สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาต้นฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตสำคัญบาง จังหวัดปี 2539
ธวัชชัย วรศานต์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาต้นฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตสำคัญบาง จังหวัดปี 2539
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธวัชชัย วรศานต์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาต้นฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตสำคัญบางจังหวัด ปี 2539 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม การใช้เทคโนโลยีการปลูกงา รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขในการปลูกงาของเกษตรกรประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ เกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์ รวม 10 จังหวัด จำนวน 231 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ได้นัดหมาย (Accidental Sampling)เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อหาค่าร้อยละและค่ามัชฌิมเลขคณิต ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 67.1 เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 48.2 ปี จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 อ่านออกเขียนได้ มีอาชีพหลักทำนา อาชีพรองทำไร่ มีสมาชิกในครัวเรื่อนเฉลี่ย 4.8 คน ส่วนใหญ่ร้อยละ 93.9 เคยปลูกงามาก่อน มีสมาชิกในครัวรือนช่วยปลูกงาเฉลี่ย 2.6 คน จ้างแรงงานเตรียมดินเฉลี่ย 1.09 คน จ้างแรงงานปลูกเฉลี่ย 2.05 คน จ้างแรงงานเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 9.9 คน พื้นที่ปลูกงาส่วนใหญ่ร้อยละ 79.2 เป็นของตนเอง ขนาดพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 16.41 ไร่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.7 ไม่ได้กู้เงินมาใช้ในการปลูกงา เกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ยจากการปลูกงา 73.6 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรขายงาได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.10 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 82.7 ไม่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูงา แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมดินไร่ละ 118.15 บาทและค่าจ้างเก็บเกี่ยวงาไร่ละ 222.70 บาท การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาของเกษตรกรพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 73.1 ไถเตรียมดินก่อนแล้วหว่านเมล็ดงาแล้วคราดกลบ พันธุ์ที่ใช้เป็นงาดำแดงและงาดำนครสวรรค์ อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้เฉลี่ย 1.4 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรนิยมปลูกงาต้นฤดูฝนในเดือนเมษายนและมีนาคมเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 65.4 ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวงาโดยสังเกตจากลำต้นงาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบร่วงและแกะฝักดูเมล็ดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล-สีดำ ส่วนใหญ่ร้อยละ 92.6 ใช้เคียวเกี่ยวและเกษตรกรร้อยละ 59.7 บ่มงา 6-10 วัน และส่วนใหญ่ร้อยละ 74.9 ตากงา 5-6 วัน สำหรับการนวดงาของเกษตรกรนั้น ร้อยละ 71.4 จะใช้ไม้เคาะให้เมล็ดงาร่วงหล่นออกจากฝัก สำหรับปัญหาอุปสรรคในการปลูกงาของเกษตรกรนั้น เกษตรกรจะขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดีไว้ใช้ปลูก ต้องจ้างแรงงานในการเตรียมดินปลูกและเกี่ยวในราคาแพง ขาดความรู้เรื่องปุ๋ยเคมีและการป้องกันและกำจัดศัตรูงา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2539
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2539
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาต้นฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตสำคัญบาง จังหวัดปี 2539
กรมส่งเสริมการเกษตร
2539
การยอมรับการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงต้นฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตที่สำคัญบางจังหวัด การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ปี 2539 การใช้เทคโนโลยีการปลูกแตงร้านของเกษตรกรตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ส่งเสริมการผลิตน้ำมันงาผลิตภัณฑ์งาและการปลูกงาที่ถูกสุขลักษณะ แก่ SMEs กลุ่มเคหกิจและเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยใช้ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นฐานฝึกอบรม สภาพการปลูกงาดำของเกษตรกรในจังหวัดมหาสารคาม การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตงาดำ มก.18 สู่เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่าง ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออกจังหวัดพะเยา ปี2547/2548 รายงานการจัดขนาดสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ปี2559 ทัศนคติของเกษตรกรต่อการปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้งโครงการพัฒนาการเกษตรในเขตชลประทาน ปี 2539/2540 จังหวัดร้อยเอ็ด การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวในฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตที่สำคัญบางจังหวัด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก