สืบค้นงานวิจัย
การผลิต cucuminoids จากการเพาะเลี้ยงแคลลัสขมิ้นชัน
ปวีณา ฉัตรสูงเนิน - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การผลิต cucuminoids จากการเพาะเลี้ยงแคลลัสขมิ้นชัน
ชื่อเรื่อง (EN): Production of curcuminoids from callus culture of turmeric (Curcuma longa linn.)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปวีณา ฉัตรสูงเนิน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Paweena Chatsungnoen
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ในศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขมิ้นชัน (Curcuma longa Linn.) ได้ทำการชักนำให้ชิ้นส่วนลำต้นอ่อนเกิดแคลลัสโดยผันแปรสภาพแสง (ที่มืดและมีแสง) อายุของชิ้นสวนตั้งต้น (30, 60 และ 90 วัน) ลักษณะการตัดแบ่งชิ้นส่วนตั้งต้น (2 และ 4 สวนตามยาว) และระดับความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโต 2,4-D (0, 0.5, 1.0, 3.0 และ 5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร) ร่วมกับ BA (0 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร) พบว่า วิธีการที่เหมาะสมในการซักนำให้เกิดแคลลัส คือ การใช้ชิ้นส่วนลำต้นอ่อนอายุ 60 วัน ที่ตัดแบ่งตามยาวออกเป็น 2 ส่วน และเพาะเลี้ยงบนอาหารที่มี 2,4-D 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร แล้วเก็บเนื้อเยื่อไว้ในสภาพมืด สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้รวดเร็ว มีเปอร์เซนต์การเกิดแคลลัสสูง และแคลลัสมีการเจริญเติบโตดี สวนในการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณแคลลัสที่ชักนำได้ด้วยการผันแปรระดับความเข้มข้นของซูโครส (20. 30, 40 และ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร) และสภาพแสง (ที่มีดและมีแสง) ปรากฎว่า แคลลัสที่ได้รับรูโครส 50 กรัมต่อลิตร และเลี้ยงในที่มืดมีการเจริญเติบโตดีที่สุด โดยมีน้ำหนักแห้งสูงที่สุด 5 1.1 มิลลิกรัมกรัมต่อกรัมน้ำหนักสด เมื่อทำการศึกษาผลของปัจจัยต่างๆ แยกกัน ได้แก่ 2.4-D ซูโครส และระดับความเป็นกรดเป็นด่างในอาหารต่อการเจริญเติบโตและการผลิตสารกลุ่ม curcuminoids ของแคลลัสขมิ้นชัน ในด้านการเจริญเติบโต พบว่า แคลลัสที่ได้รับ 2,4-D 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ซูโครส 30 กรัมต่อลิตร และเลี้ยงในระดับความเป็นกรดเป็นด่าง 5.8 มีการเจริญเติบโตดีที่สุด โดยมีน้ำหนักแห้งสูงที่สุด 41.9 6.83 และ 6.75 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ ส่วนด้านการผลิตสารกลุ่ม curcuminoids พบสารหลัก คือ curcumin ซึ่งแคลลัสที่ไม่ได้รับ 2,4-D (2.4-D 0 มิลลิกรัมต่อลิตร) ได้รับซูโครส 30 กรัมต่อลิตร และเลี้ยงที่ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง 5.8 มีปริมาณสาร curcumin สูงที่สุด 0.47, 0.47 และ 0.67%น้ำหนักแห้ง ตามลำดับ สำหรับการนำสารสกัดหยาบจากแคลลัสขมิ้นชันมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียเปรียบเทียบกับสารสกัดหยาบจากเหง้าที่ปลูกในสภาพธรรมชาติและใบของต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่า สารสกัดหยาบทุกชนิดไม่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมลบได้ทั้งหมด ได้แก่ Pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli O157:H7 แต่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมบวกได้ยกเว้นสารสกัดจากใบโดยสารสกัดจากแคลลัสสามารถยับยั้งได้เฉพาะ Bacillus subtiis TISTR 008 และ Staphylococcus aureus TISTR 029 สารสกัดจากเหง้าธรรมชาติสามารถยับยั้งได้ทั้งหมด คือ Bacilus subtiis TISTR 008 Staphylococcus aureus TISTR 029 และ TISTR 885
บทคัดย่อ (EN): In the study of turmeric (Curcuma longa Linn.) tissue culture, factors related to callus initiation from young stem explants were investigated included light conditions (dark and light), ages of explants (30, 60 and 90 days), excision of explants (2- and 4-longitudinal cut) and growth regulators (0, 0.5, 1.0. 3.0 and 5.0 mg/L 2,4-D and 0 and mg/L BA).Results showed that the most appropriate method for callus induction the use of 60 days old stem explants which were cut longitudinally into 2 parts and cultured on the medium containing 0.5 mg/L 2,4-D in the dark. These explants produced callus at the fastest rate with highest percentage of callus induction that showed good growth. On callus multiplication using varying amounts of sucrose (20,30, 4 mg/L) and light conditions (dark and light), results indicated that callus that received sucrose at 50 mg/L in the dark gave the best growth rate with highest weight of 51.1 mg/g fresh weight. The experiment also studied the individual factors, e.g. 2,4-D, sucrose and pH level, in relation to the growth and production of curcuminoids from turmeric callus. In terms of growth, results showed that callus that received.2,4-D at 1.0 mg/L, sucrose at 30 mg/L and a pH level of 5.8, had the highest growth as indicated by its highest dry weight of 41.9, 6.83 and 6.67 mg/g fresh weight, respectively. On the production of curcuminoids, results indicated that callus that did not receive any 2,4-D (0 mg/L) but received sucrose at 30 mg/L and cultured under pH 5.8, were able to give highest amount of major curcuminoid, curcumin, at 0.47, 0.47 and 0.67% dry weight, respectively. Comparison of the ability for bacterial growth inhibition of crude extracts from turmeric callus with naturally grown rhizomes and leaves from in vitro grown plants, results showed that all types of crude extracts were not able to inhibit bacterial growth of gram-negative Pseudomonas aeruginosa and Escherichia coli 0157:H7. However, they were shown to inhibit the growth of gram-positive bacteria except the crude leaf extracts. Callus crude extracts were able to inhibit particularly Bacillus subtilis TISTR 008 and Staphylococcus aureus TISTR 029. While crude extract from naturally grown rhizome was also able to inhibit the growth of Bacillus subtilis TISTR 008, Staphylococcus aureus TISTR 029 and TISTR 885
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-45-007.1
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/paweena2004/paweena_full.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิต cucuminoids จากการเพาะเลี้ยงแคลลัสขมิ้นชัน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2547
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เปรียบเทียบการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  6 สายพันธุ์ ในช่วงอายุปีที่ 3 – 4  ปี การปรับปรุงพันธุ์แตงโมไม่มีเมล็ดโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนยอด อิทธิพลของพันธุ์และเส้นกลางใบต่อการสร้างแคลลัสในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใบกาแฟอราบีก้า (Coffea arabica L.) ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่ผลิตจากแบคทีเรีย Methylobacterium radiotolerans Ed5-9 ร่วมกับสารที่มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ก่อโรคพืชที่ผลิตจากแอคติโนมัยสิท Streptomyces TMR 032 ต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อผ เปรียบเทียบความแปรปรวนของต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ได้จากการเพาะเมล็ดและจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในระยะอนุบาลแรกและระยะอนุบาลหลัก การวิเคราะห์ความคงตัวทางพันธุกรรมของกล้วยไข่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยไบโอรีแอคเตอร์แบบจมชั่วคราวโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล SRAP การวิเคราะห์ความคงตัวทางพันธุกรรมของกล้วยไข่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยไบโอรีแอคเตอร์แบบจมชั่วคราวโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล SRAP การศึกษาชีววิทยาบางประการ และความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงกุ้งฝอย (Macrobrachium lanchesteri De Man) ไปได้ในการเพาะเลี้ยงกุ้งฝอย การเหนี่ยวนำและการเพาะเลี้ยงรากลอยจากถั่วลิสงงอก เพื่อผลิตสาร resveratrol เปรียบเทียบผลการใช้สารสกัดจากขมิ้นชันและฟ้าทะลายโจรต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต สุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางจุลกายวิภาคของลำไส้ไก่กระทง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก