สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่
ทักษิณา ศันสยะวิชัย - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่
ชื่อเรื่อง (EN): Test and Development on Sugarcane Production Technology for Specific areas
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทักษิณา ศันสยะวิชัย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยใช้เทคโนโลยีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและการใช้สารปรับปรุงดิน เปรียบเทียบกับกรรมวิธีเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ และอุดรธานีใช้สารปรับปรุงดินโดโลไมท์ 200 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ชัยภูมิปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด(ปอเทือง)และปูนขาว และเลยปรับปรุงดินด้วยกากตะกอนหม้อกรอง ร่วมกับใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิตและผลตอบแทนต่อการลงทุนดีกว่าวิธีเกษตรกร การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่มุกดาหาร ขอนแก่นและสกลนคร กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตอ้อยปลูกและอ้อยตอสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร และการทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการควบคุมโรคใบขาวอ้อย ที่อุดรธานี กาฬสินธุ์ มุกดาหาร และขอนแก่น การใช้พันธุ์อ้อยสะอาดจากแปลงพันธุ์ การปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์ และใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ลดการเป็นโรคใบขาวและได้ผลผลิตมากกว่าวิธีของเกษตกร แต่ในแหล่งที่โรคระบาดรุนแรงพบการเป็นโรคมากในอ้อยตอ ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ช่วงปี 2554-2556 ทดสอบการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 พบว่าการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรืแปรับใช้ปุ๋ยผสมสูตรใกล้เคียงร่วมปุ๋ยคอกทำให้ได้ผลผลิตและผลตอบแทนสูงกว่าวิธีการเดิมของเกษตรกรที่จังหวัด ร้อยเอ็ด และนครราชสีมา และการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลดีกว่าวิธีเกษตรกรที่ มหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ ละนครราชสีมา และพันธุ์ใหม่ของกรมวิชาการเกษตร อู่ทอง 9 และอู่ทอง10 ให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์เดิมของเกษตรกร(เค95-84) ที่ สีคิ้ว นครราชสีมา ช่วงปี 2557-2558 การใช้เทคโนโลยีการผลิตของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ พันธุ์ของแก่น 3 จากแปลงพันธุ์สะอาด ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและดูแลรักษาตามคำแนะนำให้ผลผลิตและผลตอลแทนดีคว่าวิธีเกษตรกรที่ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษและอำนาจเจริญ ภาคเหนือตอนล่าง นำเทคโนโลยีการผลิตอ้อยของกรมวิชาการเกษตรได้แก่ อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และขอนแก่น 80 ร่วมกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มาเปรียบเทียบกับการใช้พันธุ์ที่นิยมของเกษตรกรได้แก่ LK92-11 และ K99-72 กับการใส่ปุ๋ยของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 6 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และอุตรดิตถ์ จังหวัดละ 2 แปลง ระหว่างปี 2554 ถึง2557 พบว่า การปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 หรือขอนแก่น 80 ร่วมกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในเขตภาคเหนือตอนล่าง สามารถยกระดับผลผลิตอ้อย ความหวาน ผลผลิตน้ำตาล และผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์สูงกว่าการผลิตอ้อยของเกษตรกรร้อยละ 24 7 33 และ 19 ตามลำดับ เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีใหม่โดยเฉพาะเรื่องพันธุ์ แต่ในเรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเกษตรกรบางส่วนยังไม่เข้าใจและเป็นเทคโนโลยีที่มีข้อจำกัดในการตรวจวิเคราะห์ต้องมีการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยให้แก่เกษตรกรหรือนำไปปรับใช้ได้ ภาคกลางและตะวันตก การทดสอบการจัดการโรคใบขาวอ้อยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี และอุทัยธานี สรุปได้ว่าในพื้นที่ที่โรคใบขาวไม่ระบาดรุนแรง การใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาด มีการกำจัดเชื้อโดยการแช่น้ำร้อนที่ 52 องศา 30 นาที ป้องกันโรคใบขาวได้ ส่วนในพื้นที่ที่มีโรคใบขาวหนาแน่นกว่า การใช้ท่อนพันธุ์ที่ปลอดโรคน่าจะมีความจำเป็น และการเลือกแหล่งที่มาของพันธุ์อ้อยก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะอาจมีเชื้อติดมากับท่อนพันธุ์ได้ ในอ้อยตอพันธุ์ขอนแก่น 3 ในพื้นที่ทดสอบให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 8 ทดสอบอ้อยพันธุ์ใหม่ อู่ทอง9 อู่ทอง84-10 อูทอง84-11 อู่ทอง 12 และ ขอนแก่น 3 ใน 7 สถานที่ มี 4 แปลงที่พันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3 ปีสูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 ทดสอบวิธีการสางใบเพื่อลดการเผาอ้อยก่อนตัด การสางใบทำให้อ้อยมีความยาวลำมากกว่าอ้อยที่ไม่มีการสางใบเพราะใบอ้อยที่สางออกช่วยคลุมดินทำให้ดินมีความชื้น พันธุ์ขอนแก่น 3 ใช้เวลาสางใบน้อยกว่าพันธุ์ LK92-11 ผลผลิตสูงใช้เวลาสางใบมากขึ้น ดำเนินการเปรียบเทียบกรรมวิธีการผลิตอ้อยตามวิธีของเกษตรกร และเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่การจัดการดิน การจัดการพันธุ์อ้อย การปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการวัชพืช การจัดการโรคและแมลง การเก็บเกี่ยวและการดูแลอ้อยตอ ที่สุพรรณบุรีกรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรจากเกษตรกร 3 รายใน 5 รายที่ร่วมทดสอบ ที่อุทัยธานีวิธีทดสอบและวิธีเกษตรกร ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยใกล้เคียงกัน ทำให้มีต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนใกล้เคียงกัน มีอัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน 1.4 และ 1.3 ตามลำดับ ร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่ร่วมงานมีความพึงพอใจในเทคโนโลยี ภาคตะวันออก พันธุ์ใหม่ของกรมวิชาการเกษตร ขอนแก่น3 ให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์ของเกษตรกร(LK92-11/K88-92) จากเกษตรกร 3 ใน 5 รายที่ร่วมทดสอบ ที่จังหวัดสระก้ว เกษตรกรมีความสนใจในพันธุ์ขอนแก่น 3 เนื่องจากให้ผลผลิตสูง และ พันธ์ขอนแก่น3 อู่ทอง9 อู่ทอง 10 อู่ทอง 84-11 ดีกว่าพันธุ์ของเกษตรกร 4 ใน5 รายที่จังหวัดชลบุรี การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยเพื่อทำน้ำตาลอ้อยในท้องถิ่น ในภาคเหนือตอนบน ปี 2554-2556 อ้อยสุพรรณบุรี 50 ให้ผลผลิตที่สูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองที่เกษตรกรปลูกอยู่เดิมถึงร้อยละ 7 และสามารถไว้ตอได้จนถึงตอ 2 เป็นพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพเหมาะสมกับพื้นที่ ปี2557-2558 การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยเพื่อทำน้ำตาลอ้อยในระบบการปลูกพืชจังหวัดพะเยา เชียงใหม่ แพร่ และแม่ฮ่องสอน ปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ผลผลิตอ้อยที่ได้เฉลี่ยจากแปลงเกษตรกร ทั้งสี่จังหวัด รวม 20 ราย จากแปลงปลูกแบบแถวเดี่ยวมีผลผลิตมากกว่าการปลูกแบบแถวคู่ (12,690 กก./ไร่ เทียบกับ 11,909 กก./ไร่) เนื่องจากมีน้ำหนักลำมากกว่า แม้ว่าจะมีจำนวนต้นต่อไร่ น้อยกว่า และจัดการแปลงได้สะดวกกว่าการปลูกแถวคู่ ผลผลิตอ้อยแปรรูปเป็นน้ำอ้อยก้อนได้ 1,211 – 1,236 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้เฉลี่ย 37,723-40,490 บาทต่อไร่ การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตอ้อยของเกษตรกร ได้ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีการผลิตอ้อยของเกษตรกรปี 2553 และ 2554 โดยสุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในภาคกลางได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี อุทัยธานี รวม 218 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา มุกดาหาร 170 ราย น 4 จังหวัดภาคกลาง มีการใช้เทคโนโลยีตามคำแนะนำของกรมฯ ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านการใช้พันธุ์และการจัดการท่อนพันธุ์เกษตรกรมีการใช้ระดับต่ำ ด้านการเตรียมแปลง การปลูก การใส่ปุ๋ยมีการใช้ระดับปานกลาง ด้านการให้น้ำมีการใช้ระดับปานกลางในจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ยกเว้นอุทัยธานีที่มีการใช้น้ำอยู่ในระดับต่ำ ด้านการอารักขาพืช มีการใช้อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้เพราะส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ไม่มีการระบาดโรค/แมลง/หนู หรือมีปริมาณน้อย ด้านการเก็บเกี่ยวประกอบด้วยอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม การเผาใบก่อนตัด การตัดชิดดิน การส่งโรงงานหลังจากตัดเสร็จในแปลง มีการใช้ระดับสูงในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ยกเว้นสุพรรณบุรี และอุทัยธานีที่จัดอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับ 3 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพรวมทุกด้านมีระดับการใช้ปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านการจัดการท่อนพันธุ์มีการใช้ระดับต่ำ ยกเว้นที่จังหวัดมุกดาหารมีการใช้ระดับปานกลาง ทางด้านการเตรียมแปลง การเก็บเกี่ยว มีการใช้ระดับปานกลาง ด้านการปลูกมีการใช้ระดับสูง ยกเว้นที่จังหวัดมุกดาหาร ด้านการใส่ปุ๋ย มีการใช้ระดับต่ำ ด้านการอารักขาพืช มีการใช้อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้เพราะสภาพพื้นที่ไม่มีการระบาดโรค/แมลง/หนู หรือมีปริมาณน้อย ในปี 2555 ได้ทำการสำรวจข้อมูลจากเกษตกรในพื้นที่รอบโรงงานน้ำตาลมหาวัง และโรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง แบ่งกลุ่มของเกษตกรออกตามระยะห่างจากโรงงานในแนวรัศมีเป็น 3 กลุ่มโดยให้มีระยะห่างจากโรงงานไม่เกิน 50 กิโลเมตร ผลการสำรวจพบว่าต้นทุนต่อตันอ้อยอยู่ในช่วงประมาณ 871-934 บาทต่อตันอ้อย ในณะที่ราคาอ้อยขั้นต้นกำหมดราคารับซื้ออ้อยราคาตันละ 950 บาทที่ 10 ซีซีเอส เกษตกรที่อยู่ในพื้นที่ใกล้โรงงานจะมีต้นทุนต่ำที่สุด และต้นทุนส่วนใหญ่จะมาจากค่าขนส่ง รองลงมาคือค่าปุ๋ยซึ่งเป็นต้นทุนที่สามารถลดลงได้หากมีการใช้อย่างเหมาะสม การทดสอบเพื่อปรับใช้ชุดเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การทดสอบระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการผลิตอ้อยตอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทำการ เก็บผลผลิตและความชื้นดินในวันที่เก็บเกี่ยวอ้อย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการตัดสินใจในการไว้ตออ้อย จำนวน 30 แปลง เปรียบเทียบกับผลที่ได้จากแบบจำลองที่ใช้ พบว่า ทั้งผลผลิตและความชื้นดินระดับต่างๆ ที่ได้จากการเก็บตัวอย่างและจากการจำลองไม่มีความสัมพันธ์กัน ชี้ให้เห็นว่าระบบสนับสนุนการตัดสินใจนี้ยังไม่สามารถนำไปใช้ในระดับแปลงทดลองได้ การเปรียบเทียบชุดเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคใบขาวอ้อย โดยใช้ท่อนพันธุ์สะอาดร่วมกับการจัดการสมดุลธาตุอาหาร โดยใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิตและผลตอบแทนดีกว่าวิธีการเดิมของเกษตรกร และเป็นโรคใบขาวลดลง ที่ นครราชสีมา ขอนแก่น ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ถ้าไม่มีแปลงพันธุ์ การเลือกต้นพันธุ์ที่ไม่มีอาการโรคและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และขจัดต้นที่เป็นโรคทิ้ง ก็สามารถเพิ่มผลผลิตลัลดอาการโรคได้ และการใช้จอบหมุนทั้งสองแบบในการสับกลบใบอ้อยคือแบบสำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก 24 แรงม้า หรือที่เรียกว่าแบบวิ่งในร่องกับแบบสำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดกลาง 45 แรงม้า หรือที่เรียกว่าแบบวิ่งคร่อมร่อง นั้นให้ผลในเชิงประสิทธิภาพการสับกลบที่ไม่มีความแตกต่างกันแต่ในแง่การสิ้นเปลืองน้ำมันและราคาเครื่องจักรมีความแตกต่างกันคือเครื่องเล็กจะสิ้นเปลืองน้ำมันและมีราคาถูกกว่า
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย เปรียบเทียบการใช้ชนิดและปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกอ้อยเพื่อเกษตรกรรายย่อยใน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อผลผลิตและพลังงาน โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องขนย้ายอ้อยขึ้นรถบรรทุก การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง โครงการวิจัยเครื่องรวบรวมใบอ้อยแบบอัตโนมัติ โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องฝังปุ๋ยในไร่อ้อย โครงการพัฒนาเครื่องบำรุงอ้อยตอแบบอัตโนมัติ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก