สืบค้นงานวิจัย
ผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในระบบการลดใช้สารเคมีกับปาล์มน้ำมันในดินชุดที่ 14
เพ็ญศรี ท่องวิถี, นิภาพร ชูกิจ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในระบบการลดใช้สารเคมีกับปาล์มน้ำมันในดินชุดที่ 14
ชื่อเรื่อง (EN): A study of Using Fertilizer Biological for Oil Palm in Soil Group 14
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในระบบการลดใช้สารเคมีกับปาล์มน้ำมัน ในกลุ่มชุดดินที่ 14 ดำเนินการที่ บ้านท่าบันได หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เริ่มต้นเดือนกันยายน 2549 ถึง เดือน กันยายน 2551 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design มี 4 ตำรับการทดลอง 4 ซ้ำ ตำรับที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ตำรับที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา ? ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร +ใส่ปุ๋ยหมัก+น้ำหมักชีวภาพ+พด.3 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา ? ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร +ใส่ปุ๋ยหมัก+น้ำหมักชีวภาพ ตำรับที่ 4 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา ? ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร +ปุ๋ยหมัก+ พด.3 แต่ละตำรับใช้ปาล์มน้ำมัน 16 ต้น รวมการทดลองใช้ 64 ต้น ผลการทดลองการเก็บข้อมูลความสูงของปาล์มน้ำมัน หลังการทดลอง 6 เดือน พบว่ามีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ โดยตำรับที่ 4 มีค่าเฉลี่ยความสูงปาล์มน้ำมันสูงสุด รองลงมาคือตำรับที่ 2 ตำรับที่ 3 และตำรับที่ 1 โดยมีค่าเฉลี่ยขนาดความสูงเท่ากับ 5.07 เซนติเมตร 4.66 เซนติเมตร 4.56 เซนติเมตร และ 4.52 เซนติเมตร ตามลำดับ หลังการทดลอง 12 เดือน และ 18 เดือน พบว่าตำรับที่ 4 มีค่าเฉลี่ยความสูงปาล์มน้ำมันสูงสุด รองลงมาคือตำรับที่ 3 ตำรับที่ 2 และตำรับที่ 1 ทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ เก็บข้อมูลรัศมีทรงพุ่มของปาล์มน้ำมัน หลังการทดลอง 6 เดือน พบว่ามีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ โดยตำรับที่ 4 มีค่าเฉลี่ยรัศมีทรงพุ่มของปาล์มมันสูงสุด รองลงมาคือตำรับที่ 3 ตำรับที่ 1 และตำรับที่ 2 โดยมีค่าเฉลี่ยรัศมีทรงพุ่มเท่ากับ 7.7 เซนติเมตร 7.29 เซนติเมตร 6.89 เซนติเมตร และ 6.50 เซนติเมตร เก็บข้อมูลรัศมีทรงพุ่มของปาล์มน้ำมันหลังการทดลอง 12 เดือน และ 18 เดือน พบว่ามีความแตกต่างทางสถิติ โดยตำรับที่ 4 มีค่าเฉลี่ยรัศมีทรงพุ่มของปาล์มมันสูงสุด รองลงมาคือตำรับที่ 3 ตำรับที่ 1 และตำรับที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดิน พบว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงครึ่งอัตราร่วมกับปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ และพด.3 ตำรับที่ (2, 3 และ 4 ) จะทำให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดินดังเช่น ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และปฏิกิริยาดินมีอัตราเพิ่มขึ้นสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว (ตำรับที่ 1) ปริมาณธาตุอาหารในใบปาล์มน้ำมันก่อนการทดลองพบว่า ทุกตำรับการทดลองขาดธาตุไนโตรเจน ขาดธาตุฟอสฟอรัส ขาดธาตุโพแทสเซียม ทุกตำรับการทดลองมีปริมาณธาตุแคลเซียมที่เหมาะสมคือ 0.50-0.70 เปอร์เซ็นต์ และทุกตำรับการทดลองมีปริมาณแมกนีเซียมที่เหมาสม คือ 0.30-0.45 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณธาตุอาหารในใบปาล์มน้ำมันหลังการทดลองพบว่า ทุกตำรับการทดลองขาดธาตุไนโตรเจน ขาดธาตุฟอสฟอรัส ขาดธาตุโพแทสเซียม ปริมาณธาตุแคลเซียมตำรับที่ 1 ,2 และ 4 มีปริมาณมากเกินความต้องการ ตำรับที่ 3 เหมาะสมคือ 0.50-0.70 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณแมกนีเซียมที่เหมาะสม คือ 0.30-0.45 เปอร์เซ็นต์ พบในตำรับ 1,2 และ 3 และตำรับที่ 4 มีปริมาณมากเกินความต้องการ การเก็บข้อมูลปาล์มน้ำมันในปี 2550-2551 จำนวน 4 ครั้ง ทดลอง พบว่าทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่พบว่าการใช้ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งอัตราร่วมกับปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ และ พด.3 ตำรับที่ (2,3 และ 4) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น พบว่าตำรับที่ 1 ในปี 2551 มีผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 746.29 กิโลกรัมต่อต้น รองลงมาตำรับที่ 3 เท่ากับ 717.75 29 กิโลกรัมต่อต้น และตำรับที่ 4 เท่ากับ 667.25 กิโลกรัมต่อต้น และตำรับที่ 2 เท่ากับ 604.25 กิโลกรัมต่อต้น
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-04-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในระบบการลดใช้สารเคมีกับปาล์มน้ำมันในดินชุดที่ 14
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2551
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ทดสอบการปรับปรุงดินเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ในกลุ่มชุดดินที่ 14 ชุดดินระแงะ การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ โครงการสาธิตทดสอบการปรับปรุงดินเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ในกลุ่มชุดดินที่ ชุดดินแกลง ทดสอบการจัดการดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว โดยการไถกลบตอซังร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำและลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี ในกลุ่มชุดดินที่ 3 ชุดดินบางกอก (Bk) ในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำปากพนัง โครงการเฉลิมพระเกียรติตามรอ ผลของการล้มตอซังข้าวร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำเพื่อปลูกถั่วเหลืองหลังนาข้าวในกลุ่มชุดดินที่ 15 ผลของปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ร่วมกับปุ๋ยเคมีและพืชคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมัน ที่ปลูกในพื้นที่นาร้าง กลุ่มชุดดินที่ 14 ชุดดินระแงะ อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (พด.2) ต่อผลผลิตของรากและสารโรทีโนนของหางไหลแดง (กลุ่มชุดดินที่ 48) การพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดกลุ่มชุดดินที่ 2 เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพปาล์มน้ำมัน จังหวัดชลบุรี การจัดการดินกลุ่มชุดดินที่ 29 ในการปลูกสับปะรดระบบเกษตรแบบลดการใช้สารเคมี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก