สืบค้นงานวิจัย
การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการทำการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา 4 ภูมินิเวศ
วชิราพร เกิดสุข - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการทำการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา 4 ภูมินิเวศ
ชื่อเรื่อง (EN): A Study on an Appropriate Farming Model in Different Ecology Following the Sufficiency Economy Philosophy : Case Study in 4 Bioregions.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วชิราพร เกิดสุข
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wachiraporn, Kerdsuk
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการทำการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามภูมินิเวศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศึกษาในพื้นที่ตัวแทน 4 ภูมินิเวศ กล่าวคือ 1) ภูมิ นิเวศโคก ที่ตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 2) ภูมินิเวศทุ่ง ที่ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาพสินธุ์ 3) ภูมินิเวศทาม ที่ตำบลโคกสำราญ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น และ 4) ภูมินิเวศภู ที่ตำบลกุดไห ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก และตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมในการทำการเกษตรตมแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในทุกภูมินิเวศมีรูปแบบที่เหมือนกันคือ การเกษตรแบบผสมผสานที่เน้นเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วยข้าว พืชฤดูแล้งพืชผัก ไม้ผลไม้ยืนตัน เลี้ยงสัตว์ และเลี้ยงปลา โดยมีการขุดสระน้ำและ/หรือขุดบ่อบาดาลประจำไร่นาเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ ในพื้นที่ภูมินิเวศภู มีพื้นที่ทำนาไม่มากนัก เกษตรกรใช้แนวคิด "ยกป่ามาไว้ที่บ้าน" พื้นที่ภูมินิเวศทุ่งเกษตรกรปรับที่นาให้มีคันคูนาใหญ่เพื่อปลูกพืชหลากหลายชนิดแบบปลูกอยู่ปลูกกินบนคันนา ภูมินิเวศทาม เป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมถึงในฤดูฝน เกษตรกรปรับเปลี่ยนลากการทำนาปีไปทำนาปรัง ชุดสระและยกพื้นที่ให้สูงขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขังแล้วปลูกพืชอื่นๆ แทนข้าว และใช้วิธีทางชีวภาพในการแก้ปัญหาดินเค็ม และภูมินิเวศโต มี การดำเนินการเช่นภูมินิเวศอื่นทุกครัวเรือนเกษตรกรที่ศึกษาเป็นเจ้าของที่ดินที่ทำการเกษตรเอง ภูมินิเวโคกมีจำนวนพื้นที่ในครอบครองต่อครัวเรื่อน เฉลี่ย 27.08 ไร่ ภูมินิเวศทุ่งมีจำนวนพื้นที่ในครอบครองต่อครัวเรือน เฉลี่ย 17.48 ไร่ ภูมินิเวศทามมีจำนวนพื้นที่ในครอบครองต่อครัวเรือน เฉลี่ย 16.67ไร่ และภูมินิเวศภูมีจำนวนพื้นที่ในครอบครองต่อครัวเรือน เฉลี่ย 21.89 ไร่ เกษตรกรที่ทำการเกษตรตามแนวทงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในทุกภูมินิเวศ จะมีผลผลิตทางการเกษตร ที่หลากหลายสำรับบริโภคในครัวเรือนและเหลือนำไปแจกจ่ายเพื่อนๆ และขายได้ตลอดทั้งปี ทำให้พึ่งพิงรายต้นอกภาคเกษตรไม่มากนัก โดยที่กษตรกรที่ทุ่มเททำการเกษตรแบบจริงจังสามารถที่จะสร้างรายได้จากการทำ การเกษตรที่มากกว่ารายจ่ายในครัวเรือนจนทำให้ไม่ต้องพึ่งพิงรายได้นอกภาคเกษตรเลย อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในทุกพื้นที่ที่ศึกษาก็ยังมีรายได้เสริมจากนอกภาคการเกษตรที่สำคัญคือได้จากการที่สมาชิกในครอบครัวไปทำงานที่อื่นแล้วส่งเงินมาให้ รายได้จากการรับจ้างทั่วไป รายได้จากการทำงานในหน่วยงานรัฐ และรายได้จากการทอผ้า ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของครัวเรือน ประมาณ 210,000 - 277,000 บาทต่อปีต่อครัวเรือนมี
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this study is to identify appropriate farming model related to the sufficiency economy philosophy in different agroecosystem in the Northeast of Thailand.The cases study were studied in 4 agroecosystem: 1) Upland agroecosystem at tambonNongwangsokpra, amphorPhon, KhonKaen 2) Wetland agroecosystem at tambonKoksamran, amphorBanhad, KhonKaen 3) Mountain Plains agroecosystem at tambonGudhai and tambonNamomgamphorGudbak and tambolSangcor, amphorPhuphan, Sakonnakorn 4) Flat Plainsagroecosystem at tambonSainawang, amphorNakhu, Kalasin The study found that appropriate farming model in each agroecosystem in the northeast is integrated farming which focus on organic farming that include rice , field crops , vegetables,fruits tree , animal raising and aquaculture. Each farming model has a pond for water storage or/and use groundwater for farming activities. In the Mountain plains agroecosystem, there is a little paddy field. Farmer use concept Erect Forest into household or Farm land that is all plants/fruit tree from the forest which can eat to grow in the farmland.In Flat plain agroecosystem, farmers are dig a pond and expand the bund to bigger than the past for grow crop. In wetland agroecosystem is often flood during rainy season. Farmer is change to growth second rice in summer, digging a pond and adjusts paddy field too high for planting other crops in rainy season. Some area areproned to saline soil, farmer use biological method to solve it. Inthe upland agroecosystem, the farmers do integrated farming as the other area. The farmers that studied are ownership of farm lands. The mountain plains agroecosystem, farmers’landholdings average is 21.89 rais per household. The flat plainsagroecosystem, farmers’land holdings average is 17.48 rais per household. The wetland agroecosystem, farmers’land holdings average is 16.67 rais per household. And the upland agroecosystem, farmers land holdings average is 27.08 rais per household. Farmers in each agroecosystem, those have different farm produces that they have enough for household consumption and some surplus for neighbours and for the market in all year round. Therefore these typical farmers can earn their income from farming and gain more income than household expenditure and no need to rely on non-agricultural sector. However, there are f our importance source of supplementary income included remittance from off farms of household members, contractors, government’s officials and weaving respectively. Household expenses is210,000 – 277,000 baht per year per household. Household debts is1,000 – 500,000 baht per household. Household savings is 4,000-300,000 baht per household. In case, of appropriate farming model is not clearly identified because integrated agriculture depends on bio-physical of agroecosystem. Farmers can learning from another experienceand modify on difference potential of the area context. Farmers are learning by themselves,t he important factor to success of the sufficiency economy philosophy is the leadership who has dedicated, sacrifice and moral in development.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 237,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการทำการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา 4 ภูมินิเวศ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2557
การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรในชุมชนจังหวัดนครปฐม การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มวัยรุ่น โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Test) 87 ทางเลือกทางการเกษตร เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการทำเกษตรกรรมตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน กระบวนการจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่  และการบูรณาการสร้างและพัฒนาระบบตลาดเกษตรอินทรีย์ ตัวแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี การสังเคราะห์และการถอดบทเรียนองค์ความรู้ของศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดมหาสารคาม : ศึกษากรณี ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก