สืบค้นงานวิจัย
การใช้ใบไม้ทนเค็ม Acacia ampliceps เพิ่มอินทรียวัตถุในดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มชุดดินที่ 20 )เพื่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105
สุกัญญา หันน้ำเที่ยง, รังสรรค์ อิ่มเอิบ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การใช้ใบไม้ทนเค็ม Acacia ampliceps เพิ่มอินทรียวัตถุในดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มชุดดินที่ 20 )เพื่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105
ชื่อเรื่อง (EN): Use for Acacia ampliceps Leaf to add Organnic Matter in Salinization Areas North-East (Soil Group No20) for the Rice Production of KDML 105.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การใช้ใบไม้ทนเค็ม Acacia ampliceps เพิ่มอินทรียวัตถุในดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มชุดดินที่ 20) เพื่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ดำเนินการทดลองที่ แปลงเกษตรกร ต.หนองสรวง อ.ขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา ในกลุ่มชุดดินที่ 20 ชุดดินกุลาร้องไห้ วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 4 ซ้า 5 ต้ารับ ประกอบด้วย 1) แปลงควบคุม 2) ใส่ใบ A. ampliceps อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมี 3) ใส่ใบ A. ampliceps อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมี 4) ใส่ใบ A. ampliceps อัตรา 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมี และ 5) ใส่ใบ A. ampliceps อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมี ผลการทดลองพบว่า การใส่ใบกระถินออสเตรเลียอัตราต่างกันไม่มีผลท้าให้ความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และค่าความเค็มของดินมีความแตกต่างกัน แต่มีผลท้าให้ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์มีความแตกต่างกันทางสถิติ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าการใส่ใบ A. ampliceps อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีท้าให้อินทรียวัตถุในดินเพิ่มสูงขึ นเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่ใบ A. ampliceps การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 พบว่า ความสูงในทุกต้ารับไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มีค่าความสูงอยู่ระหว่าง 87.48-93.50 เซนติเมตร และมีแนวโน้มว่าต้ารับที่ใส่ใบกระถินออสเตรเลียในอัตราต่างๆ ร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ค่าความสูงมากกว่าต้ารับที่กระถินออสเตรเลีย โดยต้ารับที่ใส่ใบกระถินออสเตรเลียอัตรา 1,000 และ 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมี (ต้ารับที่ 3 และ 4) มีค่าความสูงมากที่สุด คือ 93.50 และ 93.30 เซนติเมตร ตามล้าดับ และ ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในทุกต้ารับไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีผลผลิตต่อไร่ 197.6-296.8 กิโลกรัม ตำรับที่ใส่ใบกระถินออสเตรเลียอัตรา 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมี (ต้ารับที่ 4) ให้ผลผลิตสูงที่สุด 296.8 กิโลกรัมต่อไร่รองลงมา คือ ตำรับที่ใส่ใบกระถินออสเตรเลียอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมี (ต้ารับที่ 5) ให้ผลผลิต 270.6 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนตำรับที่ไม่ใส่ใบกระถินออสเตรเลีย (ต้ารับที่ 1) ให้ผลผลิตต่้าที่สุด 197.6 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างไรก็ตาม ใบกระถินออสเตรเลีย (Acacia ampliceps) เป็นวัสดุปรับปรุงดินอีกทางเลือกหนึ่งส้าหรับเกษตรกรในพื้นที่ดินเค็ม ซึ่งสามารถใช้ทดแทนวัสดุอื่นหรือพืชปุ๋ยสดที่ไม่สามารถเติบโตได้ในดินเค็ม อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to investigate the effective of Acacia ampliceps appropriate rate on chemical properties of soil, growth and yield of rice variety KDML 105. The experiment was conducted at famers field Nong Suang sub-district, Kham Thale So district, Nakhonratchasima province. Soils were classified as Kula Ronghai series, soil group no. 20. The experimental design was randomized complete block with 4 replications. The treatments consisted of 1) control (non A. ampliceps application) 2) A. ampliceps at rate 500 kg/rai with chemical fertilizer 3) A. ampliceps at rate 1,000 kg/rai with chemical fertilizer 4) A. ampliceps at rate 1,500 kg/rai with chemical fertilizer and 5) A. ampliceps at rate 2,000 kg/rai with chemical fertilizer. The results showed that soil reaction, organic matter, available phosphorus and electrical conductivity there was not significant differences but there were significant in available potassium. However, The application of A. ampliceps at various rate there was increasing tendency of soil organic matter. The growth and yield of rice variety KDML 105 there was no significant effect from application of A. ampliceps but there was increasing tendency of rice yield while using rate high of A. ampliceps combine with chemical fertilizer. Application of A. ampliceps at rate 1,500 and 2,500 kg/rai with chemical fertilizer gave the highest yield of 296.8 and 270.6 kg/rai respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291613
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ใบไม้ทนเค็ม Acacia ampliceps เพิ่มอินทรียวัตถุในดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มชุดดินที่ 20 )เพื่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2556
เอกสารแนบ 1
การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาอิทธิพลของดินเค็มต่อการผลิตสารสร้างความหอมในข้าวหอมมะลิ และคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร เทคโนโลยีการใช้ถ่านเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวขาวมะลิ 105 ภายใต้สภาพดินเค็ม การใช้ข้อมูล RADARSAT-1 SAR (standard mode) เพื่อทำแผนที่แสดงพื้นที่ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อิทธิพลของระดับความลึกการไถพรวนและชนิดของอินทรียวัตถุต่อการปลูกหญ้าดิกซี่บนดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : II. การเพิ่มจำนวนไนตริฟายอิงแบคทีเรียในดินเค็ม ผลของการใช้จุลินทรีย์ชอบเค็มต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม การจัดการดินด้วยวัสดุแกลบร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มน้อยถึงปานกลาง ผลของการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ แกลบ และพืชปุ๋ยสดบางชนิดร่วมกับยิปซั่มต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวในพื้นที่ดินเค็ม ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และผลิตภัณฑ์ของกรมพัฒนาที่ดิน ต่อการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกในกลุ่มชุดดินที่ 17

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก