สืบค้นงานวิจัย
สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนา ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
ภิสศิริ อมรอมตกุล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนา ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ภิสศิริ อมรอมตกุล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สภาพปัญหาความต้องการ และข้อเสนอแนะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนา ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 353 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 188 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ชนิดโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าตํ่าสุด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 48.36 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.22 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.37 คน มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 18.76 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เป็นของตนเองเฉลี่ย 12.17 ไร่ เกษตรกรทั้งหมดประกอบอาชีพทำนา มีอาชีพรองรับจ้าง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนเหนียว ใช้นํ้าฝนและนํ้าชลประทานในการทำนา เกษตรกรใช้ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ปลูกข้าวโดยวิธีทำนาดำ และนาหว่าน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 479.47 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว และบางส่วนใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยมูลไก่อัดเม็ด ใส่โดยวิธีหว่านในช่วงเดือนมิถุนายน โดยใส่เฉลี่ย 21.04 กิโลกรัมต่อไร่ มีการใช้ปุ๋ยคอกเฉลี่ย18.57 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้นํ้าหมักชีวภาพน้อยกว่า 0.5 ลิตรต่อไร่ ใช้ปุ๋ยหมักเฉลี่ย 28.33 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมีการซื้อปุ๋ยจากกลุ่มของเกษตรกรทำนาพลับพลา และร้านค้า ส่วนปัญหาในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว พบว่ามีปัญหาการขาดแรงงาน การผลิตยุ่งยาก ปริมาณไม่เพียงพอ เกษตรกรมีความต้องการเกี่ยวกับให้ทางราชการจัดหาปุ๋ยอินทรีย์มาจำหน่ายในราคาถูก หาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยตํ่า เพื่อใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จัดทัศนศึกษาดูงานแปลงที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ประสบผลสำเร็จ ส่วนข้อเสนอแนะของเกษตรกรได้แก่การให้เจ้าหน้าที่มีการจัดอบรมการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แก่เกษตรกรให้ทั่วถึง มีการจัดแปลงทดสอบ เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ผู้ทำการศึกษาเสนอแนะให้มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มีการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้น การศึกษาครั้งต่อไปเปรียบเทียบผลผลิตข้าวจากการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนา ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรตำบลบ้านแร่ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมบางประการสำหรับพัฒนาการผลิตพลับในประเทศไทย สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2546 ตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงดินในนาข้าวของเกษตรกรตำบลตองปิด อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลคำม่วง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก