สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวที่สูงเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร
สมเกียรติ วัฒกวิกรานต์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวที่สูงเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Highland Rice Production for Food Security
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมเกียรติ วัฒกวิกรานต์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สมเกียรติ วัฒกวิกรานต์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การปรับพื้นที่ปลูกสภาพดินไร่เป็นนาขั้นบันไดในพื้นที่ลาดชัน เป็นหนึ่งในระบบการปลูกข้าวที่ใช้เป็น ทางเลือกเพื่อสร้างความยั่งยืนบนพื้นที่ภูเขาสูงของภาคเหนือตอนบน เพราะนอกจากช่วยลดความเสี่ยงด้าน การให้ผลผลิตข้าวจากการแปรปรวนของภูมิอากาศแล้ว ยังคงให้ผลผลิตสูงขึ้นร้อยละ 74 115 และ149 จาก การผลิตในฤดูนาปี 2551 2552 และ2553 ตามลําดับ ขณะที่การปลูกข้าวไร่ระบบเดิมมีแนวโน้มให้ผลผลิต ลดลงทุกปี หากมีการปรับปรุงบํารุงดินในนาขั้นบันไดโดยการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ทําให้ผลผลิต เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการไม่ใส่ปุ๋ย ผลงานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าการปลูกปอเทืองก่อนทํานาขั้นบันได ช่วยให้ ผลผลิตข้าวสูงขึ้นไม่ต่ํากว่าร้อยละ 90 ปอเทืองจึงเป็นพืชทางเลือกที่เหมาะสมสําหรับใช้เป็นปุ๋ยพืชสดสําหรับ การทํานาบนพื้นที่สูง เพราะนอกจากปอเทือง เป็นพืชอายุสั้นและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่สูงแล้ว เกษตรกรยัง สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองได้ ในปี พ.ศ. 2551-2553 ผลจาการใช้ปอเทืองเพียงอย่างเดียวมีแนวโน้มให้ ผลผลิตข้าวสูงขึ้นเทียบเท่ากับการใช้ปุ๋ยเคมีตามคําแนะนํา นอกจากนั้นการใช้พันธุ์ข้าวของทางราชการที่มี ศักยภาพในการให้ผลผลิตดีบนพื้นที่สูง สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวให้เพิ่มขึ้นได้อีกไม่ต่ํากว่าร้อยละ 50 การใช้ เวลาปลูกถั่วลอดร่วมระบบในการปลูกข้าวไร่ นอกจากสามารถควบคุมปริมาณวัชพืชได้ดีแล้วยังมีแนวโน้มให้ ผลผลิตเฉลี่ยของข้าวสูงขึ้น เช่นเดียวกับการปลูกถั่วแปยีก่อนการปลูกข้าวไร่
บทคัดย่อ (EN): Shifting cultivation from upland rice farming to rice terrace farming in sloping area is one of choosen rice planting system for sustainable rice cultivation on the mountainous area of the upper northern of Thailand. It’s not only reduce the risk of yielding by 74, 115 and 149 percent in wet season of the years 2008, 2009 and 2010 respectively whereas the upland rice yield by conventional planting showed the tendency of yield decreasing. Improving soil properties by chemical fertilizer application according to soil analytical data was unable yield increasing compares to no fertilizer application. Planting Sunn hemp (Crotalaria juncea L.) green manure before planting rice in terrace farming increased rice yield not less than 90%. Sunn henp was one of the suitable plants for rice cultivation in the high land. It’s not only be a short maturity plant, but also showed good productivity in such condition that farmers could produce seed by their owns. In the years 2008-2010, applying Sunn Hemp as green manure alone gave the tendency of yield increasing in comparable to recommended chemical fertilizer application. Planting the potential recommended rice varieties on highland could increase rice yield not less than 50%. Planting Cowpea (Vigna unguiculata) in upland rice farming system was not only control weed population, but also gave that tendency of yield increasing as well as planting Lablab bean (Lablab purpureus) before upland rice cultivation.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวที่สูงเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร
กรมการข้าว
30 กันยายน 2553
กรมการข้าว
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง การศึกษาการผลิตอาหารสุนัข อิทธิพลของธาตุอาหารพืชไนโตรเจนที่ตรึงในดินต่อผลผลิตข้าว การใช้ค่าวิเคราะห์ดิน ผลผลิตที่คาดหวัง และธาตุอาหารหลักในผลผลิตเพื่อกำหนดอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับข้าว ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผลของระยะปักดำต่อผลผลิตและการเป็นโรคจู๋ของข้าว โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวลูกผสม บทบรรณาธิการ : การผลิตข้าวในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก