สืบค้นงานวิจัย
การศึกษากลยุทธ์การผลิตการตลาดผลไม้ (กรณีศึกษา ทุเรียน มังคุด เงาะ)
พงศ์ไท ไทโยธิน, ณภัทร อรุณรัตน์, พงศ์ไท ไทโยธิน, ณภัทร อรุณรัตน์ - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษากลยุทธ์การผลิตการตลาดผลไม้ (กรณีศึกษา ทุเรียน มังคุด เงาะ)
ชื่อเรื่อง (EN): The study on production and marketing strategy for fruit (Case study : Durian Mangosteen Rambutan)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องนี้เป็นการวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์การผลิต การตลาดผลไม้และแนวทางการแก้ไขปัญหาผลไม้ทั้ง 3 ชนิดได้แก่ ทุเรียน มังคุด และเงาะ ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย โดยผลผลิตของผลไม้ทั้ง 3 ชนิดรวมกันในแต่ละปีมีมากกว่า 1,000,000 ตัน และสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรปีละประมาณ 10,000 – 20,000 ล้านบาท ทั้งนี้ผลจากการศึกษาพบว่า ปัญหาการผลิตผลไม้ที่สำคัญของประเทศไทยในส่วนของทุเรียน มังคุด และเงาะ ได้แก่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการดูแลสวนเพื่อให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพดี มีเกรดและขนาดตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในคุณภาพผลผลิตของผู้บริโภค ประกอบกับต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าปัจจัยการผลิต เช่น ค่าปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรมีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการสวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายเนื่องจากเก็บเกี่ยวไม่ทัน และค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยวก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทำให้ไม่คุ้มค่าหากต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตขายในช่วงที่ราคาตกต่ำ นอกจากนี้เกษตรกรยังประสบปัญหาโรคพืชและแมลงรบกวน ขาดแคลนแหล่งน้ำและเงินทุนในการพัฒนาแหล่งน้ำ สำหรับปัญหาด้านการแปรรูป ได้แก่ สถาบันเกษตรกรยังขาดอุปกรณ์และเทคโนโลยีในการแปรรูปผลผลิต การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ทำให้การแปรรูปผลไม้ส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปขั้นต้นและดำเนินการโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร สหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน ยังขาดการรับรองมาตรฐานการผลิตซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากนี้สถาบันเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการบริหารจัดการ การจัดจำหน่ายผลผลิตและการตลาดผลไม้แปรรูป สำหรับปัญหาด้านการตลาดที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาราคาที่เกษตรกรขายได้มีราคาตกต่ำในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก สถาบันเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรไม่มีตลาดรองรับปลายทาง เนื่องจากขาดระบบการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ พ่อค้าเป็นผู้กำหนดราคาและประเมินคุณภาพผลผลิต ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาถูกกดราคาจากพ่อค้า นอกจากนี้ผลไม้มีระยะเวลาในการวางจำหน่ายที่จำกัด เนื่องจากเน่าเสียง่ายและมีอายุการเก็บรักษาสั้นเกษตรกรจึงมีอำนาจต่อรองน้อย จากปัญหาและอุปสรรคด้านต่างๆที่เกี่ยวกับผลไม้ รวมทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจผลไม้ของประเทศไทยและคู่แข่งขัน นำมาสู่การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ของผลไม้ไทย โดยมีจุดแข็ง (Strengths) คือ ประเทศไทยมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูกทุเรียน มังคุด และ เงาะ ได้ในหลายพื้นที่ โดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ผลไม้ไทยยังเป็นที่รู้จักกันอย่างดีของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผลไม้นอกฤดูอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันสามารถผลิตทุเรียนนอกฤดูและกำลังศึกษาวิจัยในมังคุด นอกจากนั้นยังมีคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ซึ่งทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์ผลไม้ รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด อย่างเป็นระบบครบวงจร สำหรับจุดอ่อน (Weakness) คือ ผลไม้มีปริมาณและคุณภาพไม่แน่นอนในแต่ละปีและออกสู่ตลาดพร้อมกัน ในลักษณะกระจุกตัว เน่าเสียง่าย ประกอบกับสถาบันเกษตรกรยังขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการเงินทุนและ เทคโนโลยีในการแปรรูปผลไม้ และการส่งออกผลไม้ยังพึ่งพาตลาดจีนเป็นหลักเพียงประเทศเดียว สำหรับโอกาส (Opportunities) คือ ปัจจุบันประเทศไทยมีการลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ เช่น FTA ไทย-จีน, FTA อาเซียน-จีน, AFTA และ JTEPA ซึ่งมีผลทำให้ภาษีนำเข้าผลไม้ลดลงหรือเป็นศูนย์ จึงมีโอกาสขยายมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ได้มากขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกไปยังประเทศจีนและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งทำให้สามารถขนส่งผลไม้ไปยังประเทศจีนได้รวดเร็วขึ้น และส่งออกผลไม้ผ่านการค้าชายแดนได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูป การยืดอายุผลไม้โดยบรรจุภัณฑ์เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่งอย่างต่อเนื่อง เช่น เงาะในถุงสุญญากาศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์แบบ Fresh chill เป็นต้น สำหรับอุปสรรค (Threats) คือ การค้าขายผลไม้กับประเทศจีนเป็นระบบฝากขาย (Consignment) ผู้ส่งออกเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาและผู้นำเข้าผลไม้ในประเทศจีนต้องมีใบอนุญาตการนำเข้า (Import license) ผู้ส่งออกไทยไม่สามารถตั้งร้านจำหน่ายผลไม้ของตนเองในประเทศจีนได้ถ้าไม่มีใบอนุญาต ทั้งนี้จากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของผลไม้ไทย นำมาสู่การจัดทำกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาผลไม้ โดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์ TOWS Matrix โดยกำหนดเป็นกลยุทธ์ดังนี้ กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยเพิ่มสัดส่วนผลไม้คุณภาพดีให้มากขึ้น การเพิ่มสัดส่วนการผลิตผลไม้นอกฤดูกาล และการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการส่งออกผลไม้ผ่านเส้นทางขนส่งทางบกสายใหม่ เช่น เส้นทาง R9 และ R3 กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy) ได้แก่ การเพิ่มสัดส่วนการแปรรูปผลไม้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy) ได้แก่ สร้างช่องทางจำหน่ายผลไม้สดภายในประเทศ เช่น โครงการ 1 จังหวัด 1 DC (Distribution Center) หรือผลไม้เมืองพี่เมืองน้อง เพื่อแลกเปลี่ยนผลไม้ระหว่างภาคเหนือกับภาคตะวันออกและภาคใต้ที่ผลผลิตออกสู่ตลาดใกล้เคียงกัน รวมทั้งเจรจากับรัฐบาลจีนเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าต่างๆ สำหรับกลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy) ได้แก่ การศึกษาวิจัย ตลาดและช่องทางในการขยายโอกาสในการส่งออกผลไม้ไทยในมณฑลต่างๆของประเทศจีนและประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการขยายตลาดในภูมิภาคอาเซียน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษากลยุทธ์การผลิตการตลาดผลไม้ (กรณีศึกษา ทุเรียน มังคุด เงาะ)
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กันยายน 2554
ทดสอบและขยายผลเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตเงาะคุณภาพ การวิจัยในสภาพสวนเพื่อพัฒนาการผลิตมังคุดนอกฤดูจังหวัดนครศรีธรรมราช ความผันแปรใน Phytophthora palmivora (Butl.) Butl. ทุเรียน : ลักษณะรูปร่างและแบบคู่ผสม การผลิตถ่านจากเปลือกมังคุดและผลมังคุดคัดทิ้งหรือมังคุดตกเกรดเพื่อใช้เป็นถ่านกรองน้ำและถ่านดูดซับความชื้นและกลิ่น การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลาป่นระบบประกันคุณภาพ การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี การใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินร่วมกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตทุเรียนในจังหวัดระยอง การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน การศึกษาและวิเคราะห์การผลิตและการตลาดขององุ่นโครงการหลวง การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดทุเรียนของประเทศไทย พ.ศ. 2532-2536

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก