเกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 9 โดยเปอร์เซ็นต์แป้งของระยอง 72 ต่ำกว่าพันธุ์อื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): The pink mealybug, Phenacoccus manihoti is one of the most serious pest of cassava, Manihot esculenta (L.) Crantz. When this insect feeds on cassava, it causes leaf curl symptom which categorize into 5 level (0-4). The infestation level and development of the mealybug differ among cassava varieties. This study aimed to compare the amount and leaf curl level of pink mealybug on four cassava varieties: Rayong72 (RY72), Rayong9 (RY9), Kasetsart50 (KU50) and Huaybong60 (HB60). Five female mealybug was introduced to one month old cassava in net house. After 8 weeks, the highest increasing number of mealybug and leaf curl level was shown in RY72, RY9, KU50 and HB60, respectively. The RY72 RY9 and KU50 showed leaf curl level 4, while HB60 showed level 3. Honeydew excretion was measured to investigate the host preference of the pink mealybug. The highest of honeydew excretion was on RY72 followed by RY9, KU50 and HB60. Test on moving efficacy of 1st instar nymph after hatching from ovisac was observed. The ovisac was released on the 4th leaf (bottom). The fastest movment to the 1st leaf (top) within 7-8 days was in RY72 and HB60, respectively, while on the other two varieties mealybug stayed on the initial leaf. Pink mealybug infestation also affected the yield and starch percentage of cassava. The yield of RY72 and HB60 was less than KU50 and RY9. The percentage of starch in RY72 was significant lower than the other cassava varieties.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=4_06_61_Nutcharee.pdf&id=3308&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทำลายของเพลี้ยแป้งสีชมพู pink mealybug, Phenacoccus manihoti ต่อระดับความเสียหายของมันสำปะหลังสี่พันธุ์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
อาหารจากมันสำปะหลัง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชากรตามฤดูกาลของเพลี้ยแป้งทำลายมันสำปะหลังและศัตรูธรรมชาติ ระบบจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง การชักนำการออกดอกในมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังแบบแม่นยำ ความรุนแรงของเชื้อราขาว Beauveria bassiana และเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae ในการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero และเพลี้ยแป้งน้อยหน่า Planococcus lilacin โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังผงกึ่งสำเร็จรูปจากมันสำปะหลังสายพันธุ์หวาน การศึกษาเอนไซม์ไคติเนสจากเชื้อราที่มีศักยภาพในการทำลายเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู การปลูกพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีทดแทนพันธุ์พื้นเมือง ของเกษตรกร ตำบลสระแก้ว อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก