สืบค้นงานวิจัย
ผลของระดับความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโต และอัตรารอดในการอนุบาลลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766)
มาวิทย์ อัศวอารีย์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของระดับความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโต และอัตรารอดในการอนุบาลลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766)
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Stocking Densities on Growth and Survival of Spotted scat (Scatophagus argus Linnaeus, 1766).
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มาวิทย์ อัศวอารีย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Mavit Assava-aree
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาตะกรับตั้งแต่ระยะวัยอ่อนจนเป็นปลาวัยรุ่นที่ทาให้ลูกปลามีการเจริญเติบโตและอัตรารอดสูง ทาการทดลอง 2 ครั้ง การทดลองครั้งที่ 1 แบ่งช่วงอายุการทดลองออกเป็น 3 ช่วงคืออายุ 2-20 วัน, 21-30 วัน และ 31-40 วัน โดยที่มีระดับความหนาแน่นแตกต่างกัน 4 ระดับในแต่ละช่วงอายุ พบว่าลูกปลาอายุ 20 วัน ที่ระดับความหนาแน่น 30 ตัวต่อลิตร ลูกปลามีขนาดความยาว สูงสุด (0.57?0.14 ซม.) และแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p0.05) ในทุกชุดการทดลอง โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 1.6-2.7 % ช่วงที่ 2 เมื่อลูกปลาอายุ 30 วัน ที่ระดับความหนาแน่น 1 และ 2 ตัวต่อลิตร ลูกปลามีน้าหนักตัวเท่ากับ 0.054?0.03 และ 0.053?0.03 กรัม สูงกว่าที่ ระดับความหนาแน่น 4 ตัว (0.044?0.02 กรัม) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p0.05) โดยอัตรารอดของลูกปลาอายุ 30 วันมีค่าอยู่ระหว่าง 91.0-95.7 % และช่วงที่ 3 เมื่อลูกปลาอายุ 40 วัน ที่ระดับความหนาแน่น 0.5 ตัวต่อลิตร มีความยาวและน้าหนักสูงสุด (1.77?0.12 ซม, และ 0.22?0.04 กรัม) แตกต่างกับที่ระดับความหนาแน่น 1, 1.5 และ 2 ตัวต่อลิตรอย่างมีนัยสาคัญ (p0.05) โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 98.7-99.8 % ในการทดลองครั้งที่ 2 แบ่งชุดการทดลองออกเป็น 3 ช่วง คือ 2-20 วัน, 21-40 วัน และ 41-60 วัน แต่ละช่วงอายุการทดลองแบ่งระดับความหนาแน่นเป็น 4 ระดับเช่นเดียวกัน ผลการศึกษาพบว่า ลูกปลาอายุ 20 วันทั้ง 4 ระดับความหนาแน่น 10, 20 30 และ 40 ตัวต่อลิตรไม่มีความแตกต่างกันทั้งด้านความยาว น้าหนัก และอัตรารอด (p>0.05) โดยมีอัตรารอดเมื่ออายุ 20 วัน มีค่าอยู่ระหว่าง 1.4-1.8 % แต่เมื่ออายุ 40 วัน พบว่า การอนุบาล ลูกปลาที่ระดับความหนาแน่น 1 ตัวต่อลิตรมีความยาวและน้าหนักตัวเท่ากับ2.08?0.17 ซม. และ 0.32?0.08 กรัม สูงกว่าที่ระดับความหนาแน่น 2, 3 และ 4 ตัวต่อลิตรอย่างมีนัยสาคัญ (p<0.05) แต่อัตรารอดของลูกปลาที่ระดับความหนาแน่น 2, 3 และ 4 ตัวต่อลิตร สูงกว่าที่ 1 ตัวต่อลิตร (95.6%) อย่างมีนัยสาคัญ (p<0.05) และเมื่ออายุ 60 วัน พบว่าการอนุบาลที่ระดับความหนาแน่น 0.5 ตัวต่อลิตร มีน้าหนักตัวเท่ากับ 0.39?0.12 กรัม สูงกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสาคัญ (p<0.05) ขณะที่ไม่มีความแตกต่างกันของอัตรารอดในทุกชุดการทดลอง โดยอัตรารอดของลูกปลาเมื่ออายุ 60 วันมีค่าอยู่ระหว่าง 99.5-99.8 % ผลการทดลองทั้งสองครั้งแสดงให้เห็นว่าลูกปลาตะกรับในช่วงวัยอ่อนอายุ 20 วันยังมีอัตรารอดที่ต่ามาก แต่หลังจากอายุ 20 วันขึ้นไปสามารถอนุบาลลูกปลาตะกรับที่ความหนาแน่นสูงโดยอัตรารอดของลูกปลาไม่มีความแตกต่างกันและสามารถปรับความหนาแน่นของลูกปลาเมื่ออายุ 20 วันขึ้นไปคาสาคัญ: ปลาตะกรับ ลูกปลาวัยอ่อน ความหนาแน่น อัตรารอด
บทคัดย่อ (EN): Experiments on stocking density of spotted scat, Scatophagus argus from larvae to juvenile were conducted for suitable growth and survival rate. The experiment was done for two trials. The first trial, three periods of larvae 2-20, 21-30 and 31-40. days old were tested. Each period of testing composed four different densities. The result at 2-20 days old showed that larvae nursing at 30 ind./L have length, width and weight higher than larvae nursing at 10, 20 and 40 ind. /L significant differently (p0.05). For larvae at 21-30 days old, nursing densities at 1 and 2 ind,/L showed significantly higher weight than 4 ind./L (p0.05). The survival rates of larvae. nursing at 1, 2, 3 and 4 ind./L were range from 91.0-95.7%. For larvae at 31-40 days old, nursing density at 0.5 ind./L showed significantly higher length and weight than 1.0, 1.5 and 2.0. ind./L while survival rate of four densities range from 98.7-99.8% were no significant (p>0.05). The second trial, three periods of larvae 2-20, 21-4. 0 and 41-60 days old were tested. Each period was also having four different densities. The result at 2-20 days old showed that larvae nursing at 10, 20, 30 and 40 ind./L were not significantly difference (p> 0.05) in length weight and survival rate. The survival rates of four densities were range between 1.4-1.8%. For larvae at 21-40 days old, nursing densities at 1 ind./L showed significantly higher length and weight than 3 ind. /L (p<0.05). However, the survival rate of 3 ind./L (99.1%) was higher than larvae nursing at 1 ind./L (95.6%) significance different (p<0.05). For larvae at 41 -60 days old, nursing at 0.5 ind./L have width and weight higher than others densities (p<0.05). Whereas there were not significantly difference on survival among four densities (0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 ind./L). . The Aquaculture Research and Development Center, Coastal Region 6 (Songkhla) Annual Report 201953survival of larvae age 41-60 days old were between 99.5-99.8%. From this study it showed that we able to nurse s. potted scat larvae at high density on each period of age without significantly difference on survival rate. We also can adjust density level of larvae at 20 and 40 days old.Keywords : Spotted scat, Scatophagus argus, fish larvae, stocking density, survival.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 111,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระดับความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโต และอัตรารอดในการอนุบาลลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766)
กรมประมง
31 ธันวาคม 2554
กรมประมง
การเจริญเติบโตและอัตรารอดของลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) ที่อนุบาลด้วยอาหารสำเร็จรูปเสริมด้วยสาหร่ายไส้ไก่ (Ulva intestinalis) อัตรารอดตายของการอนุบาลลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766)ที่ปรับลดความเค็ม 4 รูปแบบ ผลความหนาแน่นของการเลี้ยงปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) ในกระชังที่แขวนบ่อดิน การอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามในอัตราความหนาแน่น 3 อัตรา การอนุบาลลูกปลากดหินวัยอ่อนด้วยอัตราความหนาแน่นต่างระดับ การอนุบาลลูกปลากระดี่มุกวัยอ่อนที่ความหนาแน่น 3 ระดับ ผลของระดับโปรตีนและไขมันในอาหารผสมสำเร็จรูปต่อการเจริญเติบโตและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) ผลการให้อากาศและความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดในการอนุบาลลูกปลานิลแปลงเพศ การอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามจากระยะ post larvae ให้ได้ขนาด 2 เซนติเมตร ที่ระดับความหนาแน่นต่างกัน การอนุบาลปลาสร้อยเกล็ดถี่ในอัตราความหนาแน่นต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก