สืบค้นงานวิจัย
ความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในประเทศไทย: กรณีศึกษาผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
อาจารย์ ดร.ปนันดา จันทร์สุกรี - สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในประเทศไทย: กรณีศึกษาผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อาจารย์ ดร.ปนันดา จันทร์สุกรี
คำสำคัญ: บริการสาธารณสุข
บทคัดย่อ: การเข้าถึงบริการสาธารณสุขเป็นประเด็นที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศก้าลังพัฒนา ให้ ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเข้าถึงบริการพื นฐานดังกล่าวมีอิทธิพลต่อชีวิตของประชาชนในหลาย ด้าน ไม่ว่าจะเป็นสภาวะสุขภาพทั งทางร่างกายและจิตใจ สถานภาพทางสังคม รวมถึงคุณภาพชีวิต ซึ่งสภาวะ สุขภาพและความสุขของประชากรเป็นปัจจัยส้าคัญที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าทางสังคมและผลิตภาพส่วนบุคคล ดังนั นการให้บริการสาธารณสุขจึงเป็นเงื่อนไขพื นฐานที่จะท้าให้เกิดศักยภาพส่วนบุคคลและโอกาสที่เท่าเทียม กันส้าหรับประชาชนทุกคน ถึงแม้ว่าโครงการสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคจะท้าให้ ประชาชนไทยส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงแล้วในปัจจุบัน แต่ในความเป็นจริงนั น ปัญหาความเหลื่อมล ้าด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพก็ยังคงเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความส้าคัญ และเร่งด้าเนินการแก้ไขอยู่ เนื่องจากความเหลื่อมล ้าด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อ ความเหลื่อมล ้าด้านรายได้การสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพจึงท้าให้ คนมีศักยภาพเต็มที่ในการท้ามาหาเลี ยงชีพ ซึ่งจะมีส่วนช่วยบรรเทาปมปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากความรู้สึก เหลื่อมล ้าของคนในสังคมได้ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล ้าด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในประเทศไทยได้อย่าง ชัดเจนยิ่งขึ น คณะผู้วิจัยจึงมุ่งที่จะศึกษาระดับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชนไทยที่ได้รับสิทธิ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิ 30 บาท หรือสิทธิบัตรทอง) ในภูมิภาคต่างๆ โดยแบ่งตามพื นที่ความ รับผิดชอบของส้านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ้านวน 13 เขต และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึง บริการสาธารณสุข โดยคณะผู้วิจัยได้พัฒนาแบบสอบถามจากแนวคิดการประเมินการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ของ Penchansky และ Thomas (1981) และแนวคิดปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของ Aday และ Andersen (1974) เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้แก่ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าในประเทศไทย อายุ 15-59 ปีจ้านวน 5,400 คน ผลการส้ารวจปัจจัยน้าที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุข พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง มีอายุ 30-39 ปี สมรสแล้วหรืออยู่ด้วยกันโดยไม่ได้สมรส นับถือศาสนาพุทธ ส้าเร็จการศึกษาระดับ ประถมศึกษา และเป็นผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ในปัจจุบันรวมทั งสิ น 4 คน และเกือบ 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างมีสมาชิกในครอบครัวที่มีภาวะพึ่งพิงสูง (ไม่ สามารถช่วยเหลือตนเองได้) โดยเป็นเด็กเล็กและผู้สูงอายุมากที่สุด ผลการส้ารวจความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคในระดับต่้า รับรู้ความรุนแรงของโรคในระดับปานกลาง รับรู้ ประโยชน์ของการรักษาโรคในระดับสูง และรับรู้อุปสรรคของการรักษาโรคในระดับปานกลาง ค ผลการส้ารวจปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุข พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว 10,001 - 20,000 บาท มีรายได้พอใช้จ่ายแต่ไม่มีเหลือเก็บ และไม่มีสิทธิ การรักษาพยาบาลอื่นๆ (นอกจากสิทธิบัตรทอง) ระยะทางจากที่อยู่อาศัยของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ถึงสถาน บริการสาธารณสุข คือ 6-10 กิโลเมตร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริม สุขภาพและการป้องกันโรคผ่านสื่อวิทยุ/หอกระจายข่าว/เสียงตามสายในหมู่บ้าน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อ อินเตอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ และได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคผ่าน สื่อโทรทัศน์นานๆ ครั ง (1-2 ครั ง/สัปดาห์) ส้าหรับสื่อบุคคลนั น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับข้อมูล ข่าวสารและค้าแนะน้าเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคจากบุคคลในครอบครัวหรือญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน และผู้น้าชุมชน และได้รับข้อมูลข่าวสารและค้าแนะน้าเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกัน โรคจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขนานๆ ครั ง (1-2 ครั ง/สัปดาห์) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ในระดับสูง ประเด็นที่กลุ่ม ตัวอย่างมีการรับรู้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ “สิทธิหลักประกันสุขภาพคุ้มครองคนไทยทุกคนที่มีเลขประจ้าตัว ประชาชน 13 หลักที่ไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการข้าราชการ หรือสิทธิประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ หรือสิทธิอื่นๆ จากรัฐ” “เมื่อใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพเข้ารับบริการ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพต้องแสดง บัตรประจ้าตัวประชาชนหรือบัตรประจ้าตัวที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ทุกครั ง” และ “กรณีอุบัติเหตุหรือ เจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพเข้ารับบริการจากหน่วยบริการ ของรัฐที่ขึ นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพได้ทุกแห่ง” ตามล้าดับ ส่วนประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ น้อยที่สุด 3 อันดับสุดท้าย คือ “ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพสามารถเปลี่ยนหน่วยบริการประจ้าได้ปีละไม่เกิน 4 ครั ง” “ในกรณีทั่วไปผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพเข้ารับบริการจากหน่วย บริการของรัฐที่เลือกลงทะเบียนเป็นหน่วยบริการประจ้าเท่านั น” และ “สิทธิหลักประกันสุขภาพคุ้มครอง บริการรักษาพยาบาลโรคเรื อรังและโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็ง โรคไตวายเรื อรัง โรคเอดส์ เป็นต้น” ผลการส้ารวจปัจจัยความต้องการที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุข พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื อรัง และไม่มีปัญหาในการท้ากิจกรรมต่างๆ (สามารถท้าเองได้) โดยกิจกรรมที่ กลุ่มตัวอย่างสามารถท้าเองได้คิดเป็นสัดส่วนมากที่สุด คือ การดูแลตัวเอง กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างท้าได้โดย ล้าบากเป็นสัดส่วนมากที่สุด คือ การขึ น-ลงบันได การเจ็บป่วยครั งล่าสุดของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีความ รุนแรง และส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วยครั งล่าสุด ผลการส้ารวจการเข้าถึงบริการสาธารณสุข พบว่า ด้านที่กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นโดยเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การยอมรับคุณภาพของบริการ รองลงมา คือ ความเพียงพอของบริการที่มีอยู่ การเข้าถึงแหล่งบริการได้ อย่างสะดวก ความสะดวกและสิ่งอ้านวยความสะดวกของแหล่งบริการ และความสามารถในการที่จะเสีย ค่าใช้จ่ายส้าหรับบริการ ตามล้าดับ ส้าหรับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขเมื่อจ้าแนกตามพื นที่ความรับผิดชอบ ของส้านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 13 เขตนั น พบว่า การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขในภาพรวมอยู่ ง ในระดับสูงเกือบทุกเขต ยกเว้นเขต 9 นครราชสีมา เขต 13 กรุงเทพมหานคร และเขต 4 สระบุรี ที่ประชาชน มีการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชนที่ได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ มีลักษณะทางสังคมประชากรแตกต่างกัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ขนาดของครอบครัว และความเพียงพอของรายได้ต่างกัน มีการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในระดับที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยน้า ปัจจัยสนับสนุน และปัจจัยความต้องการที่มีต่อการเข้าถึง บริการสาธารณสุข พบว่า การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพมีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการ สาธารณสุขมากที่สุด รองลงมา คือ การรับรู้อุปสรรคของการรักษาโรค การรับรู้ประโยชน์ของการรักษาโรค ความยากล้าบากจากสถานะสุขภาพ การรับรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื อรัง และรายได้ของครอบครัว ตามล้าดับ ซึ่งปัจจัยทั งหมดดังกล่าวสามารถท้านายการเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ ร้อยละ 18.4
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://drive.google.com/file/d/1OBXrzuqxO71hU4CuGWdfjEY4gGiZ1_VX/view
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในประเทศไทย: กรณีศึกษาผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
2560
เอกสารแนบ 1
กินเจอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ KM ในประเทศไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต นํ้ามันมะกอกกับสุขภาพ เคล็ดลับสุขภาพสำหรับคุณผู้หญิง มหัศจรรย์สาหร่าย...วว.วิจัย บริการ ครบวงจร การศึกษา Subtype ของเชื้อไวรัสAvian Influenza A จากสัตว์ปีกในประเทศไทย สารสนเทศน่ารู้ทางการเงิน สหกรณ์บริการ ประจำปื 2560 การทวนสอบเทคโนโลยีการผลิตน้ำตาลลำไยและคุณสมบัติเชิงคุณภาพ สุขภาพ และศักยภาพเชิงพาณิชย์ รายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน สหกรณ์บริการ ประจำปี 2559 อนุกรมวิธานของฟิล์มมี่เฟิร์นสกุล Hymenophyllum s.l. (Hymenophyllaceae) ในประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก