สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยคัดเลือกจุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และป้องกันโรคพืชในดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช
เสียงแจ๋ว พิริยพฤนต์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยคัดเลือกจุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และป้องกันโรคพืชในดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช
ชื่อเรื่อง (EN): Research on Microorganisms for Soil Fertilities and Plant Disease Prevention to Increase Crop Yield.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เสียงแจ๋ว พิริยพฤนต์
คำสำคัญ: จุลินทรีย์
คำสำคัญ (EN): Soil Fertilities
บทคัดย่อ:           สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การวิจัยคัดเลือกจุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และป้องกันโรคพืชในดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช” แก่กรมพัฒนาที่ดิน โดย นางสาวเสียงแจ๋ว พิริยพฤนต์ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) คัดเลือกจุลินทรีย์ดินที่มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มความเป็นประโยชน์ธาตุอาหารในดิน และการควบคุมการแพร่ระบาดโรคพืชเศรษฐกิจบางชนิด 2) ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ทางการเกษตรเชิงพาณิชย์สำหรับเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินและป้องกันโรคพืชในดิน เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตพืชเศรษฐกิจ           จากการศึกษาประสิทธิภาพจุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และป้องกันโรคพืชในดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวปทุมธานี1 และข้าวขาวดอกมะลิ105 พบว่า การใส่ปุ๋ยชีวภาพส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวทั้ง 2 พันธุ์ เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับควบคุม โดยมีผลทำให้จำนวนต้นข้าวเฉลี่ยต่อกอของข้าวขาวดอกมะลิ105 เพิ่มขึ้นจาก 8.9 เป็น 10.2 ต้น ความสูงของต้นข้าวปทุมธานี1 และข้าวขาวดอกมะลิ105 เพิ่มขึ้นจาก 102.2 และ 105.4 เซนติเมตร เป็น 105.0 และ 108.5 เซนติเมตร พื้นที่ใบข้าวปทุมธานี1 และข้าวขาวดอกมะลิ105 เพิ่มขึ้นจาก 45.64 และ 29.72 ตารางเซนติเมตร เป็น 55.20 และ 38.01 ตารางเซนติเมตร ความรุนแรงของโรคเมล็ดด่างในข้าวพันธุ์ปทุมธานี1 ลดลงจาก 6.81 เป็น 4.88 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ความยาวของรวงข้าวปทุมธานี1 เพิ่มขึ้นจาก 26.7 เป็น 28.1 เซนติเมตร ผลผลิตข้าวปทุมธานี1 และข้าวขาวดอกมะลิ105 เพิ่มขึ้นจาก 4.55 และ 3.80 กิโลกรัม เป็น 4.92 และ 4.32 กิโลกรัม ดังนั้นการใส่ปุ๋ยชีวภาพมีผลต่อการเพิ่มจำนวนต้นข้าวเฉลี่ยต่อกอในข้าวขาวดอกมะลิ105 เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับควบคุม แต่ไม่แตกต่างกันกับตำรับใส่ปุ๋ยเคมี ช่วยเพิ่มพื้นที่ใบข้าวและความสูงของข้าวปทุมธานี1 และข้าวขาวดอกมะลิ105 มากกว่าตำรับควบคุม มีแนวโน้มลดความรุนแรงของโรคเมล็ดด่างในข้าวปทุมธานี1 และทำให้ความยาวรวงข้าวพันธุ์ปทุมธานี1 เพิ่มขึ้น และให้ผลผลิตข้าวทั้ง 2 พันธุ์ ได้มากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ยังให้ความหอมของข้าวค่อนข้างดีกว่าตำรับใส่ปุ๋ยเคมี                  ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้ คือ ได้เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ละชนิด รวมทั้งเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์สำหรับเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และป้องกันโรคพืช เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพพืชเศรษฐกิจและป้องกันศัตรูพืช 
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547-11-24
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550-11-24
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2547
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP ลิขสิทธิ์
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ปุ๋ยชีวภาพ ARDA 4 หรือ สารเร่ง พด.4(พิเศษ)
เลขที่คำขอ 203791
วันที่ยื่นคำขอ 2009-03-04 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน 2009-03-10 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน ว.11152
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยคัดเลือกจุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และป้องกันโรคพืชในดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช
กรมพัฒนาที่ดิน
24 พฤศจิกายน 2550
การใช้ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์ผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลผลิตยางพารา จังหวัดมุกดาหาร โครงการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อวิจัยพัฒนาพืชและจุลินทรีย์ในสภาวะโลกร้อน การเพิ่มศักยภาพและสรรพคุณของพืชผักสมุนไพรในตำรับยาล้านนา: การศึกษาฤทธิ์การยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการให้ผลผลิต วิจัยชีวโมเลกุล (Molecule biology) ในการสร้างเอกลักษณ์ พันธุกรรมพืช จุลินทรีย์ การปรับปรุงพันธุ์ และการตรวจสอบพืชและจุลินทรีย์ (การทำลายพิมพ์ ดีเอ็นเอ ยางพารา) การศึกษาการจัดการดินตามศักย์ผลิตภาพ เศษเหลือหลังการเก็บเกี่ยว และแนวทางการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินเพื่อรักษาคุณภาพดินและเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในจังหวัดสระแก้ว การประเมินฤทธิ์สารต้านจุลินทรีย์ก่อโรคพืชของราเอนโดไฟต์ที่แยกจากกาฝากและพืชอาศัยของกาฝาก โครงการวิจัย และพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์จุลินทรีย์ และเห็ด การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาทาภายนอกสำหรับควบคุมจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในคนและสัตว์จากพืชท้องถิ่นบนพื้นที่สูง การพัฒนาผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตเพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว การศึกษาความเป็นประโยชน์ทางเภสัชวิทยาของพืชท้องถิ่นบนพื้นที่สูงที่มีศักยภาพควบคุมจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในคน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก