สืบค้นงานวิจัย
โครงการสำรวจ รวบรวม อนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไหมป่าเพื่อใช้ประโยชน์
สุทธิสันต์ พิมพะสาลี1, ดนัย นาคประเสริฐ2, วิโรจน์ แก้วเรือง1, วสันต์ นุ้ยภิรมย์3, โกวิทย์ พงษ์แสวง1 - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: โครงการสำรวจ รวบรวม อนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไหมป่าเพื่อใช้ประโยชน์
ชื่อเรื่อง (EN): Survey, Collection and Conservation of Wild Silkmoths Project
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
คำสำคัญ: พันธุกรรมไหมป่า
บทคัดย่อ: จากการศึกษาสำรวจ รวบรวมเชื้อพันธุกรรมไหมป่าสกุล Samia สกุล Antheraea และ Bombyx mandarina (Moore, 1872) โดยใช้กับดักแสงไฟและเดินสำรวจเก็บตัวหนอน หรือไข่ที่พบมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ในพื้นป่าไม้และเขตการเกษตรของจังหวัดน่าน เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก หนองคาย อุดรธานี นครราชสีมา สระบุรี นครนายก จันทบุรี และกาญจนบุรี นำตัวเต็มวัยที่ได้มาจำแนกชนิด โดยพบผีเสื้อไหมป่าสกุล Samia จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ Samia kohlli Naumann & Peigler, 2001 และ Samia canningi Hutton, 1859 และยังพบตัวหนอนของผีเสื้อไหมป่า S. canningi กัดกินอยู่บนต้นมะแขว่น (Zanthoxylum rhetsa (Roxb.)) บริเวณอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผีเสื้อไหมป่าสกุล Antheraea พบทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ Antheraea (Antheraea) helferi Moore, 1859 และ Antheraea (Antheraea) pedunculata Bouvier, 1936 โดยพบไข่ ตัวหนอน และดักแด้ของ A. (A.) pedunculata บนต้นรังในพื้นที่อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนผีเสื้อไหมป่า B. mandarina ไม่พบทั้งตัวเต็มวัยและตัวหนอนจากการสำรวจ เมื่อตรวจเอกสารพบว่าผีเสื้อไหมป่าชนิดนี้มีเขตการแพร่กระจายอยู่ทางประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี จึงคาดว่าเขตการแพร่กระจายอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งผีเสื้อไหมป่า B. mandarina มีความแข็งแรงทนต่อโรค เมื่อนำมาผสมกับพันธุ์ไหมที่เลี้ยงในปัจจุบันจะทำให้ได้พันธุ์ไหมที่ได้มีความสามารถต้านทานทนต่อเชื้อโรคได้มากกว่าไหมที่เลี้ยงอยู่ในปัจจุบัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://qsds.go.th/newosrd/wp-content/uploads/sites/115/2021/08/2551-24.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการสำรวจ รวบรวม อนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไหมป่าเพื่อใช้ประโยชน์
กรมหม่อนไหม
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมหม่อนไหม
สำรวจ รวบรวม อนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไหมเพื่อการใช้ประโยชน์ ข้อมูลบางประการของไหมป่า การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ การรวบรวมอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไหมชนิดฟักปีละ 2 ครั้ง การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม่ป่าในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ การรวบรวมและจำแนกศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ไหมเพื่อการใช้ประโยชน์ การใช้รังสีแกมมาเพื่อเพิ่มผลผลิตของไหมพันธุ์ไทย การสำรวจการเลี้ยงไหมวัยอ่อนแบบรวมกลุ่มที่นิคมสร้างตนเองพิมาย การจัดแผนผังทางพันธุกรรมของพริกในเชื้อพันธุกรรมแม่โจ้และการระบุดีเอ็นเอเครื่องหมายที่มีความสัมพันธ์กับยีนที่ควบคุมลักษณะทางการเกษตรโดยวิธี Bulked Segregant Analysis การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก