สืบค้นงานวิจัย
การผลิตโอลิโกแซคคาไรด์จากเฮมิเซลลูโลสที่ละลายในน้ำและในด่างจากผลผลิตพลอยได้จากข้าวโดยกระบวนการทางเอนไซม์ร่วมกับไมโครเวฟ และประสิทธิภาพต่อแบคทีเรียโพรไบโอติกภายใต้สภาวะจำลองระบบย่อยอาหาร
วรรณพร คลังเพชร อุเอโนะ - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การผลิตโอลิโกแซคคาไรด์จากเฮมิเซลลูโลสที่ละลายในน้ำและในด่างจากผลผลิตพลอยได้จากข้าวโดยกระบวนการทางเอนไซม์ร่วมกับไมโครเวฟ และประสิทธิภาพต่อแบคทีเรียโพรไบโอติกภายใต้สภาวะจำลองระบบย่อยอาหาร
ชื่อเรื่อง (EN): Production of water-soluble and alkali-soluble hemicelluloses-derived oligosaccharides from rice production residues by microwave-assisted enzymatic hydrolysis and their effects on behaviors of probiotic bacteria under simulated gastrointestinal conditions
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วรรณพร คลังเพชร อุเอโนะ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: แกลบและฟางข้าวเป็นวัสดุพลอยได้ที่มีปริมาณมหาศาลจากอุตสาหกรรม ผลิตข้าว โดยอุดมไปด้วยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน และเฮมิเซลลูโลสของแกลบและฟางประกอบไปด้วยอะราบิโนไซแลน (AX) งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการไมโครเวฟในการปรับสภาพวัสดุชีวมวลทั้งสองเพื่อการสกัด AX เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตไซโลโอลิโกแซคคาไรด์ (XOS) โดยกระบวนการทางเอนไซม์วัสดุชีวมวลที่ได้สกัดสารที่ไม่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ออกไปแล้ว ได้ถูกนํามาเข้าสู่กระบวนการไมโครเวฟ โดยศึกษาสภาวะของอุณหภูมิที่ 140-180°C เป็นระยะเวลา 5-15 นาที จากนั้นจึงนําไปสกัด AX โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 4% พบว่า เมื่อให้ความร้อนด้วยกระบวนการไมโครเวฟที่ 180°C เวลา 15 นาที สําหรับแกลบ และ 160°C เวลา 10 นาที สําหรับฟาง ทําให้สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตของ AX รวมถึงปริมาณน้ําตาลไซโลสและอะราบิโนสซึ่งเป็นองค์ประกอบใน AX ด้วย จากนั้นเมื่อนํา AX ที่ผ่านการทําให้บริสุทธิ์ไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิต XOS โดยบ่มร่วมกับเอนไซม์ไซลาเนสทางการค้าชนิด Pentopan mono BG (BG) และ Ultraflo Max (UM) ที่สภาวะความเข้มข้นเอนไซม์ 50-300 U/g AX อุณหภูมิ 50°C ค่า pH 6.0 เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ผล HPAEC แสดงให้เห็นว่าแกลบที่บ่มร่วมกับ UM สามารถให้ผลผลิตน้ําตาลโอลิโกแซคคาไรด์ที่มีไซโลไบโอส และไซโลไตรโอส เป็นองค์ประกอบหลัก ที่ปริมาณ 2205.2 และ 1288.4 ppm ตามลําดับ รวมถึงพบไซโลเตตระโอส ไซโลเพนทาโอส ไซโลเฮสะโอส และอะราบิโนไซโลโอลิโกแซคคาไรด์รวมอยู่ด้วย (RH-XOS) ทั้งนี้เมื่อนํา RH-XOS ไปทดสอบการเป็นพรีไบโอติกสําหรับจุลินทรีย์แลคโตบาซิลไลและไบฟิโดแบคทีเรีย พบว่ามีดัชนีพรีไบโอติกเทียบเท่าหรือสูงกว่า XOS ทางการค้า และจุลินทรีย์กลุ่มนี้ยังสามารถผลิตกรดไขมันสายสั้นได้ในปริมาณที่โดดเด่น นอกจากนี้ยังพบว่า RH-XOS ที่ได้มีความสามารถในการต้านทานต่อการย่อยใ นสภาวะจําลองการย่อยอาหารได้ถึงกว่า 90% ซึ่งแสดงถึงศักยภาพการเป็นพรีไบโอติกของผลิตภัณฑ์
บทคัดย่อ (EN): Rice husk and rice straw are by-products from rice production process. They were rich in cellulose, hemicellulose and lignin. Their hemicellulose mainly composes of arabinoxylan (AX). This research aimed to investigate the potential of microwavepretreatment in AX extraction from both rice husk and rice straw and use the AX as a substrate to produce xylooligosaccharides (XOS) by enzymatic hydrolysis. The extractive-free biomass was pretreated by microwave process at 140-180°C for 5-15 min then the AX was extracted with 4% sodium hydroxide. For rice husk and rice straw, using microwave at 180°C for 15 min and 160°C for 10 min, respectively increased AX yield as well as xylose and arabinose content in the AX. The purified AX was then used as a substrate for XOS production by two commercial xylanases of Pentopan mono BG and Ultraflo Max, at the enzyme concentration of 50-300 U/g AX (50°C, pH 6.0) for 24 h. HPAEC results revealed the ability of Ultraflo Max incubated with rice husk to give xylobiose and xylotriose as main oligosaccharides for 2205.2 and 1288.4 ppm, respectively with xylotretraose xylopentaose xylohexaose and some AXOSs (RH-XOS). In addition, the RH-XOS highly exhibited Prebiotic Index for Lactobacillus spp. and Bifidobacterium spp. which are proved to produce short chain fatty acids. Furthermore, the RH-XOS resisted to the simulated gastrointestinal condition for more tha 90% proving prebiotic potentials.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561-07-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2563-07-01
เอกสารแนบ: http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=MRG6180290
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตโอลิโกแซคคาไรด์จากเฮมิเซลลูโลสที่ละลายในน้ำและในด่างจากผลผลิตพลอยได้จากข้าวโดยกระบวนการทางเอนไซม์ร่วมกับไมโครเวฟ และประสิทธิภาพต่อแบคทีเรียโพรไบโอติกภายใต้สภาวะจำลองระบบย่อยอาหาร
มหาวิทยาลัยนเรศวร
1 กรกฎาคม 2563
เอกสารแนบ 1
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สรุปชุดโครงการวิจัย การเฝ้าระวังการดื้อสารต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียและการศึกษากลไกทางเภสัชเพื่อกำหนดการใช้สารต้านจุลชีพในสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ปีงบประมาณ 2546 - 2548 การผลิต ทำบริสุทธิ์ และศึกษาคุณสมบัติของเอนไซม์กลุ่มเซลลูเลสจากแบคทีเรียในการย่อยสลายวัสดุทางการเกษตร การใช้แบคทีเรียโพรไบโอติกเพื่อควบคุมโรค black disease ในไรน้ำนางฟ้าไทย, Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002 การจำแนกชนิดและปริมาณของโอลิโกแซคคาไรด์ในผักผลไม้ และศึกษาคุณสมบัติการเป็นพรีไบโอติก รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง การผลิตโอลิโกแซคคาไรด์โดยวิธีการทางเอนไซม์จากอะราบิโนไซแลนในรำสกัดน้ำมันที่ผ่านการสกัดโปรตีนและการศึกษาศักยภาพการเป็นพรีไบโอติกภายใต้สภาวะจำลองการย่อยอาหาร ประสิทธิภาพการผลิตแพะตามกิจกรรมศูนย์ผลิตและกระจายแพะพันธุ์ดี อิทธิพลของธาตุอาหารพืชไนโตรเจนที่ตรึงในดินต่อผลผลิตข้าว การออกแบบกระบวนผลิตข้าวชนิดเพิ่มความนุ่มโดยใช้แบบจำลอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก