สืบค้นงานวิจัย
ผลของกระแสน้ำ,ระยะเวลา ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต คุณภาพ และวัยเจริญพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำที่เลี้ยงในบ่อดิน
ธวัชชัย ทองน้อย, สุพล ตั่นสุวรรณ, มีชัย แก้วศรีทอง - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของกระแสน้ำ,ระยะเวลา ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต คุณภาพ และวัยเจริญพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำที่เลี้ยงในบ่อดิน
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Water Current, Different Time on Growth, Quality and Maturity Stage of Broodstock of Black Tiger Shrimp Cultured in Earthen Ponds.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในบ่อดินโดยใช้การจัดวางใบพัดตีน้ำให้มีการไหลเวียนของกระแสน้ำในบ่อที่แตกต่างกัน ช่วงที่ 1 อายุกุ้งตั้งแต่ 121 – 360 วันเลี้ยงในบ่อดินขนาด 1,600 ตารางเมตร จำนวน 6 บ่อ ชุดการทดลองละ 3 บ่อ ชุดการทดลองที่ 1 ติดตั้งเครื่องตีน้ำ จำนวน 4 แขนๆละ 10 ใบ (รวม 40 ใบ) ชุดการทดลองที่ 2 ติดตั้งใบพัดจำนวน 8 แขนๆละ 10 ใบ (รวม 80 ใบ) กุ้งที่ใช้ในการทดลองอายุ 120 วัน กุ้งเพศผู้มีขนาด ยาวเฉลี่ย 13.13 ? 1.56 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 16.89 ? 5.07 กรัม และกุ้งเพศเมียมีขนาด ยาวเฉลี่ย 13.91 ? 1.62 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 19.80 ? 6.32 กรัม แต่ละบ่อเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นรวม 5 ตัวต่อตารางเมตร (กุ้งเพศผู้ 4,000 ตัว, กุ้งเพศเมีย 4,000 ตัว) เมื่อเลี้ยงครบ 360 วัน ย้ายกุ้งแต่ละบ่อของแต่ละชุดการทดลอง ไปเลี้ยงในบ่อดินขนาด 400 ตารางเมตร จำนวน 6 บ่อ ชุดการทดลองละ 3 บ่อ โดยชุดการทดลองที่ 1 จัดวางใบพัดตีน้ำ 1 แขน จำนวน 5 ใบ ชุดการทดลองที่ 2 จัดวางใบพัดตีน้ำ จำนวน 2 แขนๆละ 5 ใบ (รวม 10 ใบ) ให้กินอาหารเม็ดสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงกุ้งกุลาดำ วันละ 4 มื้อ และเมื่อกุ้งอายุครบ 7, 11 และ 15 เดือน เสริมด้วยอาหารสด 1 มื้อเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อการพัฒนาการของเซลล์สืบพันธุ์ ส่วนกุ้งในบ่อดินเลี้ยงจนอายุครบ 16 เดือน เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าชุดการทดลองที่ 1 กุ้งเพศผู้มีขนาด ยาวเฉลี่ย 20.97 ? 0.29 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 68.27 ? 1.33 กรัม และกุ้งเพศเมียมีขนาด ยาวเฉลี่ย 22.63 ? 0.62 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 93.24 ? 7.48 กรัม และชุดการทดลองที่ 2 กุ้งเพศผู้มีขนาด ยาวเฉลี่ย 21.26 ? 0.22 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 70.41 ? 2.41 กรัม และกุ้งเพศเมียมีขนาด ยาวเฉลี่ย 23.10 ? 0.60 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 100.86 ? 4.65 กรัม ผลปรากฏว่า ชุดการทดลองที่ 2 มีอัตราการรอดตาย และผลผลิตดีกว่า แต่มีต้นทุนสูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P?0.01) ส่วนอัตราการเจริญเติบโต อัตราส่วนเพศ อัตราการผสม ในแต่ละช่วงเวลาไม่แตกต่างกัน (P?0.05) คัดเลือกแม่กุ้งที่มีอายุครบ 8 12 และ 16 เดือน และได้รับการผสมในแต่ละบ่อของทั้งสองชุดการทดลองมาเหนี่ยวนำให้มีการพัฒนารังไข่โดยการตัดตาในบ่อคอนกรีต ให้อาหารสดเพรียงทราย เป็นระยะเวลา 20 วัน พบว่าทั้งสองชุดการทดลองแม่กุ้งที่มีช่วงอายุเท่ากัน มีอัตราการพัฒนาการของรังไข่ จำนวนไข่ต่อแม่ จำนวนนอเพลียส และอัตราฟัก ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P?0.05) แต่พบว่าอัตราการพัฒนาการของรังไข่ และจำนวนไข่ต่อแม่มีความผันแปรตามขนาดและอายุของแม่กุ้ง และพบว่าการเปลี่ยนแปลงของความเค็มของน้ำมีผลต่อการพัฒนาการของรังไข่ของแม่กุ้งรวมทั้งอัตราการฟักไข่
บทคัดย่อ (EN): Experiment on comparative effect of water current and different time on growth, quality and maturity stage of broodstock of Black tiger shrimp (Penaeus monodon Fabricius,1798), first period (121-360 days, age shrimp) was conducted in 6 earthen ponds (1,600 m2) divided into 2 treatments and 3 replications. The first treatment was used the paddle wheel for add dissolve oxygen and water circulation about 40 wheels while the second was used the paddle wheel about 80 wheels. Stocking rate of each pond was 5 shrimps/m2 (male 4,000 individuals, female 4,000 individuals). Initial total length and weight of Black tiger shrimp (120 days old), male was 13.13 ? 1.56 cm and 16.89 ? 5.07 g, and female was 13.91 ? 1.62 cm and 19.80 ? 6.32 g. The second period (361-480 day old) was transfer of shrimps each replication pond of treatment to culture in a new pond (400 m2) The first treatment was used the paddle wheel for add dissolve oxygen and water circulation about 5 wheels while the second was used the paddle wheel about 10 wheels. Both treatments were fed with pellet feed for 4 times daily. After 7, 11 and 15 months old, the shrimps were supplemented with fresh feed for 1 time and pellet feed for 3 times daily around 1 month for gonad development. At the end of culture period for experiment was 16 months, the first treatment showed total length and weight of male was 20.97 ? 0.29 cm and 68.27 ? 1.33 g, and female was 22.63 ? 0.62 cm and 93.24 ? 2.48 g. The second treatment showed, male was 21.26 ? 0.22 cm and 70.41 ? 2.41 g, and female was 23.10 ? 0.60 cm and 100.86 ? 4.65 g respectively. The results showed that there was no significant difference (P?0.05) between treatment 1 and 2 for growth rate, sex ratio, copulation rate, However, survival rate, production and cost of the second treatment was significantly highly (P?0.01) than the first treatment. The copulated females (8, 12 and 16 month old) were brought to induce ovarian maturation by eyestalk ablation raising in concrete tanks and fed with sand worm. It was found that the ovarion maturation rate, average number of eggs, average number of nauplii and hatching.rate in the same age was no significant difference (P?0.05) between treatment 1 and 2 .But the ovarion maturation rate and average number of eggs was higher followed size and age of spwaner. Both treatments, variables salinity of water showed its significant of factor influencing to the ovaries development and hatching rate.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของกระแสน้ำ,ระยะเวลา ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต คุณภาพ และวัยเจริญพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำที่เลี้ยงในบ่อดิน
กรมประมง
30 กันยายน 2551
กรมประมง
การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ร่วมกับกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis De Man, 1888) และกุ้งขาวแปซิฟิค (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ในบ่อดิน ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน การวิจัยรูปแบบโครงการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยแบบพัฒนาโดยใช้ระบบรีไซเคิลผสมผสานกับระบบมีนเกษตร การศึกษาการเพาะเลี้ยงกุ้งฝอยที่ระดับความหนาแน่นของพ่อแม่พันธุ์ที่แตกต่างกันในบ่อดินขนาดเล็ก (วิจัยประยุกต์) สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) 1พ.ค. 54 -30 ก.ย. 54 ผลผลิตและการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำที่เลี้ยงในระบบปิดหมุนเวียนด้วยชีวภาพร่วมกับการใช้จุลินทรีย์ การศึกษาวัสดุคลุมดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศของสตรอเบอรี 2 สายพันธุ์ การเจริญเติบโตและการรอดตายของปูม้าพันธุ์บ้านรุ่นที่ 1 โดยวิธีการเลี้ยงแบบรวมเพศและแยกเพศในบ่อดิน ระบบการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เพื่อการผลิตสายพันธุ์ปลาบึก ศึกษาการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การศึกษาการเลี้ยงปลาพลวงหินในบ่อซีเมนต์เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก