สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาชุดตรวจสารฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์โดยเทคนิค ELISA
ดร.สุรัตน์ หงษ์สิบสอง - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดตรวจสารฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์โดยเทคนิค ELISA
ชื่อเรื่อง (EN): Development of ELISA test kit for detecting synthetic pyrethroid insecticides
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดร.สุรัตน์ หงษ์สิบสอง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: ชุดตรวจไพรีทรอยด์
คำสำคัญ (EN): Pyrethroid ELISA
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาชุดตรวจสารฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์โดยเทคนิค ELISA” แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ดร.สุรัตน์ หงส์สิบสอง เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจสารฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ด้วยเทคนิค ELISA ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความไวเพื่อใช้ในการตรวจเบื้องต้นก่อนนำผลผลิตสู่ตลาด จากการศึกษาวิจัย พบว่า การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อใช้สำหรับการผลิตชุดทดสอบสำหรับตรวจหาการตกค้างของสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ในรูปแบบที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ และแบบใช้ในพื้นที่ที่ดูด้วยตาเปล่า ประกอบด้วย การสังเคราะห์แฮปเทน คือสารที่มีโครงสร้างหลักเหมือนกับสารฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เมื่อได้สารดังกล่าวจึงนำมาต่อกับโปรตีนขนาดใหญ่เพื่อให้กระตุ้นสัตว์ทดลองให้เกิดการสร้างแอนติบอดี เนื่องจากสารเคมีดังกล่าวมีขนาดเล็กมาก ไม่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างแอนติบอดีได้ และนำสัตว์ทดลองที่สามารถสร้างแอนติบอดีจำเพาะต่อสารที่ต้องการมาผลิตเป็นโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อใช้ในการพัฒนาเป็นชุดทดสอบต่อไป ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยได้ชุดทดสอบสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์โดยใช้เทคนิค ELISA 2 แบบ คือ แบบเพลทสำหรับใช้ทดสอบในห้องปฏิบัติการ และแบบหลอดสำหรับใช้ภาคสนามโดยสามารถวิเคราะห์สาร cyhalothrin cyfluthrin cypermethrin deltamethrin esfenvalerate permethrin และ 3-phynoxybenzoic acid ซึ่งเป็นสารเมตาบอไลต์หลักของสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ได้ ค่า LOD ของสารแต่ละตัว เท่ากับ 0.026, 0.166, 0.018, 0.466, 0.092, 0.574 และ 0.066 µg/ml ตามลำดับ และค่า LOQ ของสารแต่ละตัว เท่ากับ 0.046, 0.465, 0.159, 0.629, 0.220, 1.640 และ 0.043 ตามลำดับ ชุดทดสอบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถตรวจได้ครอบคลุม CODEX-MRL และ Thailand-MRL ทั้งนี้ ชุดทดสอบดังกล่าวต้องได้รับการพัฒนาให้สามารถลดเวลาการตรวจวิเคราะห์ และหาวิธีการสกัดสารในตัวอย่างผลผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสมต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-09-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-08-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาชุดตรวจสารฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์โดยเทคนิค ELISA
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
31 สิงหาคม 2557
การพัฒนาชุดตรวจสารฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์โดยเทคนิค ELISA (ต่อยอดจากปี2556) การตรวจสอบสารพิษแอฟลาทอกซิน โดยวิธี ELISA (Enzyme - Linked Immunosorbent Assay) การพัฒนาวิธีการจำแนกเชื้อเลปโตสไปรา ด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยา การใช้เทคนิค PCR ตรวจสอบลักษณะพันธุกรรม Malignant Hyperthermia ในสุกรพันธุ์เปียแตรง การตรวจหา Suilysin และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของ เชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ที่แยกได้จากสุกรป่วย สุกรปกติที่เป็นพาหะของโรคและคนที่เกี่ยวข้องโดยใช้เทคนิค PCR การพัฒนาการใช้ไหมอีรี่เป็นอาหารกุ้งก้ามกราม การพัฒนาชุดตรวจ dual strip test สำหรับไวรัสโรคตัวแดงดวงขาว (WSSV) และไวรัสโรคหัวเหลือง (YHV) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออโกลนีมา (Aglaonema) โดยใช้เทคนิค Temporary Immersion การศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมของเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ที่แยกได้จากสุกรและคนโดยใช้เทคนิค pulsed-field gel electrophoresis การเสริมแคลเซียมโซปในสูตรอาหารข้นสำเร็จรูปต่อการขุนโคหย่านมเพศผู้และการพัฒนาเทคนิค NIRs เพื่อการประเมินคุณภาพเนื้อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก