สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนากลุ่มเกษตรกรปลูกดอกเก็กฮวยของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ จังหวัดเชียงราย แบบมีส่วนร่วม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรุณสิริ ใจมา - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากลุ่มเกษตรกรปลูกดอกเก็กฮวยของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ จังหวัดเชียงราย แบบมีส่วนร่วม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อเรื่อง (EN): Participation Development in the Philosophy of the Sufficiency Economy of a Agriculturist Group Growing Chrysanthemum and Chamomile Flowers of the Sango Royal Project in Chiang Rai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรุณสิริ ใจมา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนากลุ่มเกษตรกรปลูกดอกเก็กฮวยของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ จังหวัดเชียงราย แบบมีส่วนร่วม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดย ผศ.ดร.วิรุณสิริ ใจมา เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาและพัฒนากลุ่มเกษตรกรปลูกดอกเก็กฮวยของศุนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ จังหวัดเชียงรายแบบมีส่วนร่วม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 2) ศึกษารูปแบบของการบริหารจัดการกลุ่ม การผลิตและการจัดการธุรกิจ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มเกษตรกรปลูกดอกเก็กฮวยของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ จังหวัดเชียงราย จากการศึกษาวิจัย พบว่า รูปแบบของการบริหารจัดการกลุ่ม การผลิต และการจัดการธุรกิจ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มเกษตรกรปลูกดอกเก็กฮวยของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ จังหวัดเชียงราย แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. รูปแบบของการบริหารจัดการมี 3 ด้าน คือ 1) ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการ ประธานกลุ่มมาจากการเลือกตั้ง การเลือกคณะกรรมการมาจากตัวแทนของหมู่บ้านและได้รับการรับรองจากสมาชิก 2) ด้านการประชุม มีการกำหนดประชุมคณะกรรมการ 4-5 ครั้งต่อปีและประชุมสมาชิก 3-4 ครั้งต่อปี มีบันทึกรายงานการประชุมและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและสมาชิก และ 3) ด้านเงินทุนของกลุ่ม เน้นระดมเงินทุนจากสมาชิกกลุ่มเป็นหลัก และมีการบันทึกทะเบียนหุ้น  2. รูปแบบการผลิตมี 2 ด้าน คือ 1) ด้านกระบวนการผลิต เป็นการปลูกที่ปลอดสารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักสมุนไพร ซื้อต้นกล้าพันธุ์จากโครงการหลวงสะโงะ เน้นการปลูกตามศักยภาพและใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก และ 2) ด้านเทคนิคการผลิต ใช้การตัดแต่งกิ่งและใช้น้ำหมักสมุนไพรในการป้องกันโรคและแมลง จะเก็บดอกเก๊กฮวยเมื่อดอกบาน 70% ดอกจะมีกลิ่นหอมมากที่สุด ช่วงเวลาเก็บดอกต้องรอให้น้ำค้างแห้งก่อนเพื่อไม่เกิดการเน่าเสีย และดอกที่เก็บจะใส่ในถุงผ้าดิบและไม่วางบนพื้นดินเพื่อความสะอาดปลอดภัย 3. รูปแบบการจัดการธุรกิจมี 3 ด้าน คือ 1) การจัดการกลุ่มธุรกิจ มีการกำหนดแผนการประชุมร่วมกันเป็นประจำและต่อเนื่อง และมีการบันทึกรายละเอียดข้อมูลการผลิตอย่างชัดเจนเพื่อนำไปวางแผนการผลิตของกลุ่มในปีต่อไป 2) การจัดการเพื่อรวมกันซื้อ มีการวางแผนการจัดหาปัจจัยการผลิตมาขายแก่สมาชิกเพื่อให้ซื้อได้ในราคาที่ต่ำลงและขายให้สมาชิกในราคาที่เหมาะสม และ 3) การจัดการเพื่อรวมกันขาย ซึ่งเบื้องต้นกลุ่มขายตามราคาที่กำหนดให้กับโครงการหลวงสะโงะ โดยกลุ่มจะวางแผนการปลูกเองตามความสามารถในการดูแลและการเก็บเกี่ยว ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยนี้คือ ได้แนวทางในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรปลูกดอกเก็กฮวย ตั้งแต่การผลิต การเก็บเกี่ยว การแปรรูป และการตลาด ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ จังหวัดเชียงราย แบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-09-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-08-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนากลุ่มเกษตรกรปลูกดอกเก็กฮวยของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ จังหวัดเชียงราย แบบมีส่วนร่วม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
31 สิงหาคม 2557
การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน กลุ่มเกษตรกร ประจำปี 2559 รายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน กลุ่มเกษตรกร ประจำปี 2561 โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรในชุมชนจังหวัดนครปฐม องค์ประกอบในการพัฒนาอาชีพเกษตร การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชีวิตของเกษตรกร การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาท้องถิ่น การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก